ปิดม่านไปแล้วสำหรับงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2563 ครั้งที่ 42 ภายใต้แนวคิด “ชีวิตที่เหลื่อมล้ำ : เหลื่อมล้ำตลอดชีวิต” โดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นเวทีที่นำงานวิจัยของนักวิชาการมาเผยแพร่ในแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกับความเหลื่อมล้ำในสังคม

สำนักข่าว Good News สนใจขยายความในเวที “ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยจากหลายมุมมองใหม่” โดยเฉพาะงานวิจัยเรื่อง “ดัชนีความไม่เป็นธรรมในสังคม” เพราะที่ผ่านมาสังคมอาจมองภาพความเหลื่อมล้ำเพียงด้านเศรษฐกิจ แท้จริงแล้วความเหลื่อมล้ำเกิดจากหลายด้านแตกต่างกัน หนึ่งในนั้นคือ “ความไม่เป็นธรรมในสังคม” ดังโศกนาฏกรรมที่จังหวัดนครราชสีมาที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ปมปัญหามาจากที่ผู้ก่อเหตุบอกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แม้เหตุการณ์จะผ่านไปแล้วแต่ก็ยังไม่มีใครกล้ายืนยันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก ตราบใดที่ช่องว่างความเหลื่อมล้ำแห่งความเป็นธรรมยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตราบนั้นก็มีโอกาสที่ความรุนแรงจะปะทุขึ้นอีก

งานวิจัย “ดัชนีความเป็นธรรมในสังคม” โดย รศ.ดร.ธีระ (ขวาสุด) มีการนำเสนอบนเวที “ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยจากหลายมุมมองใหม่” ซึ่งมีวิทยากรประกอบด้วย “ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ” (คนที่2 นับจากซ้ายสุด) และ “ผศ.ดร.ณัฐพงษ์ พัฒนพงษ์” (คนที่ 3 นับจากซ้ายสุด) ดำเนินการเสวนาโดย “ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว” งานวิจัยบนเวทีนี้มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ยกเว้นงานวิจัยของรศ.ดร.ธีระที่มาจากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

งานวิจัย “ดัชนีความเป็นธรรมในสังคม” โดย รศ.ดร.ธีระ (ขวาสุด) มีการนำเสนอบนเวที “ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยจากหลายมุมมองใหม่” ซึ่งมีวิทยากรประกอบด้วย “ผศ.ดร.เฉลิมพงษ์ คงเจริญ” (คนที่2 นับจากซ้ายสุด) และ “ผศ.ดร.ณัฐพงษ์ พัฒนพงษ์” (คนที่ 3 นับจากซ้ายสุด) ดำเนินการเสวนาโดย “ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว” งานวิจัยบนเวทีนี้มาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ยกเว้นงานวิจัยของรศ.ดร.ธีระที่มาจากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

การทำความเข้าใจถึงประเด็นความเป็นธรรมถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการตีความและทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนในสังคมมากขึ้นเพื่อให้ทุกคนยึดถือและปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อสร้างสังคมที่มีความเสมอภาค

“สังคมไทยมีความเป็นธรรมอยู่จริงหรือไม่และมีในระดับใด ที่ผ่านมาการตอบคำถามมักเป็นความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่สามารถจับต้องได้” “รศ.ดร.ธีระ สินเดชารักษ์” อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมทางสังคมกล่าว พร้อมบอกถึงที่มาที่ไปของงานวิจัย “ดัชนีความเป็นธรรมในสังคม” เพื่อเป็นเครื่องมือสำรวจความคิดเห็นของประชาชน สรุปเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ขณะเดียวกันคาดหวังว่างานวิจัยจะทำให้สังคมได้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมกันผลักดันความเป็นธรรมในด้านต่างๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม

งานวิจัย “ดัชนีความเป็นธรรมในสังคม” ได้จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2559 ต่อเนื่องปี 2562 เริ่มต้นจากการสำรวจ 4 ด้าน คือ ความเสมอภาคทางสังคมวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมและสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจและการกระจายทรัพยากร กระบวนการยุติธรรม ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การจัดทำดัชนีการรับรู้ อารมณ์ความรู้สึก สิ่งที่ถูกกระทำ แต่ต่อมาเมื่อปี 2562 เพื่อให้ได้ผลวิจัยเชิงประจักษ์ได้ขยายการสำรวจเพิ่มอีก 6 ด้าน รวมเป็น 10 ด้าน ได้แก่ การศึกษา เพศ ชุมชน สิ่งแวดล้อม สุขภาพ บริการสาธารณะและสาธารณูปโภค โดยสุ่มตัวอย่างใน 5 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 5 จังหวัด แต่ละจังหวัดมี 2 อำเภอ แบ่งเป็นอำเภอเมืองและอำเภอที่ห่างออกไป อำเภอละ 2 ตำบล สุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 8,116 ตัวอย่าง ซึ่งเก็บข้อมูลเป็นเวลาเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) จนได้ค่าดัชนีออกมาและเผยแพร่ในเวบไซต์ www.sojustthai.net

ผลการสำรวจในปี 2561 พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 81.42 ประชาชนให้ความสนใจเศรษฐกิจ รายได้และมาตรฐานการดำรงชีวิต อันดับสอง ร้อยละ 24.72  กฎหมาย ความยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรม อันดับสาม ร้อยละ 15.23  การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมกัน อันดับสี่ ร้อยละ 23.68 การยอมรับในสังคมและวัฒนธรรม

ทั้งนี้ผลวิจัยในปี 2562 พบว่า อันดับหนึ่ง ร้อยละ 20.42  ประชาชนให้ความสำคัญกับด้านเศรษฐกิจความยากจนและการกระจายทรัพยากร อันดับสอง ร้อยละ 19.38  ด้านกระบวนการยุติธรรม อันดับสาม ร้อยละ 18.12  ด้านการเมือง อันดับสี่ ร้อยละ 12.92 ด้านการศึกษา อันดับห้า ร้อยละ 9.58 ด้านการบริการสาธารณะและสาธารณูปโภค อันดับหก ร้อยละ 7.51  ด้านเพศ อันดับเจ็ด ร้อยละ 6.04  ด้านสังคม วัฒนธรรม ภาษา และศาสนา

“จากผลการวิจัยทั้ง 10 ด้านทั้งสองครั้งนั้น มีระดับตัวเลขใกล้เคียงกันมากขึ้น สะท้อนว่าประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจเช่นเดียวกับด้านการเมือง” รศ.ดร.ธีระกล่าว

นอกจากคำถามแบบข้อความแล้วยังมีส่วนที่เป็น “ภาพ” ด้วยเพื่อทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้มีกรอบคิดที่เข้าใจตรงกันโดยสุ่มตัวอย่าง 8,116 ตัวอย่าง ผลวิจัยก็ออกมาไม่แตกต่างกัน อันดับหนึ่ง ร้อยละ 89.32 ด้านกระบวนการยุติธรรม อันดับสอง ร้อยละ 89.25  เศรษฐกิจความยากจนและการกระจายทรัพยากร อันดับสาม ร้อยละ 78.22 ด้านการศึกษา อันดับสี่ ร้อยละ 70.79 ด้านสิ่งแวดล้อม อันดับห้า ร้อยละ 69.63 ด้านการเมือง อันดับหก ร้อยละ 63.82 ด้านการบริการสาธารณะและสาธารณูปโภค อันดับเจ็ด ร้อยละ 61.32 ด้านสุขภาพ

ความน่าสนใจของวิธีการวิจัยนอกจากคำถามแบบข้อความแล้วยังมีส่วนที่เป็น “ภาพ” ด้วย เพื่อทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้มีกรอบคิดที่เข้าใจตรงกันโดยสุ่มตัวอย่าง 8,116 ตัวอย่าง ผลวิจัยก็ออกมาไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ อันดับหนึ่ง ร้อยละ 89.32 ด้านกระบวนการยุติธรรม อันดับสอง ร้อยละ 89.25  เศรษฐกิจความยากจนและการกระจายทรัพยากร อันดับสาม ร้อยละ 78.22 ด้านการศึกษา

ความน่าสนใจของวิธีการวิจัยนอกจากคำถามแบบข้อความแล้วยังมีส่วนที่เป็น “ภาพ” ด้วย เพื่อทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้มีกรอบคิดที่เข้าใจตรงกันโดยสุ่มตัวอย่าง 8,116 ตัวอย่าง ผลวิจัยก็ออกมาไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ อันดับหนึ่ง ร้อยละ 89.32 ด้านกระบวนการยุติธรรม อันดับสอง ร้อยละ 89.25 เศรษฐกิจความยากจนและการกระจายทรัพยากร อันดับสาม ร้อยละ 78.22 ด้านการศึกษา

รศ.ดร.ธีระ สรุปว่าจากการสำรวจพบว่าสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยมีแนวโน้มไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ได้รับความไม่เป็นธรรมคือกลุ่มเพศทางเลือก คนอายุ 60 ปีขึ้นไป คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ คนที่อยู่ในเขตปกครองพิเศษ คนที่ย้ายมาจากที่อื่น คนนับถือผี คนที่รายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน คนที่สื่อสารด้วยภาษาถิ่นเหนือและคนทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์

หนึ่งในเนื้อหางานวิจัยที่ผู้เข้าร่วมสนใจมากที่สุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเภทกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด 9 อันดับแรก

หนึ่งในเนื้อหางานวิจัยที่ผู้เข้าร่วมสนใจมากที่สุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเภทกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด 9 อันดับแรก

ถึงตรงนี้มีผู้เข้าฟังตั้งคำถามว่าทำไมคนที่ทำงานฟรีแลนซ์จึงมีแนวโน้มไม่ได้รับความเป็นธรรม

รศ.ดร.ธีระ ตอบด้วยการยกตัวอย่างงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เคยสำรวจแรงงานนอกระบบ ผลวิจัยครั้งนั้นพบว่ามีผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระจำนวน 20.7 ล้านคนหรือประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีงานทำ คนกลุ่มนี้ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐด้วยเหตุผลความกังวลเรื่องภาษี และมีเพียง 1 แสนคนเท่านั้นที่ต้องการการยอมรับว่าเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  ดังนั้นหากต้องการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมของคนกลุ่มนี้ควรเริ่มต้นจากการรับฟังปัญหา

ไม่เพียงเท่านั้นยังมีผู้เข้าฟังตั้งคำถามถึงผลงานวิจัยที่ออกมาจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างไร คำตอบก็คือ

“เราทราบกันดีว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำกัดกร่อนสังคมไทยมานาน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่าไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในฐานะนักวิชาการเราพยายามสำรวจข้อมูลเพื่อให้สาธารณะได้รับรู้ แต่สิ่งที่มักจะเป็นคำถามก็คือวิธีการแก้ปัญหาต้องทำอย่างไร แน่นอนลำพังนักวิชาการก็คงยากที่จะ แก้ปัญหาได้ จึงอยากเชิญชวนทุกภาคส่วนตระหนักและเข้าใจปัญหาร่วมกันและใช้ข้อมูลที่หาวิธีการแก้ไข” รศ.ดร.ธีระกล่าว

ท้ายที่สุด รศ.ดร.ธีระ ได้เสนอว่าการแก้ปัญหาต้องเริ่มต้นจาก “ทุกคน” ในสังคมหันมารับฟังกันและเข้าใจปัญหาร่วมกันในเบื้องต้น บทบาทงานวิชาการก็จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์นำไปสู่การบูรณาการวิธีแก้ปัญหาในระดับโครงสร้างของสังคมที่มีความซับซ้อน

แล้วคุณล่ะ – คิดต่อเรื่องนี้อย่างไร และจะลงมือทำอะไรได้บ้าง ค้นหาช่องทางร่วมลดความเหลื่อมล้ำกับกลไกต่างๆ

มาร่วมมือกันได้เลยที่ www.khonthaifoundation.org หรือ Facebook : Khonthaifoundation

ถ้าสนใจประเด็นการศึกษาร่วมลงมือทำได้ที่  “โครงการร้อยพลังการศึกษา” เวบไซต์ https://www.tcfe.or.th/

หรือ FB : ร้อยพลังการศึกษา

ถ้าสนใจประเด็นต่อต้านคอร์รัปชันร่วมลงมือทำได้ที่ “องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน” เวบไซต์ http://www.anticorruption.in.th/2016/th/    หรือ FB : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

หรือถ้าสนใจประเด็นการจ้างงานคนพิการร่วมลงมือได้เลยที่ “มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม” เวบไซต์ https://www.sif.or.th/ หรือ FB :  คนพิการต้องมีงานทำ – มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม

เก็บตกสำหรับผู้ที่สนใจเนื้อหางานสัมมนา “ชีวิตที่เหลื่อมล้ำ : เหลื่อมล้ำตลอดชีวิต” สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ FB : Center for Research on Inequality and Social Policy – CRISP มีรายละเอียดหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

หัวข้อ: ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยจากหลายมุมมองใหม่ ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังนี้

  • แนวโน้มความเหลื่อมล้ำ และความกินดีอยู่ดีของครัวเรือนในประเทศไทย
  • การวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ
  • ดัชนีความเป็นธรรมในสังคม

สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่  https://youtu.be/T122kW7SlWs

หัวข้อ : ความเหลื่อมล้ำจากวัยเรียนสู่วัยทำงาน ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังนี้

  • สองทศวรรษของความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพการศึกษาและการจัดสรรทรัพยากรระดับพื้นที่ของประเทศไทย
  • ความไม่สอดคล้องทางการศึกษากับความเหลื่อมล้ำของค่าจ้างแรงงานไทย
  • การศึกษาปฐมวัย

หัวข้อ : ความเหลื่อมล้ำเมื่อเจ็บป่วยและชรา ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังนี้

  • สุขภาพเด็กไทย ใครกำหนด?: สถานการณ์ปัจจุบันและปัจจัยกำหนดความเหลื่อมล้ำในสุขภาพเด็กปฐมวัย
  • ความเหลื่อมล้ำเชิงภูมิภาคด้านพฤฒิพลังผู้สูงอายุบั่นทอนนโยบายผู้สูงอายุระดับชาติอย่างไร
  • ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข

หัวข้อ : ชีวิตที่เหลื่อมล้ำ : เหลื่อมล้ำตลอดชีวิต

สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่  https://youtu.be/qlKsOvBZjX0

สำหรับผู้ที่ต้องการเอกสารประกอบการสัมมนางานสัมมนาวิชาการประจำปีที่42 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “ชีวิตที่เหลื่อมล้ำ : เหลื่อมล้ำตลอดชีวิต” สามารถดาวน์โหลดได้ในลิงค์ http://www.symposium.econ.tu.ac.th/