“เรื่องดีๆ ต้องบอกต่อ” เป็นคำพูดเปิดใจสั้นๆ ของ “คุณปู – สุวิตา จรัญวงศ์” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทลสกอร์ จำกัด สะท้อนให้เห็นว่าเราทุกคนสามารถบอกเล่าเรื่องราวดีๆ ออกไปให้สังคมได้รับรู้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีร่วมกันได้

บริษัท เทลสกอร์ จำกัด เป็น “สตาร์ท อัพ” ชั้นนำของประเทศผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์การสื่อสารด้าน Influencer Marketing Automation ผู้สร้างสรรค์ “Influencer Platform” ที่ชื่อ “Tellscore”  ที่ซึ่งเชื่อมต่อ “แบรนด์” และเหล่า “อินฟลูเอ็นเซอร์-ไมโคร อินฟลูเอ็นเซอร์-บล็อกเกอร์” จำนวนกว่า 50,000 คน ให้ได้พบกันเพื่อส่งต่อคอนเทนต์ที่ทรงพลังไปยังกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงและวัดผลได้ นับเป็น “เทรนด์” การสื่อสารที่ถือเป็นแนวโน้มใหม่ของโลกปัจจุบัน และ “อินฟลูเอ็นเซอร์” ยังถือเป็นศาสตร์ใหม่ที่เข้ามามีอิทธิพลมากในวงการสื่อ

จากความเชื่อ “เรื่องดีๆ ต้องบอกต่อ” ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ “เทลสกอร์” ได้เข้ามามีส่วนร่วมการขับเคลื่อนงานภาคสังคมร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ  จนเกิดผลจับต้องได้อีกด้วย

“เราตั้งใจจะใช้เวลา 30 เปอร์เซ็นต์ของการทำงานเพื่อช่วยสังคมโดยเป็นตัวกลางส่งผ่านเรื่องดีๆ ไปให้ไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์เข้ามาช่วยด้วยกันค่ะเพราะโลกทุกวันนี้ปัญหาสังคมยิ่งซับซ้อนมากเรื่องความร่วมไม้ร่วมมือเป็นหัวใจสำคัญ”

ตัวอย่างการมีส่วนร่วมของเทลสกอร์  ช่วงวิกฤตภัยฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เว็บไซต์เทใจดอทคอม www.taejai.com   ริเริ่ม โครงการ “ละอ่อนหายใจม่วน”  ร่วมกับกลุ่มวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และภาคีเครือข่าย เปิดระดมทุนเพื่อนำเงินสนับสนุนจัดซื้ออุปกรณ์วัดค่าฝุ่นติดตั้งใน 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ เทลสกอร์เข้ามาให้ความร่วมมือในช่วงโค้งสุดท้ายของแคมเปญเพียง 7วัน โดยการใช้กลยุทธ์ไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์จำนวนกว่า 200 คน ช่วยแชร์แคมเปญนี้ ผลปรากฏว่า สามารถเข้าถึงผู้คนกว่า 6 แสนผู้ติดตาม ที่น่าสนใจคือ แคมเปญมีการมองเห็น (Visibility) 15.29 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าค่ามาตรฐานจากปกติอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นพลังหนึ่งที่ทำให้เกิดการปิดแคมเปญตามเป้าหมาย

2นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 แคมเปญ คือ “ปันร้อยได้ร้าน” ของร้านปันกันโดยมูลนิธิยุวพัฒน์ มีไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์เข้ามามีส่วนร่วมจำนวน 158 คน และ แคมเปญ “ให้ ไป ต่อ” ของมูลนิธิยุวพัฒน์ มีไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์เข้ามามีส่วนร่วม จำนวน 148 คน

ไม่เพียงเท่านั้น “เทลสกอร์” ยังเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง “เครือข่ายสื่อร่วมพัฒนาความยั่งยืน” ที่มาจากความร่วมมือของสื่อหลากหลายสำนักจำนวนกว่า 14 องค์กร ช่วยขยายผลงานสื่อสารของภาคสังคม เริ่มต้นในงาน Good Society Expo 2019 เมื่อตุลาคมที่ผ่านมา และยังเป็นหนึ่งในภาคีผู้ริเริ่มกลไกสื่อเยาวชนชื่อ G-Youth : Good Power” โดยความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษา 7 มหาวิทยาลัยและภาคสังคมอีก 2 องค์กร ได้แก่มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อคนไทย ร่วมกันพัฒนา “พื้นที่กลาง” ที่พร้อมจะสร้างเสริมและสนับสนุน “เยาวชนนักสื่อสารแห่งอนาคต” มาช่วยกันลงมือแก้ปัญหาสังคมในวันนี้

37 สถาบันการศึกษา ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทบาทของเทลสกอร์ในงานนี้ทำหน้าที่ติดอาวุธทางปัญญาจากกิจกรรม “Story Telling Canvas” ทำให้น้องๆ G-Youth ได้แนวคิดใหม่ๆไปใช้ในการขยายผลเรื่องราวและวิธีการแก้ปัญหาสังคมเป็นเครื่องมือสื่อสารประเภทต่างๆ ไม่น้อยกว่า 40 ชิ้นงาน หลังจากที่ชาว G-Youth ได้ลงสนามปล่อยพลังความตั้งใจดีเลือกนำเสนอประเด็นปัญหาสังคมและช่องทางการร่วมแก้ปัญหาสังคมในงานมหกรรมสร้างสังคมดี

4 “โซเชียลมีเดียไม่ได้ต้องการแค่กดไลค์ กดแชร์ แต่ต้องทำให้เกิดการลงมือทำซึ่งทุกคนในสังคมสามารถเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ที่เชิญชวนคนมาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงได้” คุณสุวิตากล่าว

5

เมื่อเร็วๆ นี้ เทลสกอร์ได้จัดงาน Thailand Influencer  Awards 2019 ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อมอบรางวัลให้เหล่าอินฟลูเอ็นเซอร์สุดยิ่งใหญ่แห่งปี โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการธุรกิจอินฟลูเอ็นเซอร์ สร้างบรรทัดฐานการสร้างคอนเทนต์ที่ดี การแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีพลังในการสื่อสารและมีสำนึกในสังคมให้แก่วงการ การสื่อสารและโฆษณา และตั้งใจจะสร้างคอมมูนิตี้ให้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ในหลากหลายสาขาความถนัด ด้วยการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญในวงการดิจิทัลมาร์เก็ตติงร่วมเป็นกรรมการตัดสินสำหรับการมอบรางวัลทั้งสิ้น 27 รางวัล

6พร้อมกันนี้ในงานยังได้เปิดตัว มาสคอตTeller Whale” หรือ “วาฬสีขาว” ด้วยเหตุผลที่ว่าปลาวาฬเป็นสัตว์ชนิดเดียวในโลกที่สามารถส่งคลื่นเสียงได้ดังกังวานและไปได้ไกลที่สุดในโลก.. และคลื่นเสียงที่ปลาวาฬส่งออกมา ก็เป็นพลังงานการสื่อสารที่เป็นเรื่องดีๆ บวกๆ จึงเลือกมาเป็นตุ๊กตานำโชคสื่อถึง “อินฟลูเอนเซอร์” ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในโลกดิจิทัล ผู้ส่งสารเรื่องดีๆ สู่ผู้คน

7“เราจัดเวทีมอบรางวัลนี้ขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรฐานของอินฟลูเอ็นเซอร์ให้ชัดเจน สร้างความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับอินฟลูเอ็นเซอร์ให้แก่บุคคลภายนอกด้วย ว่าเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร ดังนั้น เรื่อง ธรรมาภิบาลในข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง การไม่ให้ข้อมูลเท็จ หรือข่าวลวง หรือการให้ข้อมูลเกินจริง ฯลฯ แพลตฟอร์มของเราเน้นเรื่องการมีจรรยาบรรณในวิชาชีพเช่นเดียวกับสื่ออื่นๆ เพราะอินฟลูเอนเซอร์เป็นผู้มีอิทธิพลทางสังคม”

8 ในงานดังกล่าว เทลสกอร์ได้มอบรางวัล “Best Social Conscience using Influencer Marketing” แก่มูลนิธิเพื่อคนไทยในฐานะที่เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งโดดเด่นด้านการร่วมมือกับอินฟลูเอ็นเซอร์ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อม และในฐานะที่เป็นแกนหลักในการจัดงาน Good Society Expo 2019 มหกรรมทำความดีที่รวบรวมองค์กรเพื่อสังคมกว่า 140 องค์กรจากทั่วประเทศมาไว้ในงานเดียวทำให้สังคมได้ได้เห็นตัวอย่างความร่วมมือในระดับภาคประชาชนและเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมกับประเด็นสังคมต่างๆ

9ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่า “อินฟลูเอ็นเซอร์” แท้จริงแล้วมีความหมายมาก และไม่จำกัดเฉพาะการสื่อสารการตลาด แต่ยังจะเป็นอีกหนึ่งแรงของสังคมที่จะผลักดันเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้