แม้จะเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติว่า แพทย์ไทยมีประสิทธิภาพสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก อ้างอิงจากสื่อญี่ปุ่นที่รายงาน ณ ปลาย เม.ย. ที่ผ่านมาว่า สามารถเยียวยารักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จนหายดีคิดเป็นร้อยละ 87 จากจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมด 2,954 ราย โดย 2,490 รายมีอาการดีขึ้นมากอย่างน่าพอใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วดังที่ทราบกันว่า โควิดจะยังคงอยู่กับสังคมโลกไปอีก 8-12 เดือนเป็นอย่างน้อยนับจากนี้  ดังนั้น ความต้องการเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เน้นการป้องกันสำหรับโรงพยาบาลในต่างจังหวัด ยังมีความจำเป็นเร่งด่วน เพราะยังมีความต้องการ

infoAid_fb_01_สรุปเวชภัณฑ์ส่งโ

ดังข้อมูลที่ปรากฏในเวบไซต์ infoAID หรือ https://infoAid.org ซึ่งได้รับความร่วมมือจากแพทย์และหรือบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลกว่า 80 แห่งทั่วประเทศ แจ้งความต้องการเข้ามา และรอการช่วยเหลือจากประชาชนอีกจำนวนมาก โดยเมื่อดูจากข้อมูลตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2563 จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ยังมีความต้องการเวชภัณฑ์อีกกว่า 70,000 ชิ้น จาก 20 รายการ โดยเวชภัณฑ์ที่โรงพยาบาลยังต้องการส่วนใหญ่เป็นหน้ากาก N95 และ surgical mask นอกจากนี้กลุ่มประชากรเปราะบางก็เป็นคนอีกกลุ่มในสังคมที่ยังต้องการความช่วยเหลือ เฉพาะตัวเลขจาก infoAID ซึ่งข้อมูลมากจาก 20 มูลนิธิทั่วประเทศ ก็พบว่ายังมีคนอีกกว่า 12,000 คน ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 และยังต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับของอุปโภคบริโภค เช่นข้าวสาร อาหารแห้ง

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%9a_infoaid-3

นภณ  เศรษฐบุตร ผู้ประสานงานฝ่ายอาสาสมัครและข้อมูล สถาบันเช้นจ์ฟิวชัน ภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท นกฮูก กรุ๊ป จำกัด ภาคีผู้ร่วมก่อตั้งเวบไซต์ infoAID เปิดเผยว่า กว่า 1 เดือน นับจากเวบไซต์อินโฟเอดเปิดให้บริการข้อมูลความต้องการเวชภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับแพทย์แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อ 2 เมษายนที่ผ่านมา พบว่า มีประชาชนตื่นตัวสนับสนุนเป็นนักปันอาสา หรือผู้บริจาคของเป็นจำนวนกว่า 120 คน คิดเป็น 46,740 หน่วย หรือจาก 16 รายการ หากข้อมูลความต้องการนี้สามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก  คาดว่าจะได้รับการสนับสนุนเพิ่ม อย่างไรก็ตามเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นจริงๆ หลายรายการเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องได้มาตรฐานสากล การจัดซื้อจึงไม่ใช่เรื่องง่าย นับเป็นความท้าทาย

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%9a_infoaid-5

“ผมคิดว่า ประชาชนเต็มที่กันมากที่จะช่วยหมอนะครับ สิ่งไหนที่สามารถทำมือได้ ก็ทำกันจึงได้หน้ากากผ้ากว่า 14,500 ชิ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายรายการที่ยังไม่สามารถจัดหาแล้วช่วยบริจาคได้ ก็เป็นปัญหาที่อาจต้องใช้แนวทางในการแก้ไขที่แตกต่างออกไป เช่นอาจต้องช่วยโรงพยาบาลระดมทุนเพื่อซื้อเวชภัณฑ์เองหรือเปล่า ตรงจุดนี้เราก็มีเวบเทใจดอทคอมอีกภาคีที่ทำเรื่องนี้”

นางสาวช่อทิพย์ โกลละสุต ผู้ประสานงานฝ่ายผู้บริจาค มูลนิธิความคิดสร้างสรรค์เพื่อรับมือภัยพิบัติ (Design for Disasters) หนึ่งในภาคีผู้ร่วมก่อตั้งอินโฟเอดกล่าวว่า จากการประสานงานร่วมกับโรงพยาบาลพบว่า ยังมีโรงพยาบาลขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องการเวชภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งเคยต้องการมากในช่วงที่เจ้าหน้าที่อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ลงพื้นที่ติดตามเพื่อเฝ้าดูอาการของบุคคลกลุ่มเสี่ยง ไม่เพียงเท่านั้น ตัวเลขการบริจาคเวชภัณฑ์ในเวบไซต์ยังสะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด-19 อย่างเห็นได้ชัด ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเติมเต็มสังคมได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด ในการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบ DIY เช่น Face Shield และหน้ากากผ้า ระดับที่ 2 ประชาชนมีส่วนร่วมปานกลาง เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งมักมีจำหน่ายในจำนวนจำกัดในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดซื้อจึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบ เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรผู้ใช้งาน เช่น หน้ากาก N95 และชุด PPE และระดับ 3 ประชาชนมีส่วนร่วมน้อย เนื่องจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นบางชนิดมีความซับซ้อนในเชิงมาตรฐานด้านเทคนิคเฉพาะทาง รวมถึงมีราคาค่อนข้างสูง เช่น เครื่องกระตุกหัวใจ Defibrillator หรือตัวกรองเชื้อโรคสำหรับเครื่องช่วยหายใจ ทั้งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างเร่งด่วน

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%9a_infoaid-4“เราคิดว่าการเตรียมความพร้อมเรื่องเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ได้คุณภาพและพอเพียงเป็นเรื่องสำคัญ โดยที่โรงพยาบาลทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ต้องประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ความต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพร้อมรับมือกับวิกฤติต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ เพราะเราไม่รู้เลยว่าวิกฤติครั้งนี้จะจบลงอย่างไร หรือจะยาวนานแค่ไหน  ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือยารักษาที่ชัดเจน การจัดหาเตรียมเวชภัณฑ์ให้พร้อมอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน โดยสามารถใช้ระยะเวลาช่วงที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงนี้ เร่งเตรียมความพร้อมในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ” นางสาวช่อทิพย์กล่าวและว่า

นอกจากความท้าทายด้านเวชภัณฑ์ที่จำเป็นแล้ว คณะทำงานเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูล(Open Data) เกี่ยวกับสถานะความพร้อมและความต้องการด้านเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในระบบฐานข้อมูลของสาธารณะสุขไทยเป็นเรื่องสำคัญ มีความจำเป็นต้องเปิดเผย เพราะเป็นข้อมูลสาธารณะที่จำเป็นและสามารถเข้าถึงได้เพื่อเป็นทางเลือก ทางรอด ต่อชีวิตของประชาชน รวมทั้งการมีส่วนร่วมช่วยเหลือสนับสนุนไม่ใช่แค่ในภาวะวิกฤติครั้งนี้ แต่เป็นการรับมือกับวิกฤติการณ์แพร่ระบาดต่างๆในอนาคต ดังนั้น คงจะดีไม่น้อยหากทางภาครัฐสามารถเปิดเผยข้อมูลเท่าที่เป็นไปได้ตามความเหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเติมเต็มช่วยเหลือซึ่งกันและกันจากทุกภาคส่วนในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับเวบไซต์ “infoAid” หรือ https://infoAid.org คือ พื้นที่กลางของ “ข้อมูล” ที่บอกความต้องการจาก “โรงพยาบาล” และ “เครือข่ายที่ทำงานช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง” เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มคนสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการตัดสินใจช่วยเหลือ จัดหาพร้อมส่งมอบ “เวชภัณฑ์ที่จำเป็น” ได้อย่างมั่นใจ แม่นยำ และตรงจุด เพราะข้อมูลที่แสดงผลผ่านเวบไซต์นี้มาจากหมอและโรงพยาบาลโดยตรง ซึ่งทุกคนสามารถเลือกช่วยโรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อสะดวกในการจัดส่งของด้วยตัวเอง ขนานกันไปทีมงานและอาสาสมัครอินโฟเอดจะคอยช่วยเหลือประสานงานทั้งผู้ให้ (ผู้บริจาค) และผู้รับ (โรงพยาบาล) ได้ปฏิบัติภารกิจนี้เสร็จสมบูรณ์

พื้นที่กลางฐานข้อมูลความต้องการเวชภัณฑ์ที่จำเป็นจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ หรือ infoAID เกิดจากความตั้งใจของหลายองค์กรที่ร่วมมือกันโดยมีใจอาสาเป็นพื้นฐาน ประกอบด้วย

  • Design for Disasters มูลนิธิความคิดสร้างสรรค์เพื่อรับมือภัยพิบัติ ผู้ประสานงานโครงการ
  • เทใจ (TaejaiDotcom) แพลตฟอร์มระดมทุนบริจาค
  • Change Fusion ผู้ร่วมประสานงานความร่วมมือต่างๆ
  • Open Dream ผู้จัดทำเวบไซต์
  • FabCafe ซึ่งมีเครือข่ายเมคเกอร์ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนอย่างการนำเครื่องพิมพ์ 3D เพื่อผลิตอุปกรณ์บางส่วนที่ยังขาดแคลน และทีมอาสาสมัครจากหลากหลายมหาวิทยาลัย

“ในสภาวะที่ยากลำบากนี้เราได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของคนในสังคมทั้งผู้ที่ต้องการบริจาคได้ติดต่อเข้ามาเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยทั้งพัฒนาระบบหลังบ้านและรับข้อมูลต่างๆ แต่โครงการของเรายังต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ” นางสาวช่อทิพย์กล่าว ก้าวต่อไปของอินโฟเอดจะไม่จำกัดแค่เรื่องระบบสาธารณสุข แต่เตรียมจะพัฒนาฐานข้อมูลกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม ได้แก่  เด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้พิการ ผู้หญิง พนักงานบริการ แรงงานข้ามชาติ และคนไร้บ้าน ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงและมีทางเลือกในชีวิตท่ามกลางวิกฤติไม่มากนักและยังต้องเผชิญปัญหาหนักหนาสาหัสกว่าคนอื่นๆ ทั้งเรื่องสุขภาพและปัญหาปากท้อง ที่อินโฟเอดพร้อมจะทำหน้าที่พื้นที่ตรงกลางเชื่อมต่อความช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้เกิดขึ้น

“อินโฟเอดอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลจากมูลนิธิต่าง ๆ รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เห็นภาพและจำนวนของกลุ่มคนเหล่านี้ก่อนดำเนินการช่วยเหลือต่อไป” นายธนภณกล่าว

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการร่วมสนับสนุนเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับกลุ่มเปราะบาง ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://infoAid.org หรือทำความรู้จัก infoAid ที่ https://youtu.be/OQr9cl0UfZU

หรือถ้าต้องการร่วมสมทบทุนโครงการเพื่อสังคมสู้โควิด–19 สามารถทำได้โดยตรง ผ่านเทใจ https://bit.ly/2VuyTQC ซึ่งแต่ละโครงการมีเป้าหมายช่วยบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เพราะยังมีความต้องการต่อเนื่อง