ในการประชุมครั้งนี้ กลุ่มผู้นำโลกมีความเห็นร่วมกันว่าความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐ สามารถทำลายอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ทุกฝ่ายริเริ่มและสร้างสรรค์ตลาดโลกที่ยั่งยืนร่วมกัน

โอกาสเดียวกันนี้ ได้มีการประกาศรางวัล “ผู้ประกอบการทางสังคมประจำปี 2561” แก่ 12 ผู้ประกอบการทางสังคมจากภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ที่ได้ริเริ่มและอุทิศตนเองในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาสังคมในประเด็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาของเด็กผู้หญิง ความรุนแรงทางเพศ การปฏิรูปเรือนจำ การบรรเทาภัยพิบัติ ฯลฯ เป็นต้น

12 ผู้ประกอบการทางสังคมดีเด่นประจำปี 2561 ประกอบด้วย Urvashi Sahni จาก มูลนิธิ Study Hall Education ประเทศอินเดีย ซึ่งสร้างเครือข่ายโรงเรียนและโปรแกรม 9 ประเภทสำหรับเด็กผู้หญิง เด็กพิการ และเยาวชนในชนบท รวมทั้งเด็กๆ ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ปัจจุบันมูลนิธิฯ ทำงานร่วมกับโรงเรียนรัฐบาลกว่า 900 แห่ง อบรมครูภาครัฐ 5,000 คน และสามารถเข้าถึงเด็กด้อยโอกาสประมาณ 500,000 คน

 

จากซ้ายไปขวาและจากแถวบนไปแถวล่าง: Amy Slaughter, David Yeung, Fatuma Abdulkadi, Adan, Bas van Abel,  Tulin Akin,  Zack Rosenburg, Bruktawit Tigabu, Mike Quinn,  Muhammad Amjad Saqib, Sasha Chanoff; Valdeci, Ferreira และ Urvashi Sahni

จากซ้ายไปขวาและจากแถวบนไปแถวล่าง: Amy Slaughter, David Yeung, Fatuma Abdulkadi, Adan, Bas van Abel, Tulin Akin, Zack Rosenburg, Bruktawit Tigabu, Mike Quinn, Muhammad Amjad Saqib, Sasha Chanoff; Valdeci, Ferreira และ Urvashi Sahni  (ขอบคุณภาพจากข่าว“ World-changers: meet the Social Entrepreneurs of the Year 2018” )

Fatuma Abdulkadir Adan จาก Horn of Africa Development Initiative (HODI) ประเทศเคนยา ซึ่งดำเนินงานเพื่อสร้างชุมชนที่สงบและยืดหยุ่น ในพื้นที่ยากจนและแห้งแล้งของแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ (Horn of Africa)  ด้วยการสนับสนุนการศึกษา การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการส่งเสริมวิถีชีวิตที่ดีใน 300 หมู่บ้าน โดยสามารถเข้าถึงเยาวชนจำนวน 10,000 คน และโรงเรียน 13 แห่ง เด็กผู้หญิง 1,500 คน รวมทั้งครัวเรือนอีก 14,700 ครัวเรือน

Valdeci Ferreira จาก The Brazilian Fraternity of Assistance to Convicts (FBAC) บราซิล / ละตินอเมริกา ซึ่งได้พัฒนาวิธีการฟื้นฟูนักโทษบนพื้นฐานของหลักการ 12 ประการ รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน สถานที่ทำงาน องค์กรการกุศล และครอบครัว โดยดำเนินงานใน 5 รัฐของบราซิล ทั้งนี้นักโทษชาวบราซิลที่เข้าร่วมโครงการนี้มีอัตราการกระทำผิดซ้ำร้อยละ 30 เทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศที่ร้อยละ 85  ปัจจุบันโครงการฟื้นฟูนักโทษของ FBAC ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ใน 23 ประเทศ

Bas van Abel จาก Fairphone ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ได้เปลี่ยนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยการผลิตสมาร์ทโฟนที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก Fairphone ออกแบบชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนให้มีอายุการใช้งานยืนยาวเพื่อลดของเสีย ใช้วัสดุที่ปราศจากความขัดแย้งทางด้านแหล่งกำเนิด และสร้างสภาพการทำงานที่ดีให้แก่พนักงาน รวมทั้งสนับสนุนการรีไซเคิลเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ปัจจุบัน Fairphone มียอดขายสมาร์ทโฟนถึง 160,000 เครื่อง

Bruktawit Tigabu จาก Whiz Kids Workshop ประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งใช้สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ ในการเผยแพร่ข่าวสารการศึกษาด้วยภาษาท้องถิ่น 7 ภาษา เน้นด้านการศึกษาปฐมวัย พฤติกรรม สุขภาพ การรู้หนังสือและความเท่าเทียมทางเพศ รายการ “Tsehai Loves Learning” ที่ได้รับรางวัลนานาชาติ สามาถเข้าถึงผู้ชมโทรทัศน์ 5 ล้านคนต่อสัปดาห์ และมีผู้ฟังวิทยุประมาณ 10 ล้านคน

Sasha Chanoff  และAmy Slaughter จาก RefugePoint  แอฟริกา/ ตะวันออกกลาง ได้ริเริ่มและ พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า “โปรแกรมการพึ่งพาตัวเอง” (Self-reliance Programme) สำหรับผู้ลี้ภัยที่มีความเสี่ยงสูงสุดในโลก โดย RefugePoint ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยมากกว่า 54,000 คนในการตั้งถิ่นฐานใหม่และได้สร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถเข้าถึงผู้อื่นได้อีกนับพันราย

Mike Quinn จาก Zoona ประเทศแซมเบีย/มาลาวี ได้ริเริ่มแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและเครือข่าย

แฟรนไชส์ที่ให้บริการทางการเงินที่เข้าถึงได้ นับตั้งแต่เปิดดำเนินการในปี 2552  Zoona เติบโตขึ้นตามลำดับ สามารถให้บริการลูกค้า 2 ล้านคน และร้านค้าตัวแทน 3,000 รายใน 3 ประเทศ นอกจากนี้ได้ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์มูลค่ากว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และระดมทุนกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ

Zack Rosenburg จาก SBP สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยลดระยะเวลาระหว่างช่วงเกิดภัยพิบัติ และช่วงการกู้คืน (การเข้าช่วยเหลือประชาชนระหว่างเกิดภัยพิบัติ) โดยสร้างความมั่นใจว่าพลเมืองและชุมชนมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลและการช่วยเหลือที่จำเป็นก่อนและหลังเกิดภัยพิบัติ ทั้งนี้ SBP ได้สร้างบ้านใหม่โดยเฉลี่ย 61 วัน ด้วยต้นทุนเพียงร้อยละ 40 ของราคาค่าก่อสร้างที่ดำเนินการโดยผู้รับเหมา SBP ได้สร้างบ้านใหม่ทั้งหมด 1,420 หลัง นอกจากนี้ยังได้พัฒนาโมเดลการสร้างบ้านใหม่และให้การฝึกอบรมแก่องค์กรไม่แสวงผลกำไร เพื่อให้มีการนำโมเดลดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในวงกว้างต่อไป

Tulin Akin, จาก Tabit  ประเทศตุรกี ผู้บุกเบิกระบบ SMS ที่ใช้งานได้ฟรีและสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือขั้นพื้นฐาน โดยการปฏิวัติวิธีการที่เกษตรกรรายย่อยได้รับข้อมูลทางการเกษตรที่สำคัญรวมทั้งการพยากรณ์อากาศ ตลอดจนถึงราคาในตลาด รวมทั้งทางเลือกทางด้านการเงินด้วย ในปี 2560 ที่ผ่านมาร้อยละ50 ของเกษตรกรในชนบทของตุรกี หรือประมาณ 3 ล้านคน ใช้บริการบนมือถือของTabit

David Yeung จาก Green Monday ฮ่องกง Green Monday มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความไม่มั่นคงด้านอาหารโลก และประเด็นด้านสาธารณสุข โดยเสนออาหารมังสวิรัติสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ให้แก่โรงเรียน บริษัทจัดเลี้ยง และร้านอาหารต่างๆ มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชานทั่วไป ทั้งนี้ปรัชญาการรับประทานอาหารที่ทำจากพืช 1 ครั้งต่อสัปดาห์ของ Green Monday ได้มีการนำมาปฏิบัติในหมู่ชาวฮ่องกงกว่า 1.6 ล้านคน และขยายไปยังกว่า 30 ประเทศ

Muhmad Amjad Saqib จาก Akhuwat ประเทศปากีสถาน / ยูกันดา / เคนยา Akhuwat ได้ออกเงินกู้ประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่คนยากจน ซึ่งร้อยละ 98 ถูกนำไปใช้เพื่อเปิดหรือขยายธุรกิจขนาดเล็ก Akhuwat เป็นสถาบันการเงินรายย่อยที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้สอดรับกับการเงินของประเทศมุสลิม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.weforum.org/agenda/2018/09/world-changers-meet-the-social-entrepreneurs-of-the-year-2018 

ขอบคุณข้อมูลประกอบ จาก จดหมายข่าว “The Agenda Weekly” โดย World Economic Forum  วันที่ 28 กันยายน 2561

ขอบคุณภาพประกอบ จาก https://www.weforum.org/events/sustainable-development-impact-summit/sessions/building-sustainable-markets  และ ข่าว “ World-changers: meet the Social Entrepreneurs of the Year 2018”   เขียนโดย Hilde Schwab ประธาน และผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Schwab  World Economic Forum