“เมื่อก่อนสังคมไม่เข้าใจผู้พิการทางสายตาที่ให้บริการนวดแผนโบราณ บางคนไม่มั่นใจว่าจะนวดได้ไหม จะจับเส้นถูกไหมเพราะมองไม่เห็น แต่ตอนนี้สังคมเข้าใจมากขึ้น ทำให้เรายืนหยัดในสังคมได้ คนที่มานวดก็ชอบ เพราะเราทำให้เขาหายปวดเมื่อย”

%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%81%e0%b8%9a-%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%93%e0%b9%8c-%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b4คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่ “คุณกบ-เสาวลักษณ์ ส่งเจริญ” ผู้พิการทางสายตา สะท้อนให้เห็นว่าแม้ดวงตาจะมองไม่เห็นแต่เธอก็สามารถใช้สองมือนวดผ่อนคลายความเมื่อยล้าให้กับลูกค้ารู้สึกสบายซึ่งทำให้คุณกบมีความสุข

คุณกบเล่าให้ฟังว่า เธอพิการทางสายตาตั้งแต่อายุ 12 ปี ได้เข้าเรียนในศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และต่อยอดความรู้กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในหลักสูตรนวดแผนไทย ความพยายามกว่า 500 ชั่วโมงที่เธอฝึกเรียนทำให้เธอได้รับใบประกอบโรคศิลป์สาขาการแพทย์แผนไทย ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นใบประกอบวิชาชีพ จนเธอสามารถเปิดร้านเป็นของตัวเองแต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจทำให้ต้องเลิกกิจการไป

ชีวิตของคุณกบกลับมามีคุณค่าอีกครั้งหลังได้รับโอกาสจากมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมสนับสนุนให้มีงานทำในบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ตามมาตรา 35 แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทำหน้าที่นวดแผนไทยให้พนักงานในบริษัท มีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวเดือนละ 9,125 บาท

“รู้สึกดีใจที่ได้รับโอกาสให้มีงานทำ มีเงินเดือนใช้จ่ายเพื่อตัวเองและครอบครัว ไม่เป็นภาระใคร” คุณกบกล่าวและว่า ในปี 2562 เข้าสู่ปีที่ 4 ที่เธอยังคงทำงานที่บริษัทนี้ ปัจจุบันมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 9,368 บาท พร้อมกับบทบาทใหม่ในการเป็นนายกสมาคมและผู้ประสานงานสมาคมรวมใจมุ่งพัฒนาอาชีพเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา มีสมาชิกซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตาที่ได้รับการจ้างงานในมาตรา 35 ทั้งหมด 176 คน

%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b9%88“ตอนนี้เป็นผู้ประสานงานในสมาคมเพื่อจัดสมาชิกไปนวดให้กับบริษัทต่างๆ เราต้องการให้บริษัทหรือสถานประกอบการมีความมั่นใจว่ากลุ่ม ฯ ของเรามีสังกัดที่น่าเชื่อถือและมีศักยภาพในการทำงานซึ่งรู้สึกภูมิใจมากที่สังคมยอมรับอาชีพของผู้พิการทางสายตามากขึ้น” คุณกบทิ้งท้าย

ประเทศไทยมี “พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” ระบุให้นายจ้างที่มีลูกจ้างมากกว่า 100 คน ต้องจ้างคนพิการในอัตราส่วน 100:1 ตามมาตรา 33 แต่ด้วยข้อจำกัดหลายประการ ทำให้บริษัทไม่สามารถจ้างคนพิการเข้ามาทำงานที่บริษัทได้ ทางออกสุดท้ายคือการเลือกส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ซึ่งทุกปีบริษัทจะส่งเงินเข้ากองทุนดังกล่าวกว่า 2,000 ล้านบาท ทำให้คนพิการกว่า 20,000 คน พลาดโอกาสการมีอาชีพ

ในแต่ละปีบริษัทเอกชนจะส่งเงินเข้ากองทุนฯ ซึ่งบริหารจัดการโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กว่า 2,000 ล้านบาท จนมีเงินสะสมในกองทุนฯ กว่า 10,000 ล้านบาท และทั้งๆ ที่วัตถุประสงค์ของกองทุนฯนี้เพื่อเป็นกองทุนสําหรับการใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครองและพัฒนาสมรรถภาพคนพิการ การศึกษาและการประกอบอาชีพของคนพิการ รวมทั้งการส่งเสริมและการสนับสนุนการดําเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ โดยจัดสรรให้อย่างเป็นธรรมและทั่วถึงก็จริง แต่ในทางปฏิบัติยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยหลายๆ เหตุผล และหากนำเงินก้อนนี้ไปใช้ตามมาตรา 33 หรือ 35 จะถึงมือคนพิการโดยตรงปีละกว่า 20,000 คน

คุณอภิชาติ การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ให้ข้อมูลว่าประเทศไทยมีคนพิการราว 1,900,000 คน ขึ้นทะเบียนคนพิการแล้วกว่า 1,756,846 คน ซึ่งมีคนพิการที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนราว 200,000 คน ในจำนวนคนพิการทั้งหมดเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพียงร้อยละ 1 หรือประมาณ 20,000 คน และเป็นคนพิการที่มีการศึกษาระดับประถมหรือต่ำกว่าร้อยละ 90

%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%ad%e0%b8%a0%e0%b8%b4%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%81%e0%b8%b8%e0%b8%a5“คนพิการไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา จึงไม่แปลกที่บริษัทจะไม่สามารถจ้างเข้าทำงานได้ตามความต้องการ แต่คนพิการก็ต้องกินต้องใช้ เมื่อไม่มีงานทำก็ต้องพึ่งพาครอบครัว ยิ่งถ้ามีฐานะยากจนแล้วยิ่งลำบากมาก ดังนั้นเรื่องการให้ความช่วยเหลือให้เกิดการจ้างงานคนพิการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นโจทย์ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรช่วยกันขับเคลื่อน” คุณอภิชาติกล่าว

กว่า 5 ปี ที่มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมเเละภาคีเครือข่ายคนพิการกว่า 10 หน่วยงาน ได้ร่วมกันพัฒนาการจ้างงานสร้างอาชีพก็คือการจ้างงานคนพิการด้วยมาตรา 33 หรือ 35  โดยให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้า จ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน ช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ซึ่งในปี 2562 มีคนพิการกว่า 2,530 คน ได้รับการสนับสนุนจาก 372 บริษัท ทำให้คุณภาพของคนพิการดีขึ้นและยังตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัททำให้เกิดรายได้สู่คนพิการโดยตรงกว่า 284,422,600 บาท

การจ้างงานหรือสร้างอาชีพให้คนพิการมีงานทำนั้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการจ้างงานผู้พิการสำหรับองค์กรต่างๆ ที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมช่วยลดความเหลื่อมล้ำผู้พิการและเป็นผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งไม่ได้เป็นแค่การจ่ายเงินช่วยเหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ยังเป็นการคืนสถานภาพทางสังคมทำให้พวกเขากลับมามีตัวตนทั้งในครอบครัวและสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งประเทศไทยยังมีคนพิการที่ไม่มีงานทำและรอโอกาสเช่นนี้อีกกว่า 526,602 คน

คุณสามารถร่วมเปิดประตูแห่งโอกาสสำหรับผู้พิการได้ ติดตามข้อมูลได้จากมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม www.sif.or.th  และ www.facebook.com/socialinnovationfoundation   หรือเฟซบุ๊ค คนพิการต้องมีงานทำ www.facebook.com/konpikanthai/