รู้หรือไม่ มีเด็กประมาณ 60,000 คน ที่พักอาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้างในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากครอบครัวแรงงานข้ามชาติ อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต

รู้หรือไม่ มีเด็กประมาณ 60,000 คน ที่พักอาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้างในประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากครอบครัวแรงงานข้ามชาติ อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งยังเผชิญอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านการศึกษา สุขภาพ และการเข้าถึงวัคซีนที่จำเป็น ..เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะทุก 1 บาทที่ลงทุนกับเด็กและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้าง จะเกิดผลตอบแทนตามมูลค่าทางสังคมสูงถึง 7 บาท ประโยชน์ที่ได้เป็นผลมาจากการที่เด็กๆ ได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมากขึ้น มีการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาและสุขภาพที่มากขึ้น

เมื่อเร็วๆ นี้ ด้วยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก และยูนิเซฟ ได้ร่วมเปิดตัวเครื่องมือ “กรอบปฏิบัติการเชียงใหม่” หรือ (Chiang Mai Framework for Action-CMFA) ซึ่งเป็นชุดการดําเนินการแนะนําสําหรับบริษัทต่างๆ ที่จะช่วยปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของเด็กและครอบครัวให้เข้าถึงบริการสาธารณะ โดยมีประเด็นสําคัญ 12 ประเด็น แบ่งเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิการและบริการ สุขภาพ และการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยชุดเครื่องมือที่ให้คำแนะนำแก่บริษัทก่อสร้างและผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์, แบบสำรวจคุณภาพชีวิต และขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อสร้าง

ชุดเครื่องมือดังกล่าวได้รับการพัฒนา ทดลองใช้ และได้รับการปรึกษาจากผู้นำในธุรกิจก่อสร้าง แรงงานก่อสร้างและครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของเด็กและครอบครัวในแคมป์คนงานก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ โดยเน้นให้พวกเขาได้เข้าถึงการบริการทางสุขภาพและศึกษา ชุดเครื่องมือนี้ง่ายต่อการใช้งาน และจะช่วยให้ผู้จัดการแคมป์สามารถระบุถึงความต้องการของผู้พักอาศัย ตลอดจนวางแผนการดำเนินการ และติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในแคมป์คนงานก่อสร้าง

นายนิโคลา ครอสตา ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก กล่าวว่า “การนำกรอบปฏิบัติการเชียงใหม่ไปใช้ในการจัดการดูแลแคมป์ สามารถสร้างผลลัพธ์ที่สำคัญต่อคนงานก่อสร้างและครอบครัวของพวกเขาได้ ชุดเครื่องมือนี้จะมีตัวชี้วัด และคำแนะนำด้านต่างๆ ในการจัดการแคมป์คนงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นในด้านระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิการและบริการ สุขภาพ และการศึกษา เราได้คำนวณว่าทุก 1 บาทที่ลงทุนกับเด็กและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้าง จะเกิดผลตอบแทนตามมูลค่าทางสังคมสูงถึง 7 บาท ประโยชน์ที่ได้เป็นผลมาจากการที่เด็กๆ ได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมากขึ้น มีการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาและสุขภาพที่มากขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ของบริษัทก่อสร้าง และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย” 

กรอบปฏิบัติการเชียงใหม่ได้รับการพัฒนามาจากรายงาน “สร้างสรรค์อนาคตประเทศไทย” ในปี 2561 ที่เผยแพร่โดยมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็กและยูนิเซฟ ซึ่งระบุว่า เด็กหลายหมื่นคนซึ่งส่วนใหญ่มาจากครอบครัวแรงงานข้ามชาติ อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งยังเผชิญอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านการศึกษา สุขภาพ และการเข้าถึงวัคซีนที่จำเป็น รายงานดังกล่าวได้จุดประกายความสนใจและความร่วมมือจากบริษัทก่อสร้างหลายแห่งในการพัฒนาชุดเครื่องมือกับมูลนิธิบ้านเด็กฯ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้น

นางคยองซัน คิม ผู้อำนวยการ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ชุดเครื่องมือนี้เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง “การใช้คู่มือนี้นอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัว ปรับปรุงความปลอดภัยและการส่งเสริมความเป็นอยู่ในแคมป์คนงานก่อสร้างแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับบริษัท ลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน สร้างชื่อเสียงให้แก่บริษัท อีกทั้งยังช่วยยกระดับความยั่งยืนของบริษัท ทั้งหมดนี้เป็นโอกาสให้บริษัทก่อสร้างได้สร้างผลลัพธ์ทางสังคมและยังสอดคล้องกับความต้องการทั่วโลกในการให้ภาคธุรกิจเป็นผู้นำในการปกป้องสิทธิมนุษยชน”

ฯพณฯ นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การจัดการเรื่องคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวแรงงานก่อสร้างจำเป็นต้องอาศัยทุกภาคส่วนของสังคม และกรอบปฏิบัติการเชียงใหม่ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และหน่วยงานระหว่างประเทศ เราหวังว่ากรอบปฏิบัติการเชียงใหม่ จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติและครอบครัว โดยเฉพาะในมิติของการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการศึกษาสำหรับเด็กข้ามชาติ ทางสหภาพยุโรปมีความภูมิใจที่ได้สนับสนุนเงินทุนสำหรับโครงการนี้ เพราะเราไม่ต้องการให้ใครก็ตามถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

กลุ่มเป้าหมายหลักของชุดเครื่องมือกรอบปฏิบัติการเชียงใหม่เป็นบริษัทในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่กำลังมองหาวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานในแคมป์ก่อสร้างที่มีประสิทธิผลและปฏิบัติได้ รายละเอียดประกอบด้วย แบบสำรวจคุณภาพชีวิต แนวทางการเสริมสร้างผลลัพธ์ที่ดีทางสังคม และคู่มือแนะนำการปฏิบัติสำหรับผู้จัดการแคมป์และผู้พักอาศัยภายในแคมป์ เพื่อวางแผนและดำเนินการจัดการภายในแคมป์ ณ ตอนนี้เปิดให้ผู้สนใจศึกษาและนำไปใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ www.buildingsocialimpact.org เครื่องมือเหล่านี้ได้รับการพัฒนาผ่านการให้คําปรึกษาของภาคการก่อสร้าง คนงานและครอบครัว รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักอื่นๆ และได้มีการทดสอบใช้งานจริงในแคมป์ โดยบริษัท ซินเท็คคอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างตัวอย่างที่นําชุดเครื่องมือไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวที่พักอาศัยบริเวณแคมป์ก่อสร้าง

วิดีโอที่เกี่ยวข้องสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่

https://bit.ly/3AiRG5f คุณพร้อมไหมที่จะเรียนรู้ว่าคุณสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กที่เติบโตมาในแคมป์ก่อสร้างให้ดีขึ้นได้อย่างไร? สามารถรับชมวิดีโอแนะนําและสอนใช้เครื่องมือต่างๆ ได้ที่ www.buildingsocialimpact.org

www.bit.ly/3zLtEzr รู้หรือไม่ มีเด็กประมาณ 60,000 คน ที่พักอาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้างในประเทศไทย? มูลนิธิบ้านเด็กฯ ได้ทํางานร่วมกับภาคการก่อสร้างในประเทศไทย เพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เด็กและครอบครัวที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณแคมป์ก่อสร้างให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.buildingsocialimpact.org.

www.bit.ly/3qZSXde เครื่องมือแบบสํารวจคุณภาพชีวิตในแคมป์ เป็นเช็กลิสต์ที่มีประสิทธิภาพและทําให้มั่นใจได้ว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายและมีแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับครอบครัวที่พักอาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้าง เครื่องมือนี้เป็นรายการตรวจสอบที่ครอบคลุมซึ่งจัดทําแผนปฏิบัติ การเพื่อช่วยปรับปรุงและพัฒนาสภาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเด็กและครอบครัวที่อาศัยอยู่ในแคมป์ก่อสร้างทั่วประเทศ เนื่องจากมีการรวบรวมระบบการจัดการแคมป์และระบบรายงาน รวมถึงยัง สามารถเพิ่มมูลค่าของบริษัทให้กับนักพัฒนาและลูกค้าได้อีกด้วย สามารถดูข้อมูลของเครื่องมือแบบสํารวจคุณภาพชีวิตในแคมป์และเครื่องมือเสริมสร้างผลลัพธ์ที่ดีทางสังคมอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ www.buildingsocialimpact.org