การสื่อสารในยุค Digital Transformation ให้โอกาสมนุษย์เดินดินมากมาย แต่ขณะเดียวกัน เต็มไปด้วยความเสี่ยง เพราะในทุกๆ ข้อมูลข่าวสาร สามารถกระจายได้ไวยิ่งกว่าไวรัส บนผลประโยชน์ในเกมธุรกิจ ตลอดจนการแย่งชิงความนิยมชมชอบในผู้คนกลุ่มต่างๆ แต่..ปัญหาคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งไหน “ข่าวจริง” หรือ “ข่าวปลอม” ?!
นั่นคือที่มาของกิจกรรมเวิร์คชอป “รู้ทันป้องกัน Fake News” โดยบริษัท เทลสกอร์ จำกัด ผู้ขับเคลื่อนโครงการ“G-Youth by Tellscore” เพื่อบ่มเพาะน้องๆ นักสื่อสารเยาวชนระดับมหาวิทยาลัยได้ติดอาวุธทางปัญญา รู้จักวิธีการ และเครื่องมือในการเช็คข่าว รู้เท่าทันสื่อ ทั้งจาก มรภ.สวนสุนันทาและสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์จำนวน 40 คน ที่จะเติบโตไปเป็นนักสื่อสารที่ดีและสามารถวิเคราะห์ข่าวที่เกิดขึ้นในสังคมได้ดียิ่งขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรตัวจริง เสียงจริง ได้แก่ “คุณโย- พีรพล อนุตรโสตถิ์” ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ช่อง 9 อสมท. และ “คุณแบงค์-ธรรธฤต ปั้นทอง” จากเพจอีจัน (รายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/3jHMdLt )
“ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” จัดตั้งขึ้นเพื่อคอยเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารที่ส่งต่อเผยแพร่กันบนสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่น่าตกใจ ต้องสงสัย หรือกระทบสุขภาพและความเข้าใจของประชาชน ที่ผ่านมาได้รับกระแสตอบรับที่ดี มีผู้เข้ามาสอบถามผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างหลากหลายแล้วนับแสนครั้ง มีผู้เข้าชมผ่านเว็บไซต์กว่า 1 ล้านวิว ขณะที่คลิปวิดีโอบน YouTube ของชัวร์ก่อนแชร์ ถูกค้นหาขึ้นมาดูซ้ำรวมนับล้านวิว ส่วนคลิปวีดิโอที่มีผู้เข้าชมจำนวนมากในช่วงการระบาดของโควิด19 คือ “คลิปไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Novel Coronavirus 2019)” มีการเข้าชมกว่า 339,153 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีเฟซบุ๊คเพจ “ชัวร์ก่อนแชร์” มีผู้ติดตาม 280,891 คน และรายการชัวร์ก่อนแชร์ ผลิตโดยศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท ออกอากาศทางข่าวค่ำ ช่อง 9 MCOT HD 30
“อีจัน” เพจชื่ออีจัน มีผู้ติดตามจำนวน 10,924,181 คน เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักข่าวอาชญากรรมที่มีประสบการณ์ทำข่าวคดีมายาวนานกว่า 20 ปี ที่ชื่อว่าการทำข่าวเผยแพร่ ตีแผ่ความจริง และยืนข้างความเป็นธรรม ซึ่งประเด็นที่เพจอีจันนำเสนอมักมีข้อมูลเชิงลึกที่สกัดประเด็นได้อย่างแหลมคม และสรุปใจความสำคัญให้สังคมต้องติดตาม เริ่มต้นด้วยการเล่าจุดอ่อนจุดแข็งและวิธีการนำเสนอข่าวของเพจอีจัน และบอกเล่าการนำเสนอข่าวในแบบฉบับของเพจอีจันว่ามี 4 รูปแบบ คือ 1. ข่าวอาชญากรรม 2.ข่าวในกระแส 3. ข่าวช่วยประชาชน 4.ข่าวประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะข่าวช่วยประชาชนคุณแบงค์บอกว่าจะเป็นรูปแบบระดมทุนช่วยเหลือ ที่ผ่านมาเพจอีจันสามารถช่วยเหลือทั้งบุคคล/องค์กร
ความรอบรู้ที่ได้รับการแบ่งปันจากวิทยากรนั้น มีประโยชน์ต่อคนทุกกลุ่มวัย เพราะปัญหาข่าวปลอมเป็นปัญหาของทุกคนในสังคมที่จะต้องร่วมกันตื่นตระหนักและระมัดระวังที่จะไม่ตกเป็นเครื่องมือหรือผู้แชร์ข่าวปลอม
“เมื่อเรารู้อะไรมา ไม่ควรตัดสินทันที แต่ควรที่จะหาข้อมูลของเรื่องนั้นให้มากพอก่อน” คุณโย ชัวร์ก่อนแชร์กล่าวและว่า ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ เปิดกลเม็ดในการตรวจสอบข้อเท็จจริง/ข่าว ว่าปลอมหรือไม่ ด้วยการ 1.ต้องสืบหาต้นตอ 2.วิเคราะห์ที่มา และ 3.ตรวจสอบเนื้อหา
ขณะที่ “คุณแบงค์-ธรรธฤต ปั้นทอง” จากเพจอีจัน แบไต๋ถึงวิธีการรู้เท่าทันสื่อในแบบฉบับของเพจอีจัน ว่า มี 3 ข้อสำคัญ คือ 1.รู้เท่าทันข่าวปลอม คือการตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าว 2.รู้เท่าทันคนปลอม คือวิเคราะห์บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข่าวว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ 3.รู้เท่าทันนิสัยปลอม คือการมองบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข่าวว่ามีนิสัยเป็นอย่างไร
คุณแบงก์ได้แนะนำการตรวจสอบข่าวปลอมว่า ต้องตรวจสอบแหล่งที่มาให้แน่ชัด สอบถามผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งสำหรับเพจอีจันก็คือการสอบถามจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้ และที่สำคัญคือต้องรอบด้านและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมของทั้งสองฝ่าย
ภัยจากข่าวปลอมเป็นเรื่องที่ท้าทายสังคมไทย หากเราทุกคนเข้าใจและระมัดระวังโดยนำหลักการสำคัญไปใช้ก่อนการแชร์หรือส่งต่อ เชื่อว่าสังคมของเราจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ดังที่เทลสกอร์ได้พยายามบ่มเพาะนักสื่อสารเยาวชน
โครงการ G-Youth by Tellscore เป็นความตั้งใจของเทลสกอร์ที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมตามพันธกิจ Media for Change ที่ผลักดันให้อินฟลูเอ็นเซอร์เข้ามาสนับสนุน ไม่เพียงเท่านั้นยังมีภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วม โดยงานนี้ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด และบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)
สำหรับกิจกรรมเวิร์คช้อปครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ส่วนครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน ศกนี้ หัวข้อร้อนแรง “Cyber Bully” สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารโครงการได้ที่เพจ G-Youth Good Power