การสร้างการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องอาศัยพลังการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน “สื่อ” จึงเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสารความเคลื่อนไหว ตลอดจนความก้าวหน้าในงานพัฒนาความยั่งยืนที่ภาคสังคมและเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่สาธารณชนวงกว้าง จึงขออนุญาตแบ่งปันลิงค์ข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ จำนวนหนึ่ง เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานโดยองค์กรภาคีเครือข่ายร้อยพลังสร้างสังคมดี พอให้เห็นเป็นตัวอย่างการมีส่วนร่วมสื่อสารเพื่อส่วนรวมของเพื่อนสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ผ่านมา ด้วยความขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
กรุงเทพฯ – Tellscore จับมือ มูลนิธิเพื่อ“คนไทย” และ “ร้อยพลังสร้างสังคมดี” จัดกิจกรรม Help You, Help Me หนึ่งในโครงการ Influencer for Change นับเป็นปีที่ 4 สนับสนุนสื่ออินฟลูเอนเซอร์ 300 คน สำหรับโครงการเพื่อสังคม 6 โครงการที่ได้รับรางวัล
เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ระบุผลโพลพบนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน มีผลสูงสุดต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชน เรียกร้องพรรค-นักการเมืองประกาศนโยบายที่ทำได้จริงท่ามกลางบรรยากาศการหาเสียง
ที่มา : https://www.thaipbs.or.th/news/content/326546
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดข้อมูลรายงานคดีทุจริตของนักการเมือง ตั้งแต่ปี 2555-ปัจจุบัน 10 ปี 61 คดี 68 คน โกงเลือกตั้งมากสุด 25 คดี จำนำข้าว-คดีบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านมูลค่าความเสียหายมากสุด
ที่มา : https://www.prachachat.net/politics/news-1265308
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เผยแพร่รายงาน 10 ปีคดีโกงของนักการเมืองไทยผ่านเว็บไซต์และเฟซบุ๊กองค์กร ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากการนำเสนอข่าวโดยสื่อมวลชนเฉพาะคดีที่มีการชี้มูลความผิดโดยป.ป.ช.
ที่มา : https://thestandard.co/act-report-corruption-cases/
เปิดข้อมูล 10 ปีนักการเมืองคอร์รัปชัน 61 คดี 10 ปีคดีโกงของนักการเมืองไทย (1)โกงเลือกตั้ง 25 คดี (2) ยื่นบัญชีทรัพย์ สินเท็จ 9 คดี (3) โกงจัดซื้อจัดจ้างและฮั้วประมูล 8 คดี (4) เอื้อประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้อง 8 คดี …
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=33g2U6SHIMY
10 ปี คดีโกงของนักการเมืองไทย เฉพาะ 8 คดีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและฮั้วประมูล มีมูลค่าความเสียหายรวมกัน ราว 5.2 หมื่นล้านบาท องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน รวบรวมข้อมูลจากสื่อมวลชน เฉพาะคดีที่มีการชี้มูลความผิดโดย ป.ป.ช.
ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/194513
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ รวมข้อมูลคดีคอร์รัปชันของนักการเมืองในรอบ 10 ปี พบ 61 คดี มีนักการเมืองกระทำผิด 68 คน มีลักษณะการกระทำความผิด 10 แบบทั้งจากพรรคใหญ่และเล็กทำกันเป็นเครือข่ายร่วมกับข้าราชการประจำ
ที่มา : http://bitly.ws/DgkP
ใช้ AI เข้าช่วยตรวจเรื่องทุจริต เตรียมเผยข้อมูลให้โปร่งใส – ตรวจสอบได้ เน้น สร้างรากฐานที่ดี ยัน ไม่ใช่เช็คบิลเรื่องส่วนบุคคล นายพิธานำคณะทำงานต่อต้านคอร์รัปชันพรรคก้าวไกลเข้าพบประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เมื่อ 8 มิ.ย.2566
ที่มา : https://www.thereporters.co/tw-politics/0806232001/
“พิธา” พร้อมคณะทำงานต่อต้านคอร์รัปชันของพรรค ร่วมหารือนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน กับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เมื่อ 8 มิ.ย.2566เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=ymvw3YIbKj4
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พร้อมคณะทำงานต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคเข้าพบปะพูดคุยหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ACT) เมื่อ 8 มิ.ย.2566 เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
ที่มา : https://www.one31.net/news/detail/63492
Tellscore จับมือ มูลนิธิเพื่อคนไทย และ “ร้อยพลังสร้างสังคมดี” จัดกิจกรรม Help You, Help Me หนึ่งในโครงการ Influencer for Change นับเป็นปีที่ 4 สนับสนุนสื่ออินฟลูเอนเซอร์ 300 คน สำหรับโครงการเพื่อสังคม 6 โครงการที่ได้รับรางวัล
ที่มา : https://www.thestorythailand.com/07/08/2023/107963/
นายกรัฐมนตรีปาฐกถาพิเศษใน “วันต่อต้านคอร์รัปชัน” จะเร่งแก้ปัญหาทุจริต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน ยืนยันว่า ภายใต้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยปัญหาคอร์รัปชันจะลดลง ขณะภาคประชาชนเสนอ 5 ข้อเรียกร้อง
ที่มา : https://ch3plus.com/news/political/3mitinews/365069
6 กันยายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งชาติซึ่งทางช่อง 7HD ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ มีผู้ไปร่วมแสดงพลังต่อต้านการทุจริต จำนวนมาก ในขณะที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ขึ้นเวทีกล่าวแสดงวิสัยทัศน์
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=NdwibF1TThI
6 กันยายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชัน ปีนี้นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ร่วมประกาศพันธะสัญญาต้านโกง ขณะที่อันดับความโปร่งใสของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ปีที่แล้วอยู่ที่ 110 สะท้อนว่าไทยยังมีคอร์รัปชันที่รุนแรง
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=2uTggl-rjUU
รายการ #เวทีความคิด #ThinkingRadio 6 ก.ย.2566 ดำเนินรายการโดย ศิริพร กิจประกอบ ช่วงที่สาม (นาทีที่ 1:00:00-1:26:00) ติดตามฟัง คุณสิน สื่อสวน ประธานคณะทำงานสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
ที่มา : https://www.youtube.com/live/Os8LLRPAlp4?
#นมโรงเรียน คือนโยบายที่ต้องการให้เด็กไทยได้ดื่มนมมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพแข็งแรง ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง แต่นโยบายที่ใช้งบประมาณปีละ 14,000 ล้านบาทนี้ กำลังถูกโกงกินโดยกลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=K_T3cJIIO1s
รายการ #CEOVISIONPLUS #ThinkingRadio 13 ก.ย. 2566 โดยวรพงศ์ แจ้งจิตต์ และศลิลนา ภู่เอี่ยม กรณีฮั้วประมูล ข้อสันนิษฐาน “ธุรกิจกำนันนก” ชวนคิดชวนคุยกับ คุณวิเชียร พงศธร ประธาน
ที่มา : https://www.youtube.com/live/IlSpYW0F2cA?si=nSUyHp6BnrsoQak4
The Active Podcast EP.153 | 29 ส.ค. 2566 ตอน “รัฐบาลพิเศษ นโยบายใดเอื้อโกง” โดย บุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล ชวนเท่าทันการเมือง กับ ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=Qw2ROP98z68
Deschooling Podcast | 2 ก.ย. 2566 ถึงเวลาทบทวนอาหารการกินของลูกเราว่าในแต่ละมื้อเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือมีประโยชน์มากเพียงใด กับคุณธมนวรรณ อั๋นประเสริฐ โครงการ FOOD FOR GOOD
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=YqYGM_i15mw
โค้งสุดท้าย! สั่งจองสินค้า Limited Education ร่วมลดเหลื่อมล้ำการศึกษาไทยระดมทุนช่วยเหลือเยาวชนโครงการร้อยพลังการศึกษาของที่ระลึกสร้างสรรค์โดยนักออกแบบไทยรุ่นใหม่สุดปัง ทั้งหมด 5 ผลิตภัณฑ์
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1089825
โค้งสุดท้ายภายใน 30 กันยายน ศกนี้ ! สำหรับผู้สนใจร่วมลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่าน แคมเปญ Limited Education ด้วยการสั่งจองของที่ระลึกสร้างสรรค์โดยนักออกแบบไทยรุ่นใหม่สุดปัง
ที่มา : https://สงขลาโฟกัส.com/news/7932/
รายการ Big Story เรื่องใหญ่ Thai PBS 23 ก.ย.2566 ตอน “คนพิการ” เริ่มงานได้เมื่อไร ? มีคนพิการวัยทำงานในประเทศไทยอยู่มากถึงเกือบ 1 ล้านคน ขณะที่มีคนพิการตกงานเกือบ 5 แสนคน
ที่มา : https://www.thaipbs.or.th/program/BigStoryThaiPBS/episodes/97453
Hack Thailand 2575 ปฏิบัติการ 48 ชม. พลิกโฉมประเทศไทยสู่ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง | 19 เม.ย. 66 และภารกิจ 12 ทีม จาก 12 ประเด็น นำเสนอไอเดียแก้โจทย์ใหญ่ปัญหาประเทศ
ที่มา : https://theactive.net/news/post-election-20230420-2/
รายการ Big Story เรื่องใหญ่ Thai PBS 8 เม.ย. 2566 ตอน ประชาชนคาดหวังอะไร นโยบายพรรคการเมืองเรื่องสาธารณสุข เพราะศักยภาพของโรงพยาบาลมีความลดหลั่น สิทธิรับบริการของประชาชนเหลื่อมล้ำ
ที่มา : https://www.thaipbs.or.th/program/BigStoryThaiPBS/episodes/9420
‘อิศรา’ จัดเสวนาสังคายนานโยบายปราบคอร์รัปชัน นักวิชาการชี้ค่า CPI ต่ำทำให้การลงทุนในไทยลดลง ด้านตัวแทนหน่วยงานต้านโกงชี้สื่อทำข่าวสืบสวนน้อยลง ย้ำประชาชนต้องให้ความร่วมมือ
ที่มา : https://www.isranews.org/article/isranews-news/116066-Isra.html
คุยกันวันใหม่ : เปิดพื้นที่มอบโอกาส ส่งต่อพลังดี ๆ ให้สังคม
Tellscore จับมือ Good Society Network และ มูลนิธิเพื่อ“คนไทย”จัดกิจกรรม Help You, Help Me สนับสนุนสื่ออินฟลูเอนเซอร์กว่า 100 คนโปรโมทโครงการเพื่อสังคม
Link รายการ Voice of The Nation 29/06/22 : BUSINESS: HOW TO DO WELL AND DO GOOD?https://fb.watch/dY1EK8-ZYJ Facebook iconแชร์Twitter iconทวีตLINE iconส่งไลน์
รายการ #ก้าวสู่15ปีสื่อสาธารณะ #คุณค่าที่ยึดโยงกับประชาชน (15 ม.ค. 65)
“โรคมะเร็ง” นับเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประชากรโลก ซึ่งในแต่ละปีมะเร็งได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกในอัตราที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ
รายการ FM 96.5 | รายการ บอกเล่า 965 | (4-02-65) ช่วง Healty Talk พบกับ คุณวิเชียร พงศธร
ตัวแทนโครงการร้อยพลังการศึกษา คุณพัดชา มหาทุมะรัตน์ ผู้อำนวยการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ มูลนิธิเพื่อคนไทย
พูดคุยถึงโครงการแจกสมุดบันทึกพิชิตมะเร็ง เริ่มต้นมาอย่างไร เป็นสมุดบันทึกสามารถช่วยเหลือใครได้บ้าง และช่วยอย่างไร
7 สีช่วยชาวบ้าน – จิตอาสานำอาหารส่วนเกินมีคุณภาพดี ยังกินได้ ไปส่งต่อให้กับชาวบ้านที่มีฐานะยากจน ในชุมชนสตรีเหล็กพัฒนา ดอนเมือง ติดตามใน ปิ่นอาสา
จากปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะปัญหาด้านการศึกษาที่ส่งผลให้เด็กนักเรียนจำนวนไม่น้อยขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
‘สหภาพยุโรป-มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก-ยูนิเซฟ’ เปิดตัวชุดเครื่องมือ ‘กรอบปฏิบัติการเชียงใหม่’ ยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กในแคมป์ก่อสร้าง เจาะกลุ่มธุรกิจอสังหาฯที่มีแรงงาน
รู้หรือไม่ มีเด็กประมาณ 60,000 คน ที่พักอาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้างในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากครอบครัวแรงงานข้ามชาติ อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต
อาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บาย ไอรีล จัดโครงการบันทึกพิชิตมะเร็ง ส่งต่อแนวทางในการรับมือกับโรคมะเร็งให้แก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแลใกล้ชิด เมื่อเร็วๆ นี้ โครงการอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์
“วิกฤติที่เกิดขึ้นทำให้สังคมแย่ลง ถ้าไม่ทำอะไรเลย ทุกคนจะใช้ชีวิตยากลำบาก ตอนนี้คิดว่าทุกคนเห็นความสำคัญในการบริจาคของตนเองเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาสังคมได้”
“ในสังคมจะมีเด็กๆที่ครอบครัว ไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ถ้าเด็กมีภาวะขาดสารอาหาร จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสมองของเด็กและจะเกิดปัญหาสังคมตามมา”
“ผมฝันจะเห็นกลุ่มธุรกิจที่ใส่ใจสังคม ตั้งใจช่วยเหลือสังคมให้ดีขึ้นและประชาชนที่เลือกซื้อของจากธุรกิจกลุ่มนี้จะมากกว่าธุรกิจที่ไม่ได้ทำอะไรเพื่อสังคม”
“ปันกันเป็นของทุกคนเพราะสินค้าที่วางในร้านคือของบริจาคจากคนในสังคมที่ต้องการแบ่งปันเพื่อนำไปจำหน่ายและกลายเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กขาดโอกาส”
“ปี 2564 ร้อยพลังการศึกษาจะขยายผลด้วยการทำงานร่วมกับชุมชนให้มากขึ้น เพราะชุมชนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาการศึกษา และในอนาคตเด็กๆ ของชุมชนก็จะกลายเป็นคนที่มีคุณภาพ สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนต่อไป”
ปัจจุบัน “โลกออนไลน์” ไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่การแสดงความคิดเห็นในเชิงบวกแต่ได้กลายเป็นสนามของการรังแกกันที่สร้างรอยแผลให้กับใครหลายคน หรือที่เรียกว่า “การกลั่นแกล้งออนไลน์” (Cyber Bullying) พฤติกรรมนี้เริ่มขยายวงกว้างสู่สาธารณะและเพิ่มอนุภาพการทำลายล้างจิตใจให้รุนแรงมากกว่าเดิม บางคนมองว่าปัญหานี้เป็นเรื่องเล็กน้อยแต่สำหรับอีกหลายๆ คนมองว่าเป็นภัยใกล้ตัวที่ต้องรีบแก้ไข
ในห้วงการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยทุกยุคสมัย การเสริมสร้าง “พลังพลเมือง” ถือเป็นเรื่องสำคัญ และการจะพิสูจน์พลังดังกล่าว สะท้อนได้จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สิ่งนี้นับว่าเป็น “โอกาสใหม่” ของสังคมไทย
โครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ และ งานสื่อสารสังคม มูลนิธิเพื่อคนไทย ร่วมกับ บริษัท เทลสกอร์ จำกัด จัดกิจกรรมเวิร์คช้อป “สร้างแคมเปญทางสังคมด้วยอินฟลูเอ็นเซอร์ โดยเทลสกอร์” ด้วยเหตุผลที่ว่าเครื่องมือสำคัญที่จะเชิญชวนคนจำนวนมากให้มามีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมก็คือ “การสื่อสาร” และแนวโน้มเครื่องมือสื่อสารในปัจจุบันที่มีนัยสำคัญต่อการโน้มน้าวใจคนในสังคมหนึ่งก็คือ “อินฟลูเอ็นเซอร์”
การสื่อสารในยุค Digital Transformation ให้โอกาสมนุษย์เดินดินมากมาย แต่ขณะเดียวกัน เต็มไปด้วยความเสี่ยง เพราะในทุกๆ ข้อมูลข่าวสาร สามารถกระจายได้ไวยิ่งกว่าไวรัส บนผลประโยชน์ในเกมธุรกิจ ตลอดจนการแย่งชิงความนิยมชมชอบในผู้คนกลุ่มต่างๆ แต่..ปัญหาคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งไหน “ข่าวจริง” หรือ “ข่าวปลอม” ?!
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนดกำหนดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. องค์กร สมาคม มูลนิธิ หน่วยงานด้านการสื่อสาร และภาคอุตสาหกรรมบันเทิง เพื่อสร้างสังคมไม่ทนต่อการทุจริต ในวันที่ 20 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ห้องนนทบุรี 1 ชั้น 3 อาคาร 4 สำนักงาน ป.ป.ช. ถนนนนทบุรี อำเภอนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
อีกก้าวของกลไกความร่วมมือการสื่อสารที่ชื่อ “G-Youth by Tellscore”ด้วยการเปิดประตูเสริมสร้าง “พลังคนรุ่นใหม่” ซึ่งก็คือ “พลังแห่งอนาคต”
ปลดปล่อยพลังด้านบวก เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก “นักสื่อสาร” ตัวจริงหลากหลายวงการ
วิกฤติโควิด-19 ทั่วโลกต่างยกย่องความร่วมไม้ร่วมมือของ “คนไทย” อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดดัชนีโควิด-19 ระดับโลก (Global COVID-19 Index) ซึ่งจัดทำโดยองค์กรระดับต้น ๆ ของมาเลเซียและองค์การอนามัยโลก ณ กรกฏาคม 2563 ระบุว่า ไทยขึ้นอันดับ 1 จาก 184 ประเทศที่ดีที่สุดในการฟื้นตัวจากโควิด-19
การจะชวนคนจำนวนมากมาช่วยกันทำเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆ ได้อย่างพร้อมเพรียง เกิดพลังการเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องอาศัย “การสื่อสาร” เป็นเครื่องมือ
การระบาดของโควิด-19 สิ่งหนึ่งที่มักพบเห็นเสมอคือ “ธารน้ำใจ” ของคนไทยหลากหลายภาคส่วนที่ไม่ทอดทิ้งกัน เช่นเดียวกับ “บริษัท เทลสกอร์ จำกัด” นำทัพ “อินฟลูเอนเซอร์” ที่มีจิตอาสากว่า 2,200 คน สร้างสรรค์เนื้อหา Covid-19 รวมกว่า 5,500 ชิ้น มีผู้ติดตามมากกว่า 30 ล้านคนในระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2563
แม้จะเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติว่า แพทย์ไทยมีประสิทธิภาพสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก อ้างอิงจากสื่อญี่ปุ่นที่รายงาน ณ ปลาย เม.ย. ที่ผ่านมาว่า สามารถเยียวยารักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จนหายดีคิดเป็นร้อยละ 87 จากจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมด 2,954 ราย โดย 2,490 รายมีอาการดีขึ้นมากอย่างน่าพอใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วดังที่ทราบกันว่า โควิดจะยังคงอยู่กับสังคมโลกไปอีก 8-12 เดือนเป็นอย่างน้อยนับจากนี้ ดังนั้น ความต้องการเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เน้นการป้องกันสำหรับโรงพยาบาลในต่างจังหวัด ยังมีความจำเป็นเร่งด่วน เพราะยังมีความต้องการ
การพัฒนาดัชนีชี้วัด “ความเป็นธรรมในสังคม”
เป็นเครื่องมือสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
พร้อมไปกับการให้สังคมตระหนักร่วมกัน
เพื่อผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมไทย
ปัญหาสังคมมีขนาดใหญ่ ลำพังอาศัยกำลังของภาครัฐอาจไม่เพียงพอ และอาจไม่เกิดผลลัพธ์อย่างยั่งยืน ด้วยหลายๆ เงื่อนไข “ภาคประชาสังคม” จึงจำเป็นต้องลุกขึ้นมามีส่วนร่วมแก้ไข และยังต้องอาศัยพลัง “สื่อมวลชน” เพราะสามารถเข้าถึง “ประชาชน” เพื่อให้เกิด “Active Citizen” หรือ “พลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม” สื่อจะยังคงทำหน้าที่เป็น “กระจก” สะท้อนสังคม นั้นใช่หรือ ? ลองคิดดูว่าถ้าสื่อมวลชนสามารถเชิญชวนผู้ติดตาม (Audience) มาเป็นผู้ลงมือทำ (Actors) การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ? นี่คือความท้าทาย
สังคมธุรกิจไทยมีการนำแนวคิด “Sharing Economy” มาใช้เป็นโมเดลธุรกิจ 4.0 ที่น่าสนใจคือ บนหลักการและแนวคิดที่ใกล้เคียงกัน
งานพัฒนาความยั่งยืนโดยภาคสังคมก็มี “Sharing Platform” มากหน้าหลายตาเกิดขึ้น ทำหน้าที่เชื่อมโยง “ผู้ให้” กับ “ผู้รับ” เชื่อมต่อความตั้งใจดีของคนในสังคมร่วมแบ่งปัน
ทุกคนในสังคมสามารถเป็น “กระบอกเสียง” นำเรื่องดีๆ ส่งต่อไปในช่องทางโซเชียลมีเดียของตนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมไปด้วยกันได้
ปิดม่านไปแล้วกับงานสัมมนาระดับภูมิภาค “IAVE” ครั้งที่16 กับประสบการณ์ “งานอาสาสมัคร” จากทั่วเอเชียแปซิฟิก สู่การ “ปลดล็อค” พลังอาสาสมัครในประเทศไทย ที่รอการเติบโตด้วยการมีส่วนร่วมของคนในสังคม
อย่างที่ทราบกันดีว่าปัญหาสังคมไม่ว่าจะการศึกษา คนพิการ สิ่งแวดล้อม คอร์รัปชัน สุขภาพ โดยเฉพาะคุณภาพชีวิตระยะท้าย ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนในสังคมต้องให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมแก้ไข เราทุกคนจึงต้องร่วมกันแก้ปัญหา ดังเจตนารมณ์ของ “Good Society Expo 2019 : รวมหนึ่งแรงเป็นล้านพลัง” ด้วยความร่วมมือขององค์กรภาคสังคมตัวจริงกว่า 130 องค์กร
การก่อเกิดกลไกความร่วมมือที่ชื่อ “G-Youth : Good Power” เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา 7 มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาคธุรกิจ และภาคสังคมอีก 3 องค์กร ร่วมกันพัฒนา “พื้นที่กลาง” ที่พร้อมจะสร้างเสริมและสนับสนุน “เยาวชนนักสื่อสารแห่งอนาคต” มาช่วยกันลงมือแก้ปัญหาสังคมในวันนี้
พร้อมแล้ววันนี้สู่ปีที่ 6 งาน “Good Society Expo 2019 : รวมหนึ่งแรง…เป็นล้านพลัง” กลไกหลอมรวมพลังพลเมืองเชิญชวนประชาชนทำความดี และมีส่วนร่วมในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามความถนัดกับช่องทางแก้ปัญหาสังคม ร่วมกับองค์กรเพื่อสังคมตัวจริงกว่า 100 องค์กร
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เชื่อพลังของ “การให้” นี่คือโอกาสสำคัญ เพราะจะเป็นครั้งแรกที่ “คุณ” จะได้เป็นเจ้าของร้าน “ปันกัน”
ด้วยเงินเพียง 500 บาท จะทวีคูณโอกาสถึง 500 ทุนให้แก่เด็กๆ พร้อมการมีส่วนร่วมสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันอย่างยั่งยืน
ธุรกิจจะก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย องค์กรนั้นจะต้องมีธรรมาภิบาลที่ดี ยึดมั่นในหลักการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสคำนึงถึงผลประโยชน์ต่อส่วนรวมเพราะการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในองค์กรเป็นโอกาสที่คนในองค์กรจะได้ร่วมทำให้ธุรกิจโปร่งใสและยั่งยืน
เราทุกคนต้องการ “โอกาส” โดยเฉพาะโอกาสทาง “การศึกษา” มีเด็กจำนวนนับแสนคนที่เลิกเรียนกลางคันในแต่ละปี สาเหตุหลักมาจากความ “ยากจน” สุดท้ายจึงเกิด “ความเหลื่อมล้ำ” “ร้อยพลังการศึกษา” จึงมุ่งสร้างโอกาสให้เด็กกลุ่มนี้
ปัญหาสังคมไทยนับวันจะทวีความรุนแรง ฝังลึกในโครงสร้างและบั่นทอนการเติบโตของประเทศ รวมทั้งคุณภาพคนไทยในระยะยาว ลำพังการแก้ปัญหาของ “ภาครัฐ” อาจไม่เพียงพอ“ภาคตลาดทุน” อาสารวม“พลังความร่วมมือ” ทุกภาคส่วน
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เรียกร้องรัฐบาลใหม่เน้นปราบโกง ลงมืออย่างจริงจังไม่เลือกปฏิบัติเพื่อเรียกศรัทธาประชาชน พร้อมขอทุกพรรคการเมืองและกลไกรัฐสภา ร่วมตรวจสอบการทำงานเพื่อความโปร่งใส ทั้งหมดมาจากเสียงประชาชน ย้ำเป็นบทบาทขององค์กรภาคประชาชนที่จะติดตาม ตรวจสอบรัฐบาล และพร้อมสนับสนุนในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
กิจกรรมหรรษาของชาวอาสาปันกันกลับมาอีกครั้ง!!! “ถนนปันกัน ครั้งที่ 8 ”
มาร่วมกันออกบูธจำหน่ายขนม อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า ของใช้ กิจกรรม workshop DIY ดนตรี ร้องเพลง ฯลฯ เพื่อช่วยกันระดมทุนการศึกษาให้กับน้องๆ ที่ขาดโอกาส ใน มูลนิธิยุวพัฒน์ ได้เรียนหนังสือต่อ ในวันเสาร์ที่ 3 และวันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562 เวลา 10.00-20.00 น. ชั้น 3 Education Zone ซีคอน สแควร์ ศรีนครินทร์ เปิดรับอาสาแล้ววันนี้ – ถึง 12 กรกฎาคม 2562
“งานพัฒนาระบบนิเวศทางสังคม” ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนความต่อเนื่อง เวลา และปัจจัยแวดล้อมเพื่อทำให้เติบโต อยู่รอด ยั่งยืน ท่ามกลางโลกที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างโดยสิ้นเชิง “Disruption”
ท่ามกลางวิกฤตค่าฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งปกคลุมจังหวัดเชียงใหม่ เราได้เห็น โครงการ “ละอ่อนหายใจม่วน” เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นพลังสังคม
ร่วมกันสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กๆได้หายใจอย่างปลอดโปร่ง และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และพื้นที่ปลอดภัยของชุมชน
จะดีแค่ไหน ถ้าการรับประทานอาหารเมนูโปรดไม่ได้ทำให้คุณอิ่มท้องเพียงคนเดียว ถ้านั่นคือเมนูจากร้านอาหารชั้นนำและยัง “ใจบุญ” ร่วมโครงการ “ฟู้ดฟอร์กู๊ด” (Food 4 Good) เพื่อแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งไปช่วยน้องๆ ในชนบทห่างไกลได้อิ่มท้องไปด้วย
“โครงการเกษตรสีเขียวผักปลอดภัย” ณ View Share Farm คือพื้นที่ที่คนพิการกลุ่มหนึ่งกำลังบ่มเพาะและเติมเต็มความฝัน และต้องการแสดงศักยภาพเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคม เกิดการจ้างงานตามมาตรา 35 ให้คนพิการมีงานทำมากยิ่งขึ้น
การเลือกตั้งอาจไม่ใช่หนทางเดียวที่จะแก้ปัญหาสังคม การสร้างเสริม “พลังพลเมือง” จึงเป็นอีกหนทางหนึ่ง ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการลงมือสร้าง “ประชาธิปไตย” และการเปลี่ยนแปลงของสังคมในด้านต่างๆ
ชีวิตที่ไม่ปกติเหมือนคนอื่นตั้งแต่เด็ก เพราะความพิการทางสายตา แต่ด้วยความมุ่งมั่น จึงเป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้ “หมอนวดตาบอด”
สามารถค้นหาเส้นทางของตัวเอง มีงานทำ แม้รายได้อาจจะไม่สูงนัก แต่ก็ได้ใช้ความรู้ความสามารถรักษาบรรเทาอาการเจ็บป่วยให้แก่ผู้อื่นได้
การได้รับเลือกให้เป็น Ashoka Fellow ปี 2018 เป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อน ให้ “เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น” ยังคงมุ่งมั่น ตั้งใจ ยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วย “นวัตกรรม”
สิ่งที่คนธรรมดา ทำได้โดยไม่ต้องรั้งรอ คือการอุทิศแรงกายและเสียสละเวลาในการทำประโยชน์เพื่อคนอื่นและสังคม ซึ่งก็คือการรวมตัวของกลุ่ม “จิตอาสา” ใน “เทศกาลส่งต่อพลังแห่งการให้” เรามากกว่าฉัน ส่งต่อความดีสู่สังคม
เมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา มูลนิธิเอ็นไลฟ ในฐานะองค์กรตัวกลางภาคีพาวิลเลียนสิ่งแวดล้อม งาน Good Society Expo 2018 “ทำดีหวังผล เริ่มต้นที่เรา” ร่วมกับภาคีเครือข่ายมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ สานต่อพันธกิจในการสร้าง “พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม” (Active Citizen) นำอาสาสมัครผู้เข้าร่วมงาน GSE 2018 พร้อมด้วยอาสาชาวพรีเมียร์ ปลูกต้นไม้กว่า 1,000 ต้น
ผู้นำกว่า 800 คนทั่วโลก จากภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาครัฐ ร่วมประชุมสุดยอดด้านผลลัพธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำปี 2561 (Sustainable Development Impact Summit 2018) ของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ที่มหานครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 -25 กันยายน 2561 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 2 โดยมีเป้าหมายเพื่อหาวิธีหรือแนวทางการทำงานให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ รวมทั้งวิธีการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา
เมื่อ “การศึกษา” เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ มีหลายกลุ่มพยายามที่จะพัฒนาการศึกษาไทย สำหรับ TEP เชื่อว่า “การศึกษาที่ดีควรเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกคนในสังคม”
ปัญหาความไม่เท่าเทียมในสังคมมีอยู่จริง เราทุกคนจึงต้องร่วมกันแก้ปัญหา ดังเจตนารมณ์ของ Good Society Expo 2018 “ทำดีหวังผล เริ่มต้นที่เรา” งานนี้..มีคนในสังคมเข้ามาร่วมกิจกรรมทำดีกว่า 15,000 ครั้ง ด้วยความร่วมมือขององค์กรภาคสังคมตัวจริงกว่า 150 องค์กร
จริงหรือ “คอร์รัปชัน” จะลดลงได้ใน “สังคมเปิด”ลองมาเรียนรู้ไปด้วยกันไปกับพวกเรา “GSE”กับกิจกรรมกระตุกต่อมคิดที่จะทำให้ “คอร์รัปชัน”
จากสิ่ง “มืดมน ลึกลับ ไกลตัว ”เป็นสิ่งที่ “ใกล้ตัว” และ กำจัดได้!
มีคนอีกจำนวนมากที่ช่วยกันโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ร่วมเรียนรู้ “งานอาสาสมัคร” การเป็นผู้ให้ ทำแล้วได้อะไร ?กับภารกิจ“เย็บเต้านมเทียม”“เติมเต็มชีวิต” ให้ “ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม”
การหยิบยื่นสิ่งดีให้แก่กัน ช่วยให้สังคมงดงามเสมอ เชื่อหรือไม่ว่าหลังการแบ่งปันของ “คุณ” ผ่าน “ปันกัน” ช่วยน้องเรียนได้กว่า 6,000 คน
ความเอื้อเฟื้อและการแบ่งปันทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เกิดผล ดังเครื่องมือระดมทุนออนไลน์ ส่งต่อน้ำใจของคนไทยชื่อ “เทใจ.คอม”
จะดีแค่ไหน ถ้าการรับประทานอาหารเมนูโปรด ไม่ได้ทำให้คุณอิ่มท้องเพียงคนเดียว ถ้านั่นคือเมนูจากร้านอาหารชั้นนำและยัง “ใจบุญ” ร่วมโครงการ “Food 4 Good”เพราะทุกเมนูจะถูกแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งไปช่วยน้องๆ ในชนบทห่างไกลได้อิ่มท้องไปด้วย
จะดีแค่ไหนถ้าการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ฟินๆของเราจะได้ช่วย “สังคม” ไปด้วย ชวน “คุณ” มาเปลี่ยนการทำความดีให้เป็นเรื่อง กล้วยๆ ด้วยแนวคิด “ช็อป” เท่ากับ “ช่วย”กับ “โซเชียลกิฟเวอร์”
ต่อเนื่องความสำเร็จจากแคมเปญ“Limited Education”ในงาน Good Society Expo 2017 “ร้อยพลังการศึกษา” จึงสานต่อ จับมือแบรนด์ชั้นนำ ช่วยเด็กด้อยโอกาส
เราทุกคนเติบโตขึ้นและก้าวต่อไปได้ก็ด้วยครอบครัว มาให้ความสำคัญสร้างสุขภาพ ผ่าน 5 ช่วงวัย กับ “Big Family Day” ที่จะเปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ ในบ้านหลังเดิม ที่เข้าใจกันและกันได้มากขึ้น
รู้หรือไม่ แต่ละปีทั่วโลกใช้ถุงพลาสติกกว่า 5 แสนล้านใบ ครึ่งหนึ่งคือพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ขยะพลาสติกกว่า13ล้านตัน ไหลลงสู่ทะเล ถ้าเพียงลดการใช้ขยะพลาสติก ก็สามารถช่วยดูแลรักษาโลกให้น่าอยู่และยั่งยืน
“คนพิการ”กับ “คนไม่พิการ” แตกต่างกันจริงหรือ? ที่ GSE พวกเราเชื่อว่าคนพิการไม่มีอยู่จริง มีแต่สิ่งแวดล้อมที่พิการ ลองมาเรียนรู้ไปด้วยกันกับ “เทคโนโลยี”ที่ทำให้ทุกคนเท่าเทียม
สู่ปีที่ 5 งาน “Good Society Expo 2018 : ทำดีหวังผลเริ่มต้นที่เรา” หรือชื่อเดิม “คนไทยขอมือหน่อย” พร้อมเชิญชวนประชาชนมาช่วยกันทำความดีให้เกิดผลในแบบของตัวเอง กับช่องทางแก้ปัญหาสังคมหลากหลายร่วมกับองค์กรเพื่อสังคมตัวจริงกว่า 80 องค์กร ผู้ขับเคลื่อนงาน 5 ประเด็นหลัก “การศึกษา คนพิการ ต้านทุจริต สิ่งแวดล้อม สุขภาพ” พร้อมช่องทางการให้ ทั้ง “เทใจ ปันกัน ฟู้ดฟอร์กู๊ด โซเชียลกีฟเวอร์ และเครือข่ายจิตอาสา” บนพื้นที่ 11 โซนกิจกรรม นำเสนอปัญหาและทางออกให้ทุกคนมีส่วนร่วมตามความสนใจรวมกว่า 50 กิจกรรม กำหนดจัดวันที่ 13-16 กันยายนนี้ ณ เซ็นทรัลเวิลด์
ในขณะที่เรื่องผู้สูงอายุกำลังเป็นประเด็นใหญ่เพราะมีจำนวนมากขึ้น รวมถึงมีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยเรื้อรัง การบริการสุขภาพก็มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่อัตราการเกิดกลับน้อยลง ทั้งสองประเด็นเป็นปัญหาหลักที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งอาจไม่ใช่การรอคอยความช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว ดังเช่นวันนี้เกิดต้นแบบความสำเร็จของสังคมที่ยั่งยืนจากการร่วมลงมือทำ
อีกหนึ่ง “พลังความร่วมมือ”ของทุกภาคส่วน ที่มีเจตนารมณ์เดียวกันคือ ร่วมกันสร้างสังคมที่ดี นั่นก็คือ “การลงทุนทางสังคม”หรือ“Social Investment” ที่วันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของ“เม็ดเงิน”เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่อง “ผลกระทบทางสังคม” (Social Impact) ซึ่งถือเป็น เทรนด์ระดับโลกที่มีผลตอบแทนและวัดผลได้จริง
เพราะ“ประเทศไทย” มีปัญหาความเหลื่อมล้ำ โอกาสที่ “เด็ก”ยากจนจะได้เรียนหนังสือจนจบจึงมีน้อย
เพราะ“เด็ก” คืออนาคตของประเทศและเพราะ“การศึกษา” ช่วยให้เยาวชนหลุดพ้นจากความยากจน ทุกคนจึงสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้
“การที่บริษัทเอกชนไม่ได้ส่งเงินใหม่เข้าไปในกองทุนฯ แต่เปลี่ยนมาส่งเสริมอาชีพให้คนพิการโดยตรง จึงเป็นทางเลือกที่น่าจะเหมาะสมและดีกว่าเพราะจะช่วยให้คนพิการได้รับเงินโดยตรง”
เมื่อพูดถึง “การลงทุน” หลายคนคงนึกถึง “ผลตอบแทน”ที่มีกำไรสูง ๆ ที่เป็น ตัว “เงิน” (Financial return) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผลตอบแทนที่คุ้มค่ายังมีรูปแบบอื่นอีกมากมาย มีการลงทุนประเภทหนึ่งซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ของโลก เรากำลังพูดถึง “การลงทุนทางสังคม” หรือ “Social Investment” ที่หวังผลตอบแทนทางด้านสังคมและวัดผลได้จริง
การลงทุนในกองทุนรวม B-THAICG ของผู้ถือหน่วย ย่อมเท่ากับเสมือนได้ร่วมกันทำความดีถึง 2 อย่าง ทำดีแรก คือ ลงทุนในหุ้นของกิจการที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี และทำดีที่สอง คือ เงินค่าธรรมเนียมจัดการกองทุนจะจัดสรรบางส่วนไปสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอร์รัปชั่น จึงเท่ากับได้ร่วมกันผลักดันให้คนในสังคมอย่างนักลงทุนได้ทำดีอีกทางด้วย
“สังคมไทยขาดมากก็คือ การให้ความสำคัญกับคนตัวเล็ก ผู้ที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา ผมคิดว่าถ้าเราจะพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนจำเป็นมากที่ต้องดึงคนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วม ที่ผ่านมารัฐมีวิธีจัดการให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มที่เกี่ยวข้องหลัก ประกอบด้วย รัฐ เอกชน และประชาสังคม อาจถึงเวลาที่รัฐต้องนิยามผู้เกี่ยวข้องหลักลึกลงไปอีกขั้นเป็น มัลติ สเตกโฮลเดอร์ ต้องฟังว่าประชาชนคนตัวเล็กต้องการอะไรและเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง”
“เพจนี้เกิดจากการรวมตัวของภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านต่อต้านคอร์รัปชัน เห็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนงาน โดยเฉพาะเกี่ยวกับสื่อด้านสืบสวนสอบสวนที่ปัจจุบันมีไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับขนาดของปัญหา ภาคีเครือข่ายจึงจัดกิจกรรมอบรมนักข่าวสืบสวนสอบสวน เเต่ก็สร้างนักข่าวด้านนี้ได้จำนวนจำกัด เราจึงคุยกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าประชาชนสามารถเป็นนักข่าวพลเมืองร่วมร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งเรื่องร้องเรียนที่ยังค้างต่างๆให้สาธารณชนทราบ ปัญหาของคุณจะไม่เงียบหรือถูกทิ้ง”
เฟซบุคเพจ “ต้องแฉ MustShare+” เชิญชวนคนไทยแชร์ข้อมูลทุจริต ร่วมสร้างสังคมเปิดโปร่งใส และติดตามตรวจสอบให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยภาคประชาชน
ในช่วงเดือนกันยายนนี้ มีเวทีความคิดนำเสนอปัญหาและทางออกของการต่อต้านการทุจริตอย่างน้อย 2 เวทีน่าสนใจ เวทีแรกจัดโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ชื่อ “รัฐบาลใหม่! คอร์รัปชันเก่า?” อีกเวทีคือ “Shift Happens: พลิกธุรกิจให้ทันวันพรุ่งนี้”
“ผมมองว่าประเทศไทยยังไม่ค่อยให้คุณค่ากับวิชาแนะแนว หรือถ้ามีครูสอนวิชาแนะแนวก็ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน การแนะแนวอาชีพไม่ใช่แค่การให้เด็กบอกว่าอยากเป็นอะไร แต่ต้องเข้าไปคุยเพื่อเปิดมุมมองให้เด็ก”
“อยากให้โรงเรียนต่างๆเห็นความสำคัญนำเกมนี้เข้าไปในกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้ปัญหาและแนวทางการแก้ไข ผมอยากบอกว่า คอร์รัปชันไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปเพียงแค่คุณกล้าออกมาตรวจสอบ หวังว่าเกมจะเป็นสื่อกลางทำให้คนมีความเข้าใจเรื่องคอร์รัปชันมากขึ้น”
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะผู้จัดงานประชุม AVPN Conference 2017 ภายใต้ธีม “Collaborating for Impact” ได้นำเสนอรายงานสรุปผลตอบรับการจัดงานแก่ “มูลนิธิเพื่อคนไทย” ในฐานะผู้จัดร่วม ด้วยคาดหวังว่า เครือข่ายเอวีพีเอ็นจะนำพา “ผู้ให้ที่เข้มแข็ง” หรือ “นักลงทุนทางสังคม” ที่เป็นสมาชิกมาร่วมเป็นผู้ลงทุนทางสังคมให้กับประเทศไทยในอนาคต
“การจัดตั้งกองทุนนี้สะท้อนว่า อุตสาหกรรมกองทุน มีความใส่ใจที่จะให้บริษัทจดทะเบียนต่างๆ บริหารงานและนำพาธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส สุจริต การที่อุตสาหกรรมของเราจัดตั้งมาได้ 11 บลจ.มาร่วมกันจัดตั้งกองทุนนี้ขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดีต่อตลาดทุนและประเทศด้วย จะทำให้ภาพลักษณ์ของผู้ลงทุนต่างชาติ มองว่าตลาดทุนไทยเอาจริงเอาจังในการยกระดับการสร้างธรรมาภิบาล”
นับเป็นอีกก้าวของการต่อต้านคอร์รัปชันที่เริ่มจากกลุ่มเยาวชน ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ การปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและชี้แนะแนวทางให้เห็นถึงปัญหา ผลกระทบ และแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการลดปัญหาคอร์รัปชันในสังคมอย่างมั่นคงและยั่งยืน
“ที่ผ่านมา เราอาจจะเคยคิดว่าเด็กขาดโอกาส ยากจน การให้ทุนก็น่าจะเรียนจบ แต่ก็ยังมีเด็กที่เลิกเรียน เราจึงมาคิดกันว่าตัวช่วยน้องๆ ก็คือต้องมีคนให้คำปรึกษา แนะกระบวนการให้น้องคิด ตั้งเป้าหมาย และแนะนำการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง”
จำนวนผู้พิการที่สถานประกอบการสามารถจ้างตามที่กฎหมายระบุ คือ 1: 100 ทั่วประเทศมีอัตราจ้างงาน 60,000 ตำแหน่ง แต่ขณะนี้มีผู้พิการเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่มีงานทำ รวมถึงมีสถานประกอบการเข้าร่วมประมาณ 400 แห่ง รูปแบบการจ้างงานคนพิการในชุมชนถือเป็นรูปเเบบใหม่ที่เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน
“Good Society Expo เทศกาลทำดี หวังผล” กว่า 100 องค์กรจาก “ภาคสังคม ธุรกิจ ตลาดทุน” รวมพลังสร้าง “พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม”
ข้อมูลจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ พบประเทศไทยรั้งอันดับที่ 101 จาก 176 ประเทศทั่วโลก การแก้ไขปัญหาจิตสำนึกของเยาวชนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต อาจเป็นอีกวิธีการที่จะช่วยพัฒนาการขับเคลื่อนประเทศไทยต่อไปในอนาคต
นอกจากการเรียนในชั่วโมงปกติกสิ่งที่ต้องเสริมมากขึ้นคือ กระตุ้นให้เขามีความฝัน เด็กส่วนใหญ่ที่นี่ไม่รู้เป้าหมายของตัวเอง สิ่งที่พยายามสอนเด็กๆ คือ การรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร และรู้จักการตั้งเป้าหมายในชีวิต จึงจะพาเขาไปสู่อนาคตที่ดีได้
พบกับเรื่องราวที่เป็นประเด็นน่าสนใจ จากงาน AVPN Conference 2017 งานประชุมการลงทุนเพื่อสังคมระดับแนวหน้าของเอเชีย ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางสังคมและการลงทุนทางสังคมให้ดีขึ้น
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 14 องค์กร ประกาศจุดยืนมีส่วนร่วมกับภาคสังคม ร่วมก่อตั้งโครงการกองทุนธรรมภิบาลไทย ยกระดับบริษัทที่มีการกำกับกิจการที่ดี เพื่อเป็นแรงจูงใจร่วมพัฒนาระบบธรรมาภิบาล และปันเงินลงทุนหนุนงานต้านคอร์รัปชัน
“ตอนแรกก็ไม่แน่ใจว่าเกรฮาวด์จะเข้ามาอยู่ตรงไหน หน้าตาของนิทรรศการจะออกมาอย่างไร แต่ทางครีเอทีฟและ 5 องค์กรภาคีเครือข่ายการศึกษาก็ทำออกมาได้ลงตัว เอาแบรนด์เรามาใส่ในจุดที่มูลนิธิฯต้องการ เราก็ได้ใช้แบรนด์ให้เกิดประโยชน์และใช้ความรู้ ความสามารถจากการที่เป็นบริษัทออกแบบ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ช่วยได้เต็มที่และเราก็ดีใจที่ได้ทำสิ่งนี้”
คนไทยบริจาคเงินปีละกว่า 7 หมื่นล้านบาท… หากเปลี่ยนการทำบุญ เป็นการลงทุนเพื่อสังคม จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร?
การส่งเสริมการลงทุนของภาคธุรกิจไปไกลมาก เพราะมีผู้ส่งเสริมคือ BOI ซึ่งมี KPI คือยอดการลงทุน ส่วนการส่งเสริมการลงทุนทางสังคม เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ โดยการลดหย่อนภาษีให้องค์การสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทำได้ยากกว่ามาก เพราะหน่วยงานที่ดูแลคือ กรมสรรพากร ซึ่งมี KPI คือ เก็บภาษีให้ได้มากที่สุด เราจะแก้ปัญหาเรื่องนี้กันอย่างไรดี? สังคมพร้อมลงทุนแล้ว…รัฐพร้อมหรือยัง? Facebook iconแชร์Twitter iconทวีตLINE iconส่งไลน์
Facebook iconแชร์Twitter iconทวีตLINE iconส่งไลน์
“ดินที่เราเหยียบให้คุณกับเรามาก เราต้องเรียนรู้เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติ เกษตรกรเเละคนในพื้นที่จะต้องหาคุณค่าของชีวิตเเละสิ่งเเวดล้อม เเละนั้นคือเศรษฐกิจพอเพียงที่จะนำไปพัฒนาต่อที่ภูฏาน ตอนนี้มีเพื่อนๆหลายคนที่เรียนจบปริญญาตรี เเต่ไม่มีงานทำเเละกำลังหาทางไปใช้ชีวิตประเทศอื่น ยิ่งต้องทำให้เพื่อนๆอยู่ในภูฏาน หันกลับมาเปลี่ยนแนวคิดการทำงานเพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศ”
“จากวันนั้นผมเลยลงไปสำรวจทั้งอำเภอลำสนธิ ภาพที่เห็นคือสองสามร้อยคนถูกทอดทิ้ง เราไม่ได้อยากดูแค่ 2 เคสแต่อยากดู 300 เคส ก็เลยเริ่มที่จะทำระบบขึ้น ประสบการณ์จากการดูแลผู้ป่วยเด็กคนหนึ่ง เขาพูดถึงสิ่งที่อยากได้รับ ผมก็นำสิ่งนี้มาออกแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยภาวะสุดท้าย”
“เราไม่ได้เข้าไปจับผิดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เเต่เป็นโครงการที่ทำให้เกิดการโปร่งใส ซึ่งทำโครงการข้อตกลงคุณธรรมมา 3 ปีเเล้ว ประหยัดงบประมาณกว่า 6,000 ล้านบาท เเต่อย่ามองว่าการประหยัดงบประมาณเป็นประเด็นหลัก อยากให้มองเรื่องการเข้าไปตรวจสอบโครงการว่ามีความโปร่งใสมากแค่ไหน”
แม้จะมีความแตกต่างกันที่ร่างกาย แต่ทั้งคู่ก็มีความฝันในการเดินทางที่เหมือนกัน โดยได้ฝากไปยังคนที่มีความฝันในการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีร่างกายสมบูรณ์หรือคนพิการ ให้ลุกขึ้นมาทำความฝันของตัวเองให้เป็นจริง
ปรากฏการณ์ใหม่ประเทศไทย !ทุกภาคส่วนกว่า 100 องค์กรทั้งธุรกิจ สังคม ตลาดทุน ร่วมส่งสาร “ทุกคนมีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมได้” “ภาคสังคม” ปลื้มประชาชนตื่นตัวมีส่วนร่วม
คุณก็สามารถช่วยกันดีไซน์การศึกษาของประเทศเราให้ดีขึ้นได้ ด้วยการช่วยกันแชร์ต่อ ให้คนอื่นรู้เรื่องนี้มากขึ้น ไม่แน่ว่าอาจทำให้เด็กเขียนชื่อ “คุณ”ถูกได้ในอนาคต
“คนที่เดินเข้ามาในพื้นที่ของปันกันจะรู้สึกว่าเหมือนกำลังเดินอยู่ในบ้านของตนเอง จะเจอสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ถูกวางทิ้งไว้ใน ห้องนอน ห้องกินข้าว ห้องเก็บของ หรือโรงจอดรถ ที่สามารถนำมาแบ่งปัน หรือแค่เลือกซื้อของหนึ่งชิ้นจากห้องที่เข้าไปเยี่ยมชม ก็สามารถให้โอกาสทางการศึกษากับน้องๆ ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่น่าอยู่ขึ้น
Socialgiver คือ พื้นที่ออนไลน์www.socialgiver.com ที่ให้คุณได้ “ช็อป” และ “ช่วย” สังคมไปพร้อมๆกัน คุณสามารถ “ช็อป” ห้องพักดีๆ จากรีสอร์ตหรือโรงแรมชั้นนำในราคาตลาดก็จริง แต่ความพิเศษคือ เป็นราคาจ่ายที่คุณซื้อได้ทั้ง “ความสุข” และ “ความดี”
งาน Good Society Expo กลไกกลางเชื่อมโอกาสของงานอาสา กิจกรรมเพื่อสังคม ของภาคีองค์กรภาคสังคม ที่เชื่อมเข้ากับคนที่สนใจ ทั้งประชาชนทั่วไป ภาคธุรกิจ และภาครัฐ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครบุคคลหลากหลายกลุ่มโดยไม่จำกัดอายุ นอกจากนั้นงานนี้ยังถือเป็นงานแรกทีเกิดความร่วมมือจากอาสารวมกว่า 140 คน
การเตรียมงานอาสาสมัครเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลทำดีหวังผล โดยวันแรกของการปฐมนิเทศอาสาสมัครในงาน “Good Society Expo 2017 เทศกาลทำดีหวังผล” ที่จะมีขึ้นในวันที่ 9-11 มิถุนายน ที่ เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นการปฐมนิเทศพนักงานกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ที่ลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครจำนวนกว่า 60 คน
ข้อมูลจากรายงานสุขภาพคนไทยปี 2534-2552 คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีภาวะน้ำหนักเกินเพิ่มขึ้น2 เท่า จากร้อยละ 17.2 เป็น ร้อยละ34.7 และภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า จากร้อยละ 3.2 เป็น ร้อยละ 9.1 นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงทางเพศ โรคที่เกิดจากบุหรี่ การเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มสุรา ที่มีเเนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ปัญหาที่พบในงานอาสาสมัคร คือคนในสังคมมักจะมองภาพของงานอาสาสมัครเป็นเรื่องยากและมีตัวเลือกที่จำกัด รวมทั้งองค์กรอาสาสมัครเเยกกันอยู่จึงทำให้คนทั่วไปไม่รู้จักงานอาสาสมัครเเละไม่มีช่องทาง เครือข่ายจิตอาสา จึงมุ่งประสานความร่วมมือและเสริมพลังการทำงานขององค์กรที่ทำงานด้านอาสาสมัครและการให้เกี่ยวกับจิตอาสาโดยเน้นที่คุณค่าของความสามัคคีการมีส่วนร่วมและการสร้างสรรค์ประโยชน์สุขในสังคม
“อยากให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นปัญหาร่วมกัน เพราะเชื่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมมากมายเกิดจากระบบการศึกษาที่ไม่ดี เวลาเกิดปัญหาก็โทษว่าเป็นเพราะไม่มีความรู้ ไม่มีการศึกษา เราพยายามที่จะจัดบูธที่ไม่ใช่นิทรรศการมีคนมาอ่านข้อความให้ฟังเเต่จะมีกิจกรรมเพื่อสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมจริงๆ ให้คนที่มาเดินห้างเกิดความสนใจในเรื่องความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นเเล้วค่อยไปช้อปปิ้งต่อก็ได้ อย่างน้อยเพื่อให้เกิดความตระหนักต่อปัญหาการศึกษาในประเทศไทย และอาจจะเกิดการฉุกคิดและร่วมลงมือทำกับหน่วยงานต่างๆ ในอนาคตก็ได้”
“เวลาเราพูดถึงคนพิการมักจะคิดว่าชีวิตเขาลำบาก เราจะดึงศักยภาพของเขาออกมาให้สังคมรับรู้ว่าพวกเขาสามารถทำงานได้ ไม่ใช่ภาพของคนพิการที่รอคอยโอกาส ไม่ใช่คนยากลำบากเเละน่าสงสารเเต่เป็นคนพิการที่ลุกขึ้นมาได้เพราะกลไกทางสังคมสนับสนุน และคาดหวังว่าคนที่เดินเข้ามาในพาวิลเลียนจะเกิดมุมมองภาพของคนพิการต่างออกไปจากเดิม”
“ประเทศไทยส่วนใหญ่จะพูดถึงปัญหาคอร์รัปชันที่ดูเหมือนจะรุนแรงมากขึ้นแต่ไม่ค่อยพูดถึงวิธีแก้ปัญหาที่คนในสังคมจะมีส่วนร่วม”
มูลนิธิเพื่อคนไทย-องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ-สสส.- นวัตกรรมทางสังคม- ยุวพัฒน์ – เอ็นไลฟ” และภาคีเครือข่ายกว่า 80 องค์กร ร่วมกับ “อาร์เอสทีเอ-ซีพีเอ็น – เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป” จัดงาน “Good Society Expo เทศกาลทำดี หวังผล” 9-11 มิ.ย. นี้ ที่ เซ็นทรัลเวิลด์และย่านราชประสงค์
“ทำดี หวังผล”…แบบนี้ก็ได้เหรอ!!!
ตอน สตีฟ จ๋อย นวัตกรรม “iถั่วs”
Startup รุ่นใหม่ ไอเดียสุดแรง แต่แซงทางโค้งแหกตกถนน เพราะทำไม่ได้จริง …. คิดจะทำดี แต่ไม่หวังผลก็เป็นแบบนี้แหละ
“ทำดี หวังผล”…แบบนี้ก็ได้เหรอ!!! ตอน คู่หู “ซีเอสฮา” ปลูกป่าดูโอ
หนุ่มออฟฟิศ ลดโลกร้อน โชว์ความรัก แต่ต้นไม้ดันหักไปซะก่อน…ก็เพราะตั้งใจดี แต่ดันไม่หวังผล
“ทำดี หวังผล”…แบบนี้ก็ได้เหรอ ตอน กางเกงกันหนาว กับ น้องสาวผ้าลื่น
สาวแบ๊ว สายบุญ ทุ่มทุนเทหมดตู้เสื้อผ้า…มาทำดี แต่เป็นแบบนี้ซะงั้น
“เราเชื่อว่าคนไทยทุกคนรู้ว่าระบบการศึกษาไม่ดี เราอยากให้เห็นว่าการขาดการศึกษามีอยู่จริงเเละตลอดไป เเต่เราที่เป็นคนในสังคมจะทำอะไรที่จะช่วยกันคนละเล็กละน้อย ทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วม”
9-11 มิ.ย 2560 ที่เซ็นทรัลเวิลดิ์ คนไทยจะมีโอกาสได้พบกับประสบการณ์ เพื่อยืนยันความเชื่อดังกล่าวว่า ทุกคนมีส่วนร่วมในการลงมือทำได้จากงาน “Good Society Expo” เทศกาลทำดีหวังผล จะทำหน้าที่เป็นพื้นที่กลาง ความร่วมมือของภาคประชาชน ทั้งภาคสังคมและธุรกิจ เชิญชวนผู้คนมาทำดีกับองค์กรเพื่อสังคมผู้คร่ำหวอดในประเด็นต่างๆที่จะเเนะนำช่องทางการลงมือทำ
มูลนิธิเอ็นไลฟ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง และมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ชู 4 ประเด็น คือ ดิน –น้ำ- ป่า- เมือง สร้างพื้นที่กิจกรรม เรียนรู้จากผู้รู้จริง เกิดความตระหนักและริเริ่มการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง พร้อมต่อยอดลงพื้นที่ฟื้นฟูผืนป่าและน้ำหลังจบงาน มุ่งเป้าหมายการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
หลายท่านคงตั้งตารองาน “คนไทยขอมือหน่อย” ตลาดนัดอาสาสมัคร กิจกรรมเพื่อสังคมที่ใหญ่ที่สุดระดับประเทศ ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 มาปีนี้ ถึงคราวปรับแนวคิดใหม่ หันมามุ่งเน้นการสร้างผลลัพธ์ ให้ชัดขึ้น ในงานชื่อ “Good Society Expo” วันที่ 9-11 มิถุนายน นี้ ที่เซ็นทรัลเวิลดิ์และย่านราชประสงค์
มูลนิธิโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น เปิดให้องค์กรสาธารณประโยชน์ ส่งข้อเสนอโครงการในประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นคือ 1. Multigenerational and Multicultural Inclusion in Communities 2. Creating New Culture: Toward a Common Platform for Asia กำหนดเปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน – 20 มิถุนายน 2560
“คอร์รัป: หยุดยั้งหรือปล่อยไป” เกมแนว Visual Novel เกมแรกของไทยที่มีเนื้อเรื่องแนวสืบสวนสอบสวน ตั้งเป้าหมายสร้างความตระหนักและเรียนรู้ถึงทางเลือกเมื่อเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชันกับกลุ่มเยาวชน 13-25 ปี ดาวน์โหลดเล่นได้ฟรีทาง Play Store ในระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์และ App Store ในระบบปฎิบัติการ iOS พร้อมกันทั่วประเทศ 1 มีนาคม นี้
“Story Telling” ถือเป็นเครื่องมือหรือกลยุทธ์สำหรับการสื่อสารการตลาด การสื่อสารเพื่อสร้างผลกระทบ และการระดมทุนขององค์กรภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGO) อย่างไรก็ตาม เกิดความสับสนว่า Story Telling คืออะไร และประกอบด้วยอะไรบ้าง..
ครั้งแรกของประเทศที่ภาคตลาดทุนนำโดย “สภาธุรกิจตลาดทุนไทย” และ “บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน” 14 องค์กร ร่วมมือกับภาคสังคม “มูลนิธิเพื่อคนไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เช้นจ์ เวนเจอร์” ประกาศเจตนารมณ์ก่อตั้งโครงการ “กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย”
โครงการคนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน จุดเริ่มต้นออกแบบระบบ ดูแลผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง
ทีดีอาร์ไอ ได้ศึกษาและวิจัยรูปแบบ “การลงทุนเพื่อสังคม” ด้วยการวิเคราะห์ถึงอุปสงค์และอุปทาน การสร้างผลกระทบทางสังคม และความยั่งยืนของประชาชนที่ได้รับประโยชน์ หรือภาคสังคมที่ได้รับการสนับสนุนทุนให้เข้าไปทำงาน การติดตามและประเมินผลลัพธ์ทางสังคม ตลอดจนความร่วมมือระหว่าง ภาคการเงิน การลงทุน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ในการสร้างองค์ความรู้และต้นแบบการแก้ไขปัญหาสังคมและการลงทุนทางสังคมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
มูลนิธิเพื่อคนไทยและโอเพ่นดรีม ร่วมงานค่ายเยาวชนสยามอารยะ ชักชวนน้องๆ มีส่วนร่วมพัฒนาสังคม
กระตุ้นพลังพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม (Active Citizen) ผ่านกลไกที่หลากหลาย
สสส ร่วมกับ TDRI จัดงานสัมมนา “ชวนสังคมร่วมลงทุน” นำเสนอการศึกษาแนวทางรูปแบบและระบบนิเวศการลงทุนทางสังคม 11 มกราคม 2560 : 09.00-16.00 น. โรงเเรมสวิสโฮเทล เลอ คองคอร์ด รัชดา
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กำหนดให้มีการจัดเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อ “กรณีค่าที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่…ถูกหรือผิด…แก้ได้ หรือ ไร้หวัง” วันพุธที่ 21 ธันวาคม 59 : 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องดุสิตธานีฮอลล์ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ
การประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัครครั้งที่ 2 ที่ม.ธรรมศาสตร์เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เครือข่ายจิตอาสาและภาคีกว่า 20 องค์กร มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 800 คน เป็นอีกเวทีหนึ่งในการร่วมหาแนวทางจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนางานอาสาสมัครให้เข้มแข็งและยั่งยืน
เริ่มแล้ว “งานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัครครั้งที่ 2” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2559 ณ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเครือข่ายจิตอาสาร่วมกับภาคีทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชนและประชาสังคมกว่า 20 องค์กร ตอกย้ำความสำคัญของอาสาสมัครในฐานะกลไกขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เครือข่ายจิตอาสาร่วมกับ 20 องค์กรภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม จัดงาน “ประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ 2” ในวันที่ 28-29 กันยายนนี้ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ทักษะความรู้ของบุคลากรในภาคธุรกิจเป็นหนึ่งในทรัพยากรสำคัญช่วยเติมเต็มขีดความสามารถที่ขาดแคลนให้กับโครงการเพื่อสังคมได้
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังถดถอย เพราะไม่สามารถพัฒนาทุนมนุษย์ได้ เป็นผลจากปัญหาคุณภาพการศึกษาโดยมีตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนชัดเจนอย่างผลประเมิน PISA 2012 ที่ไทยได้รับการจัดอันดับที่ 50 ของโลก
The role volunteers play in society will be addressed at Thailand’s 2nd National Conference on Volunteerism on 28-29 September, 2016. The conference will focus on a significant contribution volunteers can make to the achievement of Sustainable Development Goals.
งานสัมมนา “ขับเคลื่อนพลเมือง สร้างสังคมไทยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL)” ได้เชิญภาคีหลายภาคส่วน ได้แก่ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กสทช. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมอภิปรายเเลกเปลี่ยนทิศทางการทำงาน MIDL
6 องค์กรวิชาชีพ-บริษัทเอกชนชั้นนำกว่า 200 องค์กร ร่วมสานพลัง ประชารัฐจ้างงานคนพิการ 10,000 อัตรา โครงการ “สานพลังสู่มิติใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการ
มูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) กองทุนรวมคนไทยใจดี (BKIND) โดยบลจ. บัวหลวง มูลนิธิเพื่อคนไทยและสถาบันเช้นจ์ ฟิวชันฯ ร่วมจัดงาน “Social Investment Talk จากการบริจาคสู่การลงทุน
กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) เเละ สสส. ประกาศความร่วมมือเร่งจ้างงานคนพิการ 10,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2559
“บริษัท กรีนเนท เอสอี จำกัด”เดินหน้าจัดงาน “Taste Sustainability – รักรส มีวนา รักษ์ป่า ยั่งยืน” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเชิญชวนให้ภาคธุรกิจ รวมทั้งประชาชนทั่วไปร่วมลงมือฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม รักษาป่าต้นน้ำ ผ่านการสนับสนุนและบริโภคกาแฟอินทรีย์รักษาป่า“มีวนา”
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาการศึกษา ปัญหาเยาวชน ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ล้วนเป็นปัญหาขนาดใหญ่ของประเทศไทย ที่เป็นต้นตอสำคัญที่นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยในช่วงตลอดทศวรรษที่ผ่านมา
คนไทยขอมือหน่อย 2016 : Ratchaprasong, The Sharing street” กิจกรรมตลาดนัดอาสาสมัครระดับประเทศ โดยความร่วมมือระหว่าง สมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์
ร้อยพันปัญหา แก้ได้ด้วย 2 มือของเรา อยากรู้ทำยังไง…ไปเลยที่งาน “คนไทย ขอมือหน่อย 2016 : Ratchaprasong, The Sharing street”
เริ่มแล้ว “คนไทยขอมือหน่อย 2016” 200 องค์กรภาคสังคม-ธุรกิจรวมพลัง สร้างสังคมแบ่งปันชวน “ช้อปเพื่อช่วย”
“คนไทยขอมือหน่อย 2016” คึกคัก “9 บิ๊กธุรกิจ”ย่านราชประสงค์หนุน 200 ภาคีภาคสังคมจัดตลาดนัดอาสาฯ
ในการจัดงาน “ตลาดนัดโอกาสร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ : กลไกลดความเหลื่อมล้ำ..ปัญหาเด็ก เกษตรกร คนชรา คนพิการและต่อต้านคอร์รัปชัน” เมื่อ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
เวที “ตลาดนัดโอกาสร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ” คึกคัก “ภาคสังคม-ภาคธุรกิจ” กว่า 100 องค์กรร่วมหนุนเสริมโครงการ “ร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ”
“มูลนิธิเพื่อคนไทย” ร่วมกับ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดผลวิจัยโครงการ “ออกเสียงออกแบบประเทศไทย”
ทำอย่างไร “โตไปไม่โกง” กฎ กติกา ค่านิยม ตัวช่วยแบบไหนที่ใช่? ประเทศไทยเสียหายอย่างหนักจากปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน เพียง 10 คดีที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน
29 มิถุนายน 2558 – คณะทำงานดำเนินโครงการโตไปไม่โกง และภาคีร่วมกันเปิดตัว “โครงการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือในการเรียนการสอนหลักสูตรโตไปไม่โกง”
“สมัชชาพลเมือง” แม้จะดูเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย ด้วยปรากฏขึ้นครั้งแรกในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (วันที่ 17 เมษายน 2558) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมแรกของโครงการ ๑ เติม ๑๐๐ ด้วยความร่วมมือกันของมูลนิธิไทยพีบีเอส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
“เทใจดอทคอม” (Taejai.com) พื้นที่ระดมทุนออนไลน์เพื่อสนับสนุนโครงการเพื่อสังคม เปิดโครงการ SavingNEPAL ระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่เนปาล
27 มีนาคม 2558 – ดร. บัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC)
“กลุ่มบริษัทพรีเมียร์”เปิดประสบการณ์ “ธุรกิจยั่งยืน” ด้วยความเชื่อ “กำไร” บนความยั่งยืนคือกำไรสูงสุด
25 มีนาคม 2558 – ภาคธุรกิจไทยคึกคักตื่นตัวขานรับแนวคิดการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ล่าสุด “กลุ่มบริษัทพรีเมียร์” จัดงาน “ธุรกิจโลกใหม่ : กำไรบนความยั่งยืนร่วมกันคือกำไรสูงสุด”
Food4Good ทำดีง่ายๆ พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มด้วย..จะดีแค่ไหนถ้าการทานอาหารจานโปรดในร้านอาหารร้านโปรด ไม่ได้ทำให้เราอิ่มท้องเพียงคนเดียว
“ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย” เชื่อมั่น “เอสอี” ไทยโตได้ ชวนภาคธุรกิจ-ภาคตลาดทุนหนุนต่อเนื่องจากการจัดกิจกรรม “SE Tour” ในงาน “คนไทยขอมือหน่อย ปี2”
คนตัวเล็กๆ ในวันนี้ กำลังสร้างปรากฏการณ์เชิงสร้างสรรค์ของการเขย่าโลกเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น ด้วย Crowdfunding การระดมทุนผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อช่วยเหลือคนที่มีความคิดดีๆ ได้ทำโครงการดีๆ ที่แก้ปัญหาสังคมได้
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อคนไทย องค์กรภาคธุรกิจและองค์กรภาคสังคมกว่า 140 สถาบันร่วมกันจัดงาน
งาน “คนไทยขอมือหน่อย ปี 2” ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการรวมพลคนทำงานอาสาและองค์กรเพื่อสังคมกว่า 140 องค์กรแล้ว ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับเด็กและเยาวชนที่มีความสนใจงานด้านสังคมให้เข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์
“หอการค้าไทย-ตลท.” จับมือ “ภาคสังคม” เปิดโครงการ “ปลุกพลัง เปลี่ยนไทย” ชวนคนไทยลงมือทำ-กำหนดวิสัยทัศน์ชาติ โครงการปลุกพลัง เปลี่ยนไทย (Inspiring Thailand)
ป็นอีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมที่เหล่านักร้อง ศิลปิน ดารา พิธีกร และคนในวงการบันเทิงจากหลากหลายค่าย ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจิตอาสาคับคั่ง สำหรับงานรวมพลจิตอาสา
องค์กรภาคธุรกิจและองค์กรภาคสังคมกว่า 140 สถาบัน ร่วมจัดงาน “คนไทยขอมือหน่อย ปี2” สร้างพื้นที่รวมพลังของคนลงมือทำเพื่อสังคม“ลงแรง ลงขัน ลงสมอง”
เข้าใจ…วันนี้ของเด็กไทย เปลี่ยนแปลงอนาคต…ของสังคม ผลวิจัย “คนไทย มอนิเตอร์ 2557 : เสียงเยาวชนไทย” จากผลวิจัย ที่ต้องการทราบความคิดความเป็นไปของเยาวชนไทย อายุ 15-24 ปี จากทุกสถานะ ทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ
องค์กรภาคสังคมด้านเยาวชนระดับประเทศกว่า 30 ภาคีเครือข่ายตอบรับงานวิจัย “คนไทยมอนิเตอร์ 2557 : เสียงเยาวชนไทย” พร้อมขยายผลสู่การปฏิบัติ
กองทุนบัวหลวง ผนึกกำลังกับ มูลนิธิเพื่อ “คนไทย” และ เช้นจ์ ฟิวชัน จัดตั้ง “กองทุนรวม คนไทยใจดี” กองทุน E S G C กองแรกของประเทศไทย
ลังของเราทุกคนเปลี่ยนแปลงสังคมได้ เพียงแค่คนไทยลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง “ลงมือทำทันที” เพื่อมีส่วนร่วม สร้างสังคมส่วนรวม เป็น Active Citizenship
“สสส.-องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน-มูลนิธิเพื่อคนไทย” จับมือ “เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” และเพื่อนภาคีกว่า 10 องค์กรร่วมจัดงาน “ต่างใจไทยเดียว” เปิดพื้นที่สื่อสารสร้างการอยู่ร่วม
สสส.-องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน-มูลนิธิเพื่อ “คนไทย” – เซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมกับภาคีภาคสังคมที่ทำงานเพื่อส่วนรวม กว่าสิบองค์กร รวมพลังจัดงาน”ต่างใจไทยเดียว”
มีเพื่อน unfriend กันไปกี่คนแล้ว กี่ครอบครัวที่คุยกันไม่ได้ เพื่อนร่วมงาน กี่คนที่มองหน้ากันไม่ติด เราปล่อยให้ความเห็นต่าง…ทำลายสิ่งที่เรามีร่วมกันไปหรือไม่ ทั้งในครอบครัว…และในประเทศของเรา
จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและทางสังคมซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มระดับความวิกฤติและความรุนแรงมากขึ้น มีการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ และความรุนแรงที่เกิดขึ้น สร้างความสูญเสียแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน
เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูปมีความห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาอย่างยืดเยื้อ และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความแตกแยก
มูลนิธิเพื่อคนไทย จัดทำภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “วีรบุรุษ” และวีดีโออินโฟกราฟฟิก หวังคนไทยตื่นตัวมีส่วนร่วมนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข
มูลนิธิเพื่อ “คนไทย” ร่วมกับสำนักงานปฎิรูป (สปร) ได้จัดเสวนาโต๊ะกลม “คนไทย” มอนิเตอร์ เสียงนี้มีพลัง ขึ้น เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2555