กว่าต้นไม้จะเติบโตต้องใช้เวลานาน แค่วันสองวันเมล็ดพันธุ์ที่หล่นลงดินคงเป็นได้เพียงแค่ต้นกล้าเล็กๆ เท่านั้น และก็คงไม่ใช่แค่การรดน้ำเพียงอย่างเดียว ต้องมีนก แมลง ไส้เดือนไว้ช่วยทำหน้าที่ต่างๆ เพื่อให้ต้นไม้เติบใหญ่ นั่นคือ “ระบบนิเวศ”(Ecosystem) การแก้ปัญหาสังคมก็เช่นกันจำเป็นต้องใช้พลังจากคนในสังคมร่วมมือกันจึงจะเกิดระบบนิเวศที่ดี

ท่ามกลางสังคมที่มองไปทางไหนก็เจอแต่ปัญหา หลายคนคิดว่าปัญหาสังคมเป็นเรื่องใหญ่เกินกำลังคนเล็กๆ วันนี้เราจึงอาสาพาไปดูโครงการเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมขององค์กรพัฒนาสังคมต่างๆ และมูลนิธิเพื่อคนไทย ภายใต้กลไกที่หลากหลายซึ่งอาจเป็น “ต้นแบบ”การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

เริ่มกันที่ โครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ” (Thailand Collaboration for Change) เป็นกระบวนการทำงานของมูลนิธิเพื่อคนไทยในการร้อยพลังความร่วมมือองค์กรที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมในประเด็นต่างๆ ด้วยการทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อทรัพยากร ได้แก่ คน (อาสาสมัคร) ความรู้ เครือข่าย หรือทุนประเภทต่างๆ ไปสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบและเกิดผลลัพธ์ทางสังคม มีภาคีร่วมก่อตั้งประกอบด้วยสถาบันเช้นจ์ ฟิวชัน ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทีวายพีเอ็น (TYPN : Thai Young Philanthropists Network) และมูลนิธิเพื่อคนไทย

%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a8
ในปี 2561 เกิดการเชื่อมต่อภาคีต่างๆ 264 องค์กร ผู้รับประโยชน์ 15,568 คน/องค์กร ผู้บริจาค 2,827 คน/องค์กร อาสาสมัคร 362 คน ผู้ร่วมกิจกรรม 5,074 คน

ร้อยพลังเปลี่ยนประเทศมี “GSE : Good Society Expo ทำดีหวังผล เป็นเครื่องมือขยายผลการขับเคลื่อนงานร่วมกับภาคีเพื่อสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนและร่วมกันขยายผลความสำเร็จการแก้ปัญหาสังคมผ่านกลไกความร่วมมือประเภทต่างๆ

หลักการทำงานของ GSE ยังคงเน้นการทำงานร่วมกับองค์กรตัวกลางเชิงประเด็น ที่เป็นปัญหาใหญ่ๆในสังคมไทย  5 ประเด็นหลัก ได้แก่ การศึกษา มีโครงการร้อยพลังการศึกษา  เป็นองค์กรตัวกลาง ประเด็นสุขภาพ – สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ประเด็นต่อต้านคอร์รัปชัน-องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)  ประเด็นผู้สูงอายุและผู้พิการ– บริษัท กล่องดินสอ จำกัด และมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม  ส่วนสิ่งแวดล้อม โดยมูลนิธิเอ็นไลฟ รวมถึงองค์กรผู้พัฒนากลไกการให้ ประกอบด้วย ปันกัน เครือข่ายจิตอาสา ฟู้ดฟอร์กู๊ด โซเซียลกีฟเวอร์ เทใจดอทคอม

GSEปีที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการขยายผลความร่วมมือมากขึ้นโดยมีองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงาน 151 องค์กร ผู้เข้าร่วมงานกว่า 5,000 คน มีนักธุรกิจและผู้สนใจทั่วไปมาร่วมกิจกรรมทัวร์ภาคสนาม 95 คน จาก16 องค์กร และเยาวชนสนใจมาร่วมกิจกรรมทัวร์ภาคสนาม 112 คน มีอาสาสมัครช่วยงาน GSE  122 คน มีสื่อมวลชนร่วมนำเสนอข่าวสาร 45 ช่องทาง และสื่อผู้สนับสนุนหลักอีก 7 องค์กร

รวมจำนวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นในงานนี้ตามความสนใจของผู้เข้าร่วม รวมทั้งสิ้นกว่า 15,000 ครั้ง

นอกจาก GSE แล้ว ร้อยพลังเปลี่ยนประเทศยังร่วมขับเคลื่อนงานกับองค์กรตัวกลางยายผลลัพธ์ทางสังคมใน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย การศึกษาและพัฒนาเยาวชน ต่อต้านคอร์รัปชัน คนพิการและผู้สูงอายุ มีผลผลิตและผลลัพธ์ ดังนี้  รวมทั้งเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับองค์กรอาสาสมัคร องค์กรภาคธุรกิจ องค์กรระหว่างประเทศร่วมกับเครือข่ายจิตอาสา

          การศึกษาและพัฒนาเยาวชน  โครงการ ร้อยพลังการศึกษา” (Thailand Collaboration for Education : TCFE) ร่วมลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาการศึกษาไทยใน 3 ด้าน 1. การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาผ่าน “ทุนยุวพัฒน์” 2. การเพิ่มโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพด้วย “ห้องเรียนดิจิทัลวิชาวิทย์-คณิต” โดยบริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด และห้องเรียนดิจิทัลวิชาภาษาอังกฤษ “วินเนอร์ อิงลิช โดยบริษัท เอ็ดูเทค อินโนเวชั่น จำกัด รวมถึง “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” โดยโครงการ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ 3. การเพิ่มโอกาสเส้นทางอาชีพด้วย “หลักสูตรแนะแนว” โดยบริษัท อาชีฟ โซเชียล เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และสร้างแนวคิดจิตอาสาด้วยโครงการ “วัยรุ่นอุ่นใจ” โดยเครือข่ายจิตอาสา

ตั้งแต่ริเริ่มโครงการร้อยพลังการศึกษาเมื่อปี 2559 ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแล้ว 82 โรงเรียน ใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ มีนักเรียนได้รับประโยชน์ 15,000 คน  นอกจากนี้ยังขับเคลื่อนร่วมกับภาคีต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ เช่น การพัฒนาเด็กปฐมวัย ร่วมกับมูลนิธิเด็กน้อยพัฒนา

งานต่อต้านคอร์รัปชันร่วมกับกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และองค์กรระหว่างประเทศ ได้จัดงานเสวนา การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะในความครอบครองของรัฐ เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชัน” (Roundtable Discussion : The Role of Open Data for Anti-Corruption in Thailand) เกิดแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

มาต่อกันที่ “พลังความร่วมมือ” ที่เรียกว่า “การลงทุนทางสังคม”หรือ“ Social Investment” ที่วันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของ“จำนวนเม็ดเงิน”เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่อง “การสร้างผลกระทบทางสังคม” (Social Impact) ซึ่งถือเป็นเทรนด์ระดับโลกวัดผลได้จริง

 “เทใจดอทคอม หรือ www.taejai.com  กลไกการระดมทุนออนไลน์ที่เชื่อมโยงติดตามเว็บไซต์เทใจในฐานะ “ผู้ให้”กับ “ผู้รับ” หรือผู้พัฒนาโครงการแก้ปัญหาสังคมที่มั่นใจได้ว่าสามารถสร้างผลลัพธ์ทางสังคมตามเกณฑ์ของเทใจแต่ยังขาดเงินทุนให้ได้มีโอกาสประสานความร่วมมือทำสิ่งดีๆ ร่วมกันผ่านเว็บไซต์เทใจ โดยมีภาคีร่วมก่อตั้ง ประกอบด้วยสถาบันเช้นจ์ ฟิวชัน ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทีวายพีเอ็น (TYPN : Thai Young Philanthropists Network) บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด และมูลนิธิเพื่อคนไทย

%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%83%e0%b8%88แม้ในปี 2561 จะเผชิญกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมออนไลน์แต่เทใจดอทคอมสามารถระดมทุนได้สูงขึ้นเกือบ 2 เท่าจากปีก่อนหน้านี้ เป็นเงินจำนวน 26.1 ล้านบาทให้แก่โครงการเพื่อสังคมจำนวน 73 โครงการ มีประชาชน เด็กและเยาวชน รวมผู้รับประโยชน์ผ่านกลไกใจดอทคอมจำนวน 35,483 คน/ตัว ประกอบด้วย เด็ก 14,136 คน คนพิการหรือผู้ป่วย 646 ราย ประชาชนทั่วไป 1,052 คน ผู้พิทักษ์ป่า 16,319 คน และสัตว์ 3,330 ตัว

กองทุนรวมคนไทยใจดีหรือ BKIND  น่าจะเป็นชื่อแรกๆ เสมอ เมื่อเรานึกถึงกองทุน ESGC กองแรกของประเทศไทยที่แสดงจุดยืนว่า เป็นการลงทุนที่ให้คุณทำดีตั้งแต่บาทแรกของเงินลงทุนเป้าหมายเสริมพลังผู้ถือหน่วยให้มีส่วนแก้ปัญหาสังคมจากนโยบายแบ่งเงินของกองทุนผ่านค่าบริหารจัดการจำนวนหนึ่งไปสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอร์รัปชัน แต่จะเน้นโครงการเดิมที่สามารถขยายผลได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน โดยมีองค์กรผู้ร่วมก่อตั้งได้แก่ บลจ.บัวหลวง สถาบันเช้นจ์ ฟิวชัน ฯ  มูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์สังคม (ประเทศไทย)   โครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ มูลนิธิเพื่อคนไทยและภาคีเครือข่าย

%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b8%94%e0%b8%b5ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปี 2561 สามารถระดมทุนได้ประมาณ 37 ล้านบาท และให้การสนับสนุน 44 โครงการครอบคลุมประเด็นการเกษตร การศึกษา ต่อต้านคอร์รัปชัน เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและสวัสดิภาพส่วนบุคคล สิ่งแวดล้อม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ เข้าถึงผู้รับประโยชน์ประมาณ 35,286 คน

เฉพาะในปี 2561 กองทุนฯ ให้การสนับสนุน 4 โครงการเพื่อสังคมประกอบด้วย โครงการพัฒนาศักยภาพและรูปแบบโหนดการจ้างงานคนพิการในระดับพื้นที่ โครงการพัฒนาหลักสูตรและระบบการแนะแนวอาชีพสำหรับนักเรียนที่ต้องการค้นพบตนเอง โครงการพัฒนาแผนการจัดการโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา โครงการความมั่นคงทางอาหารเพื่อเด็กน้อยบนดอยสูง มีผู้ได้รับประโยชน์ รวม 2,238 คน ประกอบด้วยประชาชน 550 คน เด็กปฐมวัยและเยาวชน 310 คน ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 839 คน นักศึกษาแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ 539 คน

กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย” (THAI CG Funds) ด้วยคำขวัญที่ว่า “กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย สร้างสรรค์สังคมไทย ใส่ใจผู้ลงทุน”กลไกสร้างการมีส่วนร่วมในด้านเสริมสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการลงทุนซึ่งเป็นความร่วมมือของภาคตลาดทุน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และประชาชนผู้ถือหน่วย โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 11 บลจ. ที่ต้องการเห็นสังคมไทยดีขึ้นในระยะยาวซึ่งมีมูลค่ากองทุนภายใต้การบริหารกว่าร้อยละ 90 ของตลาดทุนรวมได้ร่วมจัดตั้งกองทุนรวมหุ้น 12 กองทุน และแบ่งรายได้จากค่าบริหารกองทุนร้อยละ 40 ไปสนับสนุนโครงการที่มีเป้าหมายเดียวกัน

0009ภาคีร่วมก่อตั้งประกอบด้วย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน บลจ.บัวหลวง     บลจ.บางกอกแคปปิตอล บลจ.กสิกรไทย บลจ.กรุงศรี บลจ.กรุงไทย บลจ.เอ็มเอฟซี บลจ.ไทยพานิชย์ บลจ.ทิสโก้ บลจ.ทหารไทย บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) บลจ.ทาลิส สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) สถาบันเช้นจ์ ฟิวชัน ฯ  มูลนิธิยุวพัฒน์  และมูลนิธิเพื่อคนไทย

ปีที่ผ่านมา กองทุนฯได้บริจาคเงินเพื่อให้คณะกรรมการบริหารจัดการนำไปจัดสรรสนับสนุนโครงการที่มีเป้าหมายต่อต้านคอร์รัปชันเป็นเงินทั้งสิ้น 23,290,574.42 บาท โดยได้สนับสนุนแล้ว 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงการ CAC for SMEs โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เป็นเงิน 1,761,000 บาท เป็นโครงการรับรองมาตรฐานธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจ (SME) มีนโยบายระบบควบคุมภายในและข้อปฏิบัติที่ดีเพื่อช่วยป้องกันการให้สินบน โดยมีเอสเอ็มอีประกาศเจตนารมณ์ 35 บริษัท และผ่านการรับรองแล้ว 10 บริษัท  และโครงการพัฒนาเกมเพื่อการเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชันในห้องเรียน (เกม The Corrupt) โดยบริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด เป็นเงิน 4,500,000 บาท เป็นโครงการที่เป็นการขยายผลเกม The Corrupt ให้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ครูสามารถนำเงินไปใช้ในโรงเรียนซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนากระบวนการนำเข้าสู่โรงเรียน

รวมสนับสนุนเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 6,261,000 บาท

อีกหนึ่งกองทุนหนึ่งที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อคือ กองทุนสื่อเพื่อความยุติธรรมในสังคม (Media For Social Justice Fund (MSJ) ริเริ่มก่อตั้งเมื่อปลายปี 2561 เป็นกลไกลยกระดับมาตรฐานจริยธรรมสื่อ ผ่านการตกลงใช้มาตรฐานร่วมกัน ได้แก่ หลักความจริงและความถูกต้อง (Truth & Accuracy) ความเป็นอิสระ ไม่มีผลประโยชน์ขัดกัน (Independence & No Conflict of Interest)  ความเป็นธรรมและความตรงไปตรงมา (Fair & Impartiality) มนุษยธรรม (Humanity) ภาระรับผิดชอบ (Accountability) มีภาคีร่วมก่อตั้งประกอบด้วย บริษัท เช้นจ์ เวนเจอร์ จำกัดและ มูลนิธิเพื่อคนไทย

0010เป้าหมายกองทุนฯ เพื่อยกระดับมาตรฐานและศักยภาพของสื่อมวลชนที่มุ่งเน้นข่าวสืบสวน แสวงหาความจริง สร้างผลเชิงบวกต่อสังคมได้จริง  เปิดโอกาสให้เกิดนักข่าวรุ่นใหม่ และสื่อใหม่ๆ  พัฒนาความสามารถในการขยายผลจากข่าวให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้จริงเป็นวงกว้างต่อยอดไปสู่ขบวนการทาง สังคม (Social Movement) พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืนขององค์กร

ที่ผ่านมากองทุนฯ ได้สนับสนุนเงินให้แก่ โครงการ ต้องแฉ” (เพจต้องแฉ) จำนวน 2,158,000 บาท เมื่อปลายปี 2561 ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่อต้านคอร์รัปชันเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลและส่อเค้าในทางทุจริตคอร์รัปชันของสังคมและชุมชนรอบตัว โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักข่าวอิศราและบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

การลุกขึ้นมาของคนตัวเล็กถ้ามองอย่างผิวเผินอาจดูเหมือนมีพลังไม่มาก  แต่เรายังเชื่อว่าทุกการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญของ พลังร่วม ที่ยิ่งใหญ่ ที่สำคัญคือได้ช่วยหนุนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น เรายังหวังว่าทุกคนจะร่วมสร้างสังคมไทยยั่งยืนไปด้วยกันเพราะไม่มีพลังใดยิ่งใหญ่เท่า พลังความร่วมมือของประชาชน

หาก “คุณ” ต้องการร่วมสร้างสังคมไทยด้วยสามารถลงมือทำกับกลไกต่างๆ ดังนี้

สามารถอ่านรายงานประจำปี 2561 ฉบับเต็ม มูลนิธิเพื่อคนไทยได้ที่นี่ http://khonthaifoundation.org/th/resources/