%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7-3-logo_thai-cg-fund

 

กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (Thai CG Funds) รวมพลังต่อต้านคอร์รัปชัน สนับสนุนทรัพยากรทุนจำนวน 6.62 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการด้านธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชัน 2 โครงการ เชิญชวนประชาชนทั่วไปร่วมสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันให้กับสังคมไทยผ่านการลงทุนในกองทุนรวมธรรมาถิบาลไทย

นางสาวดวงกมล พิศาล เลขาธิการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า กองทุนธรรมาภิบาลไทย เกิดจากความเชื่อที่ว่า ภาคตลาดทุนน่าจะทำหน้าที่สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ จึงหาวิธีเชิญชวนประชาชนผู้ถือหน่วยผ่านการลงทุนในกองทุนรวมกับ 11 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พร้อมกับแบ่งค่าบริหารจัดการกองทุนจำนวนหนึ่งไปสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมที่มีวัตถุประสงค์ด้านการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และสร้างเสริมธรรมาภิบาล

%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%94%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a1%e0%b8%a5-%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b8%94-gse

นางสาวดวงกมล พิศาล เลขาธิการสมาคมบริษัทจัดการลงทุน

 

ปัจจุบัน กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) 5,700 ล้านบาท (ณ 31 ส.ค.) โดยได้เริ่มสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมด้านพัฒนาธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชัน 2 โครงการ รวมเป็นทุนสนับสนุน 6.26 ล้านบาท ได้แก่ โครงการ CAC for SME ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) จำนวน 1,76 ล้านบาท (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.cgfundthailand.com/?p=658) และโครงการ “เกมเพื่อการเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชัน (Corrupt the Game) สำหรับเยาวชนในโรงเรียน” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการสื่อสารปัญหาและผลกระทบของคอร์รัปชัน ดำเนินการโดย บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด จำนวน 4.5 ล้านบาท (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.cgfundthailand.com/?p=658)

“นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มีประชาชนผู้ถือหน่วยจำนวน 9,876 บัญชี (ณ 30 มิ.ย.) มาร่วมสร้างผลทางสังคมพร้อมกับการลงทุน เราหวังว่า กองทุนนี้จะเติบโตขึ้นและเชิญชวนนักลงทุนทุกท่านให้เข้ามามีบทบาทแก้ปัญหาสังคมผ่านการลงทุนในกองทุนรวมธรรมาภิบาลไทยกันค่ะ”  นางสาวดวงกมล กล่าว

กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมได้แก่  มูลนิธิเพื่อ “คนไทย” สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และบริษัท เชนจ์ เวนเจอร์ จำกัด และภาคตลาดทุนประกอบด้วยสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมบริษัทจัดการกองทุนรวม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจำกัด (บลจ.) จำนวน 11 บลจ. ประกอบด้วย  1) บลจ. บัวหลวง  2) บลจ.กรุงไทย 3) บลจ.กรุงศรี 4) บลจ.ทหารไทย 5) บลจ.ทาลิส 6) บลจ.ทิสโก้ 7) บลจ.ไทยพาณิชย์ 8) บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) 9) บลจ. กสิกรไทย 10) บลจ.เอ็มเอฟซี 11) บลจ.บางกอกแคปปิตอล

“สำหรับการพัฒนาโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฯ นั้น สมาคมบริษัทจัดการลงทุน ทำงานร่วมกับบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เพราะเราเชื่อว่า ถ้าได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญงานพัฒนาสังคมตัวจริง จะทำให้เงินของนักลงทุนที่ทุกบลจ.ร่วมกันลงขัน ได้ถูกนำไปใช้ในการสนับสนุนงานแก้ปัญหาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ” นางสาวดวงกมล กล่าว

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ จากเวบไซต์สมาคมบริษัทจัดการลงทุน