%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7-2_%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%9a

เมื่อ วันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา มูลนิธิเอ็นไลฟ ในฐานะองค์กรตัวกลางภาคีพาวิลเลียนสิ่งแวดล้อม งาน Good Society Expo 2018 “ทำดีหวังผล เริ่มต้นที่เรา” ร่วมกับภาคีเครือข่ายมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์  สานต่อพันธกิจในการสร้าง “พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม” (Active Citizen) นำอาสาสมัครผู้เข้าร่วมงาน GSE 2018 พร้อมด้วยอาสาชาวพรีเมียร์ ปลูกต้นไม้กว่า 1,000 ต้น ประกอบด้วย ต้นชัยพฤกษ์ ต้นยางนา ต้นแคนา ต้นสะเดา  ต้นตะเคียนทอง ต้นมะขวิด ต้นพะยูง ต้นพะยอม ต้นราชพฤกษ์  ฯลฯ ในพื้นที่โครงการป่าครอบครัว “บ้านมะกะโท” ใน ต.ทุ่งโพธิ์ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี

ในการปลูกป่าครั้งนี้ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อชวนคนไทยทุกคนในการที่จะดำรงไว้ซึ่งผืนป่า และความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้ผ่านการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้  ได้เผยแพร่เคล็ดลับในการปลูกต้นไม้ให้มีการเติบโตที่ดี ด้วยการให้อาสาสมัครใช้กระดาษลังคลุมโคนต้นไม้ เพื่อช่วยเก็บกักความชื้น และลดการเกิดวัชพืชบริเวณรอบต้นไม้ ทำให้อัตราการรอดของต้นไม้สูงมากขึ้น โดยในช่วง 2-3 เดือนต่อจากนี้ มูลนิธิเอ็นไลฟ และมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ จะมีการลงพื้นที่ร่วมกันเพื่อตรวจวัดผลอัตราการรอดของต้นไม้ในแปลงนี้ต่อไป

“กิจกรรมนี้ มีเป้าหมายในการฟื้นฟูป่า เน้นสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ และให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกเพศทุกวัยได้ลงมือปฏิบัติจริง (ปลูกป่า) ทำให้ผู้เข้าร่วมมีประสบการณ์ตรงในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองทำ โดยในทุกพื้นที่ป่าที่ได้รับการฟื้นฟู  มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์จะมีการติดตามผล โดยคาดหวังว่าอัตราการอยู่รอดของต้นไม้ที่อาสาสมัครปลูก จะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70  ทั้งนี้เชื่อว่าหากเราดูแลธรรมชาติให้ดีแล้ว ธรรมชาติก็จะคืนสิ่งดีๆ ให้แก่เรา” คุณกาญจนา สิงหราช รองผู้จัดการ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ กล่าว

งานปลูกต้นไม้นี้ เป็นกิจกรรมต่อยอดของพาวิลเลียนสิ่งแวดล้อม ในงาน “Good Society Expo 2018 ทำดีหวังผล เริ่มต้นที่เรา” ที่จัดขึ้นเมื่อ 13-16 กันยายน 2561 ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งพาวิลเลียนสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอถึงวิกฤตปัญหาขยะพลาสติกในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้  โดยเชิญชวนให้ผู้ร่วมงานรวมพลังลดการใช้พลาสติกและร่วมกันปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้น

“ตนเองเป็นจิตอาสาช่วยกิจกรรมของร้านปันกันมาหลายปีแล้ว เมื่อคุณสุทิศา  ผู้บริหารปันกัน ชวนมาร่วมปลูกป่าที่นี่ก็เลยตอบตกลงค่ะ ปกติเป็นคนรักต้นไม้อยู่แล้ว เมื่อได้มาปลูกป่าก็ยิ่งทำให้เห็นคุณค่าต้นไม้และป่ามากขึ้นค่ะ ทั้งๆ ที่รู้ว่าป่ามีประโยชน์มากมาย แต่มนุษย์เราไม่ค่อยให้ความสำคัญ มีการตัดไม้ทำลายป่า จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมาถึงพวกเราทุกคน การปลูกป่าจึงเป็นหนทางหนึ่งในการชะลอปัญหานี้ อย่างไรก็ตามการปลูกป่าต้องใช้เวลามากกว่าการทำลายป่าหลายร้อยเท่านัก ดังนั้นจึงควรมีการบังคับใช้บทลงโทษพวกทำลายป่าอย่างจริงจังควบคู่ไปด้วยค่ะ” คุณหทัยดิส มุ่งถิ่น ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ซึ่งเป็นหนึ่งในอาสาสมัครปลูกป่า กล่าว

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a1           

ส่วนอีกหนึ่งอาสาสมัครปลูกป่า คุณวันทนา ปั้นน้อย  Senior Buying Manager บริษัท     วีเซียมซี (ประเทศไทย) จำกัด กว่าวว่า “เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ทำให้ได้ความรู้ในการปลูกและดูแลต้นไม้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในพื้นที่ที่ตนเองมีอยู่ เช่น การปลูกพืช ผัก ที่สามารถนำมาบริโภค หรือจำหน่ายเพื่อหารายได้ ขณะเดียวกันยังสามารถส่งต่อความรู้ดังกล่าวให้กับผู้อื่นต่อไป”  

“บ้านมะกะโท” เป็นโครงการป่าครอบครัว ที่ดำเนินการโดย มูลนิธิเอ็นไลฟ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ต่างๆ ประกอบด้วย กรมป่าไม้ สำนักงานเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO บริษัท เสรีพรีเมียร์ จำกัด และชุมชน ต. ทุ่งโพธิ์ อ. นาดี จ. ปราจีนบุรี

 

logo-%e0%b8%9a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%97