ถ้าประเทศคือบ้าน คุณคิดว่าคอร์รัปชันเปรียบเหมือนสัตว์ชนิดไหนที่อยู่ในบ้านของเรา ?  เราอยากให้คุณได้ลองหาคำตอบ แต่ระหว่างนี้ขอพาไปฟังคำตอบของ ดร.ต่อภัสร์ ยมนาค ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัดและอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั่นคือ คอร์รัปชันเป็นเรื่องมดๆ”

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b1ทำไมต้องเป็นมดเพราะว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องเล็กหรือเปล่า ? คำตอบคือไม่ใช่ !

68479664_417643165549354_3304810358828433408_nดร.ต่อภัสร์ เล่าว่าขณะที่กำลังทำวิจัยเรื่องปัญหาคอร์รัปชันได้มีโอกาสพูดคุยกับรุ่นพี่ท่านหนึ่งที่กำลังศึกษาเรื่องวิวัฒนาการทางชีววิทยา รุ่นพี่ท่านนี้ได้บอกว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องมดๆ แน่นอนว่า ดร.ต่อภัสร์ก็เกิดเสียงคัดค้านอยู่ในใจว่าจะเป็นไปได้อย่างไรที่ปัญหานี้จะเป็นปัญหาเล็กๆ เหมือนกับมด แต่เพราะเมื่อฟังคำอธิบายก็พบความหมายว่าปัญหาคอร์รัปชันเป็นเรื่องธรรมชาติที่แม้แต่สัตว์ก็ยังมีการคอร์รัปชันเหมือนกันในนี้จึงเปรียบได้กับ “มด”

เขาเล่าต่อว่าในทางชีววิทยาวิวัฒนาการ (Evolution Biology) มีสัตว์บางเผ่าพันธุ์ที่คอร์รัปชันกันเอง เช่น มด มีหน้าที่ต่างกัน แต่มดบางชนิดเอาเปรียบกันเอง ไปทำหน้าที่อื่นหรือไม่ทำเลย ในที่สุดส่งผลให้สังคมมดนั้นล่มสลายและสูญหายไป เมื่อเป็นอย่างนั้นธรรมชาติของสัตว์จึงกลับสู่ภาวะสมดุลเกื้อกูลกันเปรียบเทียบกับสังคมมนุษย์ หากปล่อยให้มีการคอร์รัปชันสังคมของเราจะไม่ล่มสลายแบบสังคมมด ดังนั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ไม่ใช่แค่คนใดหรือองค์กรใด เหมือนมดที่ต้องร่วมมือกันเพื่อให้สังคมของพวกมันอยู่รอดได้

“ในสัตว์ก็มีการคอร์รัปชัน หลายเผ่าพันธุ์ก็มีการเอาเปรียบกันเอง เช่น มดบางสายพันธุ์ไม่ทำตามหน้าที่ของตัวเองสุดท้ายเผ่าพันธุ์นั้นก็จะสูญหายไป กลับมาที่มนุษย์หากปล่อยให้คอร์รัปชันสังคมก็จะล่มสลาย” ดร.ต่อภัสร์อธิบาย

เมื่อพูดถึงนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันอาจไม่สามารถหวังให้นโยบายเดียวแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้หมดทุกแบบเพราะปัญหาคอร์รัปชันแต่ละพื้นที่มีหน้าตาไม่เหมือนกัน จึงเกิดคำถามว่า การต่อสู้กับปัญหาจะเริ่มตรงไหนดี ?

ดร.ต่อภัสร์บอกว่า วิธีการหนึ่งคือ “ใช้เงินสู้” เพื่อลงทุนหรือสนับสนุนโครงการที่ดีหรือลงทุนในองค์กรที่ทำประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล ESG (Environment – Social – Governance) เพราะปัจจุบันแนวคิดการบริหารเงินของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์เริ่มเปลี่ยนไปโดยหันไปให้ความสนใจลงทุนหรือสนับสนุนโครงการที่ดีซึ่งเกิดจากกลุ่มเจเนอร์เรชั่นใหม่เป็นผู้คิดค้นซึ่งให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลมากขึ้น

67377710_381817882523980_6935806638926331904_n“เมื่อเงินเปลี่ยนผ่านไปสู่กลุ่มเจเนอร์เรชั่นใหม่ ถ้าเราไม่ปรับตัวเราจะตามคนอื่นไม่ทัน รัฐก็จะอยู่ไม่ได้เอกชนไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองคนที่ถือเงิน เรื่องนี้คือเทรนด์ของโลกไปแล้ว” ดร.ต่อภัสร์กล่าว

หลายปีที่ผ่านมาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต่างก็มีความพยายามในการร่วมมือกันแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน โดยเฉพาะแวดวง “ภาคธุรกิจ” เริ่มมีบทบาทในการมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยนำหลัก “ธรรมาภิบาล” มาปรับใช้ในการบริหารจัดการองค์กรซึ่งมีการประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กรภาคธุรกิจ

ดร.ต่อภัสร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในปี 1989 ธนาคารโลก (World Bank) นำคำว่า Good Governance” ซึ่งภาษาไทยนิยมใช้คำว่า “ธรรมาภิบาล” มาใช้อย่างเป็นทางการเพราะเชื่อว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะทำไม่ได้เลยถ้าประเทศนั้นๆ ปราศจากธรรมาภิบาล ธนาคารโลกจึงได้เสนอแนวทาง “ธรรมาภิบาลระดับโลก” (Global Governance) ที่พยายามผลักดันให้ประเทศในแถบทวีปเอเชียและประเทศอื่นๆ เดินตามกรอบของธรรมาภิบาล เพราะเชื่อว่าด้วยหนทางนี้จะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากสามารถพัฒนาประเทศให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งต้องทำควบคู่กับการทำงานด้วยความโปร่งใส และมีความตื่นตัวมากขึ้นในภาคสังคมที่กระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนมีการเชื่อมโยงการพัฒนากับการมีธรรมาภิบาลที่ดี เพื่อใช้ในการกำหนดกลไกอำนาจรัฐให้มีความสมดุลในการบริหารจัดการทรัพยากรในแง่เศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและที่สำคัญคือเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมและการพัฒนาใน 3 ด้านคือ ESG (Environment – Social – Governance)

“ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วเป็นโอกาสที่องค์กรธุรกิจจะพัฒนาธรรมาภิบาลซึ่งต้องประกอบด้วยความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม ถ้าองค์กรไหนไม่มีจิตสำนึกเรื่องธรรมาภิบาลก็จะขาดโอกาสในการเติบโต” ดร.ต่อภัสร์กล่าวทิ้งท้าย

กลไกการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทยเกิดขึ้นมากมายเพื่อให้คนในสังคมได้ทราบว่าหากมีการคอร์รัปชันเกิดขึ้นแล้ว ควรไปที่ไหนต่อ

คุณสุภอรรถ  โบสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียน ร่วมอุดมการณ์กับดร.ต่อภัสร์และเพื่อนคนอื่นๆ ได้ก่อตั้งบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด ที่ทำงานส่งเสริมด้านธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการบริหารจัดการโครงการ พร้อมให้คำปรึกษาโครงการสร้างเสริมธรรมาภิบาลและพัฒนาเครื่องมือต้านคอร์รัปชัน ได้แนะนำ“กลไกการต่อต้านคอร์รัปชัน” ที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำมาใช้ในการตรวจหา ป้องกัน และต่อต้านการคอร์รัปชันในภาครัฐและเอกชนซึ่งจะช่วยให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะ และช่วยกันตรวจสอบความผิดปกติหรือไม่ชอบมาพากลของข้อมูลเหล่านั้น ประกอบด้วย

06-%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%a8%e0%b8%b8%e0%b8%a0%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%96 “กลไกสื่อ” คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อถือเป็นกลไกที่มีบทบาทในการต่อต้านทุจริต เพราะสื่อมีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริงและเชื่อมโยงความผิดปกติต่างๆ ให้สาธารณะได้รับทราบ ทุกวันนี้มีสื่อประเภทสืบสวนสอบสอนเพิ่มขึ้นหนึ่งในนั้นคือ “สำนักข่าวอิศรา” ซึ่งอยู่ใน “โครงการผลิตข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน” ที่มี“กองทุนรวมคนไทยใจดี”หรือ BKIND ให้การสนับสนุน โดยในปี 2561 สำนักข่าวอิศราทำให้ประชาชนกว่า 8.2 ล้านคน เข้าถึงข้อมูลและตระหนักถึงปัญหา นำไปสู่การมีส่วนร่วม

เพจต้องแฉ MustShare+ ดำเนินการโดยสำนักข่าวอิศราร่วมกับ บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และภาคีเครือข่ายหลายองค์กรที่ขับเคลื่อนงานต่อต้านคอร์รัปชัน ต่อยอดมาจากโครงการ “ร้อยพลังต่อต้านคอร์รัปชัน” ปี 2559 ที่สร้างความร่วมมือผสานการทำงานระหว่างองค์กรที่ขับเคลื่อนงานต่อต้านคอร์รัปชัน อีกทั้งยังถือว่าเป็น “Crowdsourcing Platform” ด้านต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นครั้งแรกของเมืองไทย ซึ่งทำหน้าที่เปิดเผยข้อมูลและโครงการต่างๆ ที่อาจมีความไม่โปร่งใส เพื่อให้เกิดการติดตามตรวจสอบจากประชาชนและการดำเนินการจากภาครัฐที่มีหน้าที่ทางกฎหมาย

ต่อมาคือ “กลไกภาคประชาชน” เช่น โครงการข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมจากอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ร่วมทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ-เอกชน ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โดยได้รับการเงินสนับสนุนจากกองทุนธรรมาภิบาลไทย (CG Fund) เพื่อใช้ในการดำเนินงาน 3 เรื่อง คือ การพัฒนาระบบสารสนเทศและการจัดเก็บข้อมูลของผู้สังเกตการณ์ (IO) การอบรมและพัฒนาศักยภาพของผู้สังเกตการณ์และการประเมินผลการทำงานของผู้สังเกตการณ์

เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบโครงการจัดซื้อในท้องถิ่น

ACT Ai เครื่องมือสู้โกง ได้รับความร่วมมือจาก 3 หน่วยงานรัฐ ได้แก่ 1. ข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของกรมบัญชีกลาง 2. คลังข้อมูลธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 3. ศูนย์กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถือเป็นเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาระบบขึ้น รวบรวมข้อมูลจริงจากระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ทั้งหมด และเชื่อมโยงข้อมูลผู้รับจ้างเข้ากับฐานข้อมูลคลังกรมพัฒนาธุรกิจการค้าของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และเป็นมิตร โดยระบบจะช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติหรือส่อทุจริตในรูปแบบต่างๆ และจะทำการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน รวมทั้งมีระบบแจ้งเตือนเมื่อพบการฮั้วประมูลด้วย

สุดท้าย “กลไกภาคธุรกิจ” เช่น โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริตหรือ CAC ที่สร้างพื้นที่ให้บริษัทเอกชนสามารถแสดงตน ส่งเสริมการทำธุรกิจสะอาดได้อย่างสมัครใจ โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการต้องประกาศนโยบาย วางแนวปฏิบัติ และระบบควบคุมภายใน ป้องกันการให้สินบนและทุจริตคอร์รัปชัน บริษัทใดที่สามารถทำได้ครบถ้วนตามพันธกิจดังกล่าว และได้รับการยืนยัน สอบทานจากผู้ตรวจสอบภายนอกว่าบริษัทมีนโยบาย แนวปฏิบัติและปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวจริง คณะกรรมการโครงการ CAC ก็จะมอบใบรับรองให้แก่บริษัท แต่การรับรองไม่ได้รับรองพฤติกรรมของบริษัทว่าจะไม่คอร์รัปชัน แต่รับรอง

กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย  (THAI CG Funds) กลไกสร้างการมีส่วนร่วมในด้านเสริมสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการลงทุนซึ่งเป็นความร่วมมือของภาคตลาดทุน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และประชาชนผู้ถือหน่วย โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 11 บลจ. ที่ต้องการเห็นสังคมไทยดีขึ้นในระยะยาวซึ่งมีมูลค่ากองทุนภายใต้การบริหารกว่าร้อยละ 90 ของตลาดทุนรวมได้ร่วมจัดตั้งกองทุนรวมหุ้น 12 กองทุน และแบ่งรายได้จากค่าบริหารกองทุนร้อยละ 40 ไปสนับสนุนโครงการที่มีเป้าหมายเดียวกัน

“การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในองค์กรไม่ใช่โอกาสสำคัญในการทำธุรกิจเพียงอย่างเดียวแต่เป็นโอกาสที่คนในองค์กรจะได้ร่วมกันสร้างโอกาสทำให้ธุรกิจโปร่งใสและยั่งยืน” คุณสุภอรรถกล่าว

เเน่นอนว่าาการต่อต้านคอร์รัปชันยังมีอุปสรรคและต้องการพลังประชาชนอีกมาก คำถามที่ต้องคิดต่อปัญหาคอร์รัปชันจะก้าวข้ามอุปสรรคได้หรือไม่…อยู่ที่เรา ผู้เปรียบเสมือน “มด” ที่พร้อมจะร่วมกันทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกของสังคมที่ไม่นิ่งดูดาย พร้อมที่จะตื่นรู้สู้โกง

คุณสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันได้ที่ http://www.anticorruption.in.th/2016/th/  และเฟซบุ๊คhttps://www.facebook.com/act.anticorruptionThailand/ หากต้องการแจ้งเบาะแสการคอร์รัปชันในพื้นที่ สามารถติดต่อเพจต้องแฉ https://www.facebook.com/mustshareofficial/ หรือเพจหมาเฝ้าบ้าน https://www.facebook.com/Watchdog.ACT/

เรียบเรียงจากงานสัมมนาต่อต้านคอร์รัปชัน โดยกลุ่มบริษัทพรีเมียร์  เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562