เราทุกคนเติบโตขึ้นและก้าวต่อไปได้ก็ด้วยครอบครัว

มาให้ความสำคัญสร้างสุขภาพ ผ่าน 5 ช่วงวัย กับ “Big Family Day”

ที่จะเปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่ ในบ้านหลังเดิม ที่เข้าใจกันและกันได้มากขึ้น

sorsorsor

 

ครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกอยู่กันหลายคน (Big family) หลากหลายช่วงวัย แน่นอนว่าย่อมต้องมีทั้งความอบอุ่นสนุกสนานและความวุ่นวายปนเปกันไป  แต่คุณรู้หรือไม่ว่าแต่ละช่วงวัยในครอบครัวของคุณก็มีปัญหาแตกต่างกันไป

“ลูกที่อยู่ในวัยเด็ก จะทำอย่างไรให้มีพัฒนาการที่ดี”

“ลูกที่เป็นวัยรุ่นก็เกิดอยากจะมีพื้นที่ส่วนตัว”

“พี่สาวคนโต ซึ่งเป็นวัยทำงาน ก็ทั้งเหนื่อยและเครียด”

“คุณแม่มือใหม่ก็ไม่รู้จะเริ่มคุยกับลูกเรื่องเพศยังไงดี”

“แล้วถ้าคนในครัวเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าล่ะจะทำยังไง”

“คุณตา คุณยาย ซึ่งเป็นผู้สูงอายุจะดูแลท่านยังไง”

ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ  ว่าจะไม่เกิดขึ้นกับคนในครอบครัว หากปล่อยปละละเลยก็อาจจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพตามมา

เพื่อเปิดมุมมองความเข้าใจในตัวเองและคนในครอบครัวมากยิ่งขึ้น

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการมหิดลโมเดล มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิครอบครัว โรงเรียนฉลาดเล่น EF เด็กไทยไม่กินหวาน มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง ปิดเทอมสร้างสรรค์ เครือข่ายองค์กรงดเหล้า Happy 8 คนไทยไร้พุง มูลนิธิหมอชาวบ้าน forOldy Universal Design Center (UDC) ร่วมกันนำเสนอแผนรณรงค์ให้คนไทยหันมาดูแลสุขภาพทั้ง 5 ช่วงวัย (เด็ก วัยรุ่น คุณแม่ วัยทำงาน ผู้สูงอายุ) เพราะทุกช่วงวัยต่างมีความเสี่ยงที่จะพบเจอปัญหาทางด้านต่าง ๆ ด้วยกันทั้งนั้น ในงาน “Good Society Expo 2018 ทำดีหวังผล เริ่มต้นที่ตัวเรา”

“ครอบครัวที่มีสมาชิกในช่วงวัยต่างๆ มักจะเจอปัญหาที่แตกต่างกัน สำคัญคือทำอย่างไรให้สามารถอยู่ร่วมกันและเข้าใจกันได้ ในปีนี้ สสส.เเละภาคีเครือข่ายคิดว่าแต่ละครอบครัวก็มีคนหลากช่วงวัย ไม่ว่าจะ พ่อแม่ ลูก คุณตา คุณยาย ซึ่งก็มีจะปัญหาของแต่ละวัยแตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงเป็นที่มาของเเนวคิดที่ว่าทุกช่วงวัยต้องอยู่ร่วมกันได้ด้วยการสร้างสุขภาพที่ ดี  ในโซนสุขภาพเรามีกิจกรรมบิ้กเเฟมิลี่ 5 ช่วงวัย เช่น คุณเเม่มือใหม่จะเลี้ยงลูกอย่างไร  วัยเรียนที่มัก มีปัญหาติดหน้าจอ หรือพัฒนาการของลูก วัยรุ่นที่เสี่ยงเรื่องเพศ ผู้สูงอายุ รวมทั้งโรคซึมเศร้า”  ดร.ณัฐพันธ์ ศุภกา  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส. กล่าว

 สำหรับกิจกรรมเด่นของพาวิลเลียนสุขภาพ ตั้งอยู่ที่โซนบีคอน ประกอบด้วย

  • โซนแม่และเด็ก และโซนเด็ก เรียนรู้เทคนิคเล็กๆ ในการสร้างลูก รวมทั้งไอเดียกิจกรรมเพื่อลูกกับโรงเรียนฉลาดเล่น
  • โซนวัยรุ่น ร่วมหาคำตอบเรื่องเพศว่าเป็นเรื่องเดียวกับเรื่องเซ็กส์ใช่หรือไม่ พร้อมเปิดหน้าต่างกิจกรรม
  • โซนวัยทำงาน เรียนวิธีทำให้ตับได้พักในช่วงเข้าพรรษานี้ และรู้วิธีบริหารร่างกายสำหรับชาวออฟฟิศซินโดรม
  • โซนผู้สูงวัย รู้ทันสุขภาพ กับกิจกรรมโยคะวัยเก๋า พร้อมไอเดียจัดบ้านง่าย ๆ ห่างไกลอัลไซเมอร์
  • กิจกรรม “รู้ทันเค็มกับอาหารมื้อพิษ (เศษ)” คุยกับ นกสินจัย เปล่งพานิช กับบทบาท ผู้หญิงที่ใช้เวลา 30 ปี ฆ่าสามีถึง 3 คน พร้อม คุณพชร พิทักษ์จำนงค์ ผู้กำกับภาพยนต์โฆษณาชุดมื้อพิเศษ และ นท.พญ.วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี เลขาธิการเครือข่ายลดบริโภคเค็ม คุณหมอผู้เชี่ยวชาญลดเค็มลดโรค
  • กิจกรรม SOOK by สสส. “ห้องเรียนพ่อแม่สัญจร”
  • กิจกรรม “เรียนรู้เทคนิคออกกำลังอย่างง่ายรักษาเข่า กับ 6 ท่าบริหารเข่าเสื่อม” โดยเครือข่ายคนไทยไร้พุง
  • กิจกรรม “เรียนรู้การกินที่รักษาตัวเรา” การเสวนากินตามธาตุ กับ คุณแววตา เอกชาวนา นักโภชนาการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • กิจกรรม “เข้าครัวทำฟรุ๊ตตี้พายแสนสนุกเพื่อสุขภาพ” ทำเมนูเบเกอรี่กับ เชฟเอก อาจารย์ที่สวนดุสิต และอดีตบรรณาธิการนิตยสาร Health & Cuisine”
  • กิจกรรม “โยคะนั่งเก้าอี้ที่ผู้สูงวัยสามารถทำได้ที่บ้าน” กับโยคะวัยเก๋า
  • กิจกรรม “วาดสีน้ำเพลินใจ” วาดรูปสีน้ำกับ คุณพีรดา ชีพสัตยากร ศิลปินไทยในนิวยอร์ค
  • กิจกรรม  ชวนคุณแม่มาเรียนรู้สิ่งเล็กๆ สร้างลูก และแอพพลิเคชันพัฒนาการเด็กจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
  • การแสดงไขมันกระจายลดพุง โดย กลุ่มผู้สูงวัย ForOldy
  • Sook by สสส. Talk “เทคนิคเลี้ยงลูกยุค 0 ไม่ยากแค่เข้าใจ เวทีสนทนาหัวข้อ “เปิดมุมมองการเลี้ยงลูกแบบหมอ” โดย คุณหมอโอ๋ -พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร จากเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน มาร่วมหาคำตอบให้ตัวเองกับการเลี้ยงลูก “ยุคนี้” ต้องแบบไหน พร้อมฟังแนวคิดมุมมองการเลี้ยงลูกแบบครู มุมมองการพัฒนาเด็กแบบครู กับ ครูวิไลย ตันชนะประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสานฝัน กับแนวคิดเรื่องการแข่งขันด้านการศึกษาของหนูๆ พ่อแม่ควรปรับตัวอย่างไร”
  • กิจกรรม “ออกกำลังใจ ให้เครียดคลาย” ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทักษะการบริหารความเครียดได้อย่างไร โดย ผศ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ผู้เชี่ยวชาญกิจกรรมบำบัดจิตสังคม คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เสวนาน่าฟัง กับมูลนิธิหมอชาวบ้าน

“Good Society Expo 2018 ทำดีหวังผล เริ่มต้นที่ตัวเรา” คือ พื้นที่ความร่วมมือของภาคประชาชน ทั้งองค์กรภาคสังคม องค์กรธุรกิจ ภาครัฐ ร่วมกันจัดงานนี้เพื่อเชิญชวนผู้คนมาทำดีกับองค์กรเพื่อสังคมตัวจริงในประเด็นต่างๆ เป้าหมายเพื่อให้ช่องทางการลงมือทำแก่ผู้คนในสังคม ได้สามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมมากขึ้น กำหนดจัดวันที่ 13-16 กันยายนนี้ ณ เซ็นทรัลเวิลด์

ติดตามรายละเอียดที่www.khonthaifoundation.org หรือ facebook.com/khonthaifoundation ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ www.goodsocietyexpo.com