นิยาม

กลไกสร้างการมีส่วนร่วมในด้านเสริมสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการลงทุน เป็นความร่วมมือของภาคตลาดทุน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และประชาชนทั่วไป โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 10 บริษัท ซึ่งมีมูลค่ากองทุนภายใต้การบริหารกว่าร้อยละ 90 ของตลาดทุนรวมได้ร่วมจัดตั้งกองทุนรวมหุ้น 10 กองทุนที่แยกการบริหารอย่างอิสระ เน้นลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ได้รับการประเมินจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ในระดับดีมากและดีเลิศ (CG Rating Score 4-5) และเป็นบริษัทที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai CAC)

วิสัยทัศน์

"กลไกความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคมผ่านการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนทางธุรกิจและผลลัพธ์ทางสังคมด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านคอร์รัปชัน"

พันธกิจ

กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการดูแลกำกับกิจการที่ดี พิจารณาจากการประเมิน CG Rating Score ในระดับที่ดีมากหรือดีเลิศ และได้รับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต จากนั้นจะนำรายได้ 40% ของค่าธรรมเนียมจัดการกองทุนที่ได้รับ ไปสนับสนุนการทำงานส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านคอร์รัปชันในสังคมไทย"

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้ลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบัน

ในฐานะผู้สนับสนุนบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมผ่านกลไกค่าบริหารจัดการกองทุนฯ

บลจ. 11 องค์กร

ในฐานะผู้บริหารกองทุนฯ ที่เชื่อมโยงเงินและความมีส่วนร่วมของผู้ลงทุนเข้ากับโครงการเพื่อสังคม

องค์กรตัวกลางด้านสังคม

ในฐานะผู้สรรหา คัดเลือก พัฒนา ประสานงาน ติดตามความก้าวหน้าและผลลัพธ์ของโครงการเพื่อสังคมที่เข้ารับการสนับสนุนจากกองทุนฯ

โครงการและองค์กรที่ทำงานส่งเสริมธรรมาภิบาล และต่อต้านคอร์รัปชันในสังคมไทย

ในฐานะผู้รับการสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินโครงการจากกองทุน

ผลผลิต - ผลลัพธ์ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย ปี 2567

กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทยได้สนับสนุนโครงการที่มีแนวคิดในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านการคอร์รัปชัน ไปแล้วทั้งสิ้น 25 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 97,463,765.00 บาท โดยในปี 2567 กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทยให้การสนับสนุน 3 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 16,414,500.00 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผลผลิต

3 โครงการ / 3 องค์กร

ผู้รับประโยชน์

32,123 คน / 3 องค์กร

พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม

32,123 คน / 47 องค์กร

ผู้บริจาค

10 องค์กร

โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนในปี 2567 จำนวน 3 โครงการ

โครงการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

รายละเอียดโดยสังเขป

  • โครงการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน โดย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ตลาดทุนสามารถเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยภาครัฐในการบรรลุเป้าหมายด้านการสร้างความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่ประเทศ รวมไปถึงให้ตลาดทุนเป็นช่องทางหลักอันเปี่ยมประสิทธิภาพสำหรับการเกษียณอายุที่มีคุณภาพของประชาชนไทย สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจในการลงทุนเพื่อความยั่งยืนสำหรับผู้ลงทุนเองและเพื่อประเทศชาติและคนรุ่นหลัง โดยคาดว่าจะสามารถสื่อสารได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายกว่า 2 ล้านคน มีผู้ลงทุนในกองทุนกว่า 200,000 ราย ยอดเงินลงทุนทั้งสิ้นในปี 2567 จำนวนไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท

โครงการ Big Open Data เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (ระยะที่ 2)

รายละเอียดโดยสังเขป

  • โครงการ Big Open Data เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (ระยะที่ 2) เป็นโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเปิดขนาดใหญ่ที่สำคัญในการต่อต้านคอร์รัปชัน ประกอบด้วย ข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ข้อมูลผู้ค้าภาครัฐและนิติบุคคล ข้อมูลประวัติการดำรงตำแหน่งของข้าราชการการเมืองและข้าราชการระดับสูง ข้อมูลบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ข้อมูลพรรคการเมืองและรายนามผู้บริจาคให้พรรคการเมือง ข้อมูลเกี่ยวกับคดีความ คำชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้อมูลการบังคับใช้กฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายงบประมาณ เช่น ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการต่อต้านการทุจริตในการเลือกตั้งท้องถิ่น (พลิกชีวิตมหาศาล)

รายละเอียดโดยสังเขป

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการต่อต้านการทุจริตในการเลือกตั้ง-ท้องถิ่น (พลิกชีวิตมหาศาล) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังการเลือกตั้งและการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารท้องถิ่นหลังจากที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปดำรงตำแหน่ง ซึ่งโครงการนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่จะสร้างชุมชนที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม และมีธรรมาภิบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการต่อต้านการทุจริตในท้องถิ่น

จุดประสงค์และผลลัพธ์ที่คาดหวัง:

  • จัดทำสื่อเพื่อ รณรงค์สร้างความตระหนักรู้ เกี่ยวกับประเด็นการต่อต้านการทุจริตและการเลือกตั้งท้องถิ่น
  • ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในสังคมในการต่อต้านการคอร์รัปชันในระดับที่จับต้องได้และใกล้ตัว
  • ทำให้เกิดการกระจายสื่อและเครื่องมือเข้าสู่พื้นที่เครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและการจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน ด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และการเลือกตั้งท้องถิ่น

ผู้รับผิดชอบโครงการ: มูลนิธิองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)และภาคีเครือข่าย

กระบวนการทำงาน : โครงการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งจะมุ่งเน้นการสร้างสื่อเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกผู้นำที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ผ่านการผลิตสื่อหนังสั้นเชิงเปรียบเทียบ และกรณีศึกษา นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเว็บไซต์ “พลิกชีวิต มหาศาล” เพื่อรวบรวมสื่อ และข้อมูล เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยมีเครื่องมือคำถามชวนคิดชวนคุย เรื่องการมีส่วนร่วมและตรวจสอบการเลือกตั้ง ที่ออกแบบมาเพื่อฝึกอบรมประชาชน และเครือข่ายชุมชนให้พร้อมสำหรับการสังเกตการณ์และตรวจสอบความโปร่งใสในการเลือกตั้ง

ระยะที่ 2 ซึ่งเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งโครงการจะขยายขอบเขตของเครือข่ายตรวจสอบ โดยมี หลักสูตรการเรียนรู้ ในรูปแบบออนไลน์ (E-Learning) และชุดเครื่องมือชวนคิดชวนคุยอีกหนึ่งชุด ในการฝึกอบรมประชาชนและเครือข่ายชุมชนให้สามารถติดตามและตรวจสอบการทำงานของนายก อบจ. เพื่อป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และกลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชน

โครงการที่ได้รับการสนับสนุนปีก่อนหน้านี้และความก้าวหน้า

1. โครงการ CAC SME Certification

- สร้างเครือข่าย Supply chain ที่มีแนวปฏิบัติ/ระบบควบคุมภายใน ในการไม่ให้ ไม่รับสินบน

ความก้าวหน้าและผลกระทบทางสังคม

  • ปัจจุบัน CAC มีการประชาสัมพันธ์และทำแคมเปญเพื่อสื่อสารกรณีศึกษาบริษัทที่ประสบความสำเร็จ (Success Story) บนช่องทาง Facebook Fan Page
  • ส่งเสริมแคมเปญ​ No Gift Policy ในแต่ละบริษัท หากโพสต์ของบริษัทไหนมียอดการมีส่วนร่วมสูง จะได้สิทธิประโยชน์คอร์สเรียน CAC สำหรับบริษัทเอกชน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • SME Certificate มีการจัดอบรมให้กับ Change Agent โดยเปิดโอกาสให้บริษัทที่เข้าร่วมเชิญ Supply Chain เข้าร่วมฟังบรรยายเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ทั้งนี้ จุดประสงค์คือ ต้องการให้ Supply Chain ได้รับผลประโยชน์อย่างเท่ากัน โดยปัจจุบันมีบริษัทเข้าร่วมอยู่ประมาณ 50 บริษัท
  • มีการปรับเกณฑ์เงื่อนไข SMEs จากทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 1,000 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท เพื่อขยายขอบเขตการรับสมัคร SME เข้าร่วมการต่อต้านคอร์รัปชัน และมีการประเมิน 17 ข้อ อีกทั้ง ปัจจุบันมีการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับ E-Learning และแบบทดสอบจำนวน 71 ข้อ โดยคาดว่าจะเสร็จกลางปีหน้า
  • มีการเปิดรับ SMEs สำหรับบริษัทที่สนใจ ให้คำปรึกษาผ่านคลินิก และเข้ามาเรียนได้ฟรี 

2. โครงการ Big Open Data เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน

- พัฒนาระบบฐานข้อมูลเปิดที่เป็นประโยชน์ต่อการต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน (สิ้นสุดการดำเนินโครงการระยะที่ 1 โดยอยู่ระหว่างต่อยอดพัฒนาโครงการระยะที่ 2)

ความก้าวหน้าและผลกระทบทางสังคม

  • จากการเก็บรวบรวมข้อมูลปี 2566 มีผู้เข้าใช้งานระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ACT Ai 44,199 Users โดยมีผู้ใช้งานสะสม จำนวน 116,107 Users จากการใช้งานเรียกเปิดเอกสาร (Pageview) 215,927 ครั้ง รวมสะสมตั้งแต่ทำระบบจำนวน 588,103 ครั้ง (ข้อมูลวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566)
  • พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้าง และปรับโครงสร้างพื้นฐาน ฐานข้อมูลระบบ ACT Ai ปัจจุบันมีข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างในระบบจำนวน 31,483,474 โครงการ และมีข้อมูลผู้ค้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 2,559,920 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566)
  • รวบรวมชุดข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมความโปร่งใสอื่น ๆ ได้แก่ ชุดข้อมูลบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน, ชุดข้อมูลการบริจาคแก่พรรคการเมือง, ชุดข้อมูลรายนามผู้บริหารกระทรวงและข้าราชการระดับสูง, ชุดข้อมูลคำพิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง, ชุดข้อมูลคำชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช., ชุดข้อมูลการบังคับใช้กฎหมายของ กลต., ชุดข้อมูลโครงการก่อสร้าง (CoST), ชุดข้อมูลโครงการภายใต้ พรก. กู้เงินโควิด19, ชุดข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด, ชุดข้อมูลโรงเรียนสังกัด สพฐ. และชุดข้อมูลเบาะแสทุจริตจากภาคประชาชน
  • เกิดระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับสังคมในการร่วมติดตาม ตรวจสอบ และมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชัน ด้วยเครื่องมือสู้โกง 9 ฟังก์ชัน ได้แก่ จับโกงจัดซื้อจัดจ้าง, จับโกงเครือข่ายความสัมพันธ์, จับโกงงบ COVID, จับโกงงบ อบจ., Build Better Lives by CoST, โรงเรียนโปร่งใส, ฟ้องโกงด้วยแชตบอต, ฐานข้อมูลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง และ ฐานข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน
  • เกิดเครือข่ายดำเนินงาน 29 หน่วยงาน (รวมสื่อ 16 แห่ง) อาทิ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน), บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI), กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.), โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพมหานคร, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), สถาบัน Change Fusion, Wevis เทคโนโลยีภาคประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, สำนักข่าวอิศรา, สำนักข่าวประชาไท, สำนักข่าว ThaiPBS, สำนักข่าวช่อง7, สำนักข่าวเนชั่น, สำนักข่าวออนไลน์ The MATTER ฯลฯ
  • ขยายผลการใช้งาน การประชาสัมพันธ์และแนะนำเครื่องมือ ผ่านการบรรยายเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์กร/หน่วยงานที่มีภารกิจในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สถาบันพระปกเกล้า, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), กรมสอบสวนคดีพิเศษ, กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.), กรมการปกครอง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Private Sector Collective Action against Corruption : CAC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร และหลักสูตรอบรมพิเศษเพื่อการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันของภาคเอกชนอื่น

3. โครงการยกระดับคุณภาพ ป่าชุมชนเพื่อระบบนิเวศที่สมบูรณ์ การสร้างความมั่นคงของชีวิตและการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล

- พัฒนาศักยภาพของชุมชนและการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติบนแนวความคิดธรรมาภิบาลป่าไม้สู่ความยั่งยืน

ความก้าวหน้าและผลกระทบทางสังคม

  • ป่าชุมชนที่มีข้อตกลงการแบ่งปันประโยชน์ มีการกำหนดในแผนการจัดการป่าชุมชน จำนวน 30 พื้นที่ป่า
  • มีการจัดทำแผนการจัดการป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและได้รับการอนุมัติ จำนวน 30 พื้นที่ป่า
  • ฐานข้อมูลป่าชุมชนได้ถูกนําเข้าสู่ www.thaicfnet.org จำนวน 400 แห่ง
  • คณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัด อย่างน้อย 30% เข้าร่วมประชุมกับเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง
  • ความพึงพอใจของคณะกรรมการต่อการใช้ข้อมูล 70%
  • จัดการประชุมระหว่าคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชนและกรมป่าไม้ จำนวน 2 ครั้ง
  • จัดทำรายงานสถานการณ์และการสะท้อนการติดตาม การบริหารจัดการป่าชุมชนประจำปี เพื่อให้หน่วยงานตอบรับข้อเสนอแนะที่นําเสนอโดยตัวแทนเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง จำนวน 1 ฉบับ
  • เวทีการประชุมระดับจังหวัด 2 ครั้ง
  • จัดทำรายงานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับจังหวัด จำนวน 1 เล่ม
  • จัดเวทีการประชุมระดับประเทศ 2 ครั้งและจัดทำแผนความร่วมมือร่วมกันจำนวน 1 แผน
  • จัดการฝึกอบรมผู้นำรุ่นใหม่จำนวน 30 คนและจัดทำแผนการจัดการป่าชุมชนจำนวน 30 แผน
  • มีพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 30 แห่งที่นำระบบการติดตามและประเมินป่าชุมชนไปใช้จริง
  • จัดการประชุมเพื่อนำเสนอรายงานการติดตามประเมินป่าชุมชนให้กับหน่วยงานจำนวน 10 หน่วยงาน

4. โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในระดับท้องถิ่น อ.จะนะ จ.สงขลา

- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น จัดเก็บข้อมูลทรัพยากรและสร้างข้อมูลกลางในรูปแบบ open data เพื่อบริการชุมชน ตลอดจนส่งเสริมการสื่อสารข้อมูลอย่างสร้างสรรค์

ความก้าวหน้าและผลกระทบทางสังคม

  • จัดเวทีทบทวนยุทธศาสตร์เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นร่วมกับกลุ่มย่อยอื่น ๆ ในเครือข่าย ในวันที่ 1 มีนาคม 2566
  • จัดประชุมแผนยุทธศาสตร์เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น เรื่อง “จะนะเมืองการศึกษา” เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566
  • จัดทําชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจะนะโดยมีการแลกเปลี่ยนกับชุดข้อมูลของกรีนพีซและร่วมจัดกิจกรรมจากฐานทรัพยากร
  • จัดกิจกรรม “จะนะถนนสายศิลปะ” (Chana Art Street) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2566
  • จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทําแผนที่และฐานข้อมูลชุมชนอย่างมีส่วนร่วม” (Participatory Mapping & Community Database Design Workshop)
  • กิจกรรมทบทวนและระดมความคิดเห็นยุทธศาสตร์จะนะยั่งยืนโดยเครือข่ายภาคประชาชน ณ บ้านบ่อโชน อ.จะนะ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566

โครงการที่ได้รับการสนับสนุนและสร้างผลกระทบทางสังคมในปี 2567

โครงการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

ผลกระทบทางสังคม

  • อยู่ระหว่างติดตามผลการดำเนินงาน

โครงการ Big Open Data เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (ระยะที่ 2 )

- พัฒนาระบบฐานข้อมูลเปิดที่เป็นประโยชน์ต่อการต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน

ผลกระทบทางสังคม

  • จากการเก็บรวบรวมข้อมูลปี 2567 มีผู้เข้าใช้งานระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ACT Ai 27,993 Users โดยมีผู้ใช้งานสะสม จำนวน 144,100 Users จากการใช้งานเรียกเปิดเอกสาร (Pageview) 166,083 ครั้ง รวมสะสมตั้งแต่ทำระบบจำนวน 754,186 ครั้ง (ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2567)
  • พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้าง และปรับโครงสร้างพื้นฐาน ฐานข้อมูลระบบ ACT Ai ปัจจุบันมีข้อมูล โครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเข้าสู่ระบบรวม 39,325,722 โครงการ และมีข้อมูลผู้ค้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 2,761,901 ราย โดยมีบริษัท ไอแอพพ์เทคโนโลยี จำกัด รับผิดชอบการดูแลรักษาระบบเป็นระยะเวลา 1 ปี และจะสิ้นสุดการดูแลรักษาระบบในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568
  • สถิติการใช้งานเครื่องมืออื่น ๆ ภายใต้ ACT Ai ปี 2567 รายละเอียดดังนี้
    • ฐานข้อมูลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการระดับสูง มีผู้ใช้งานจำนวน 920 Users จากการใช้งานเรียกเปิดเอกสาร (Pageview) 5,986 ครั้ง
    • ฐานข้อมูลจับโกง อบจ. มีผู้ใช้งานจำนวน 468 Users จากการใช้งานเรียกเปิดเอกสาร (Pageview) 1,132 ครั้ง
    • ฐานข้อมูลโรงเรียนโปร่งใส มีผู้ใช้งานจำนวน 926 Users จากการใช้งานเรียกเปิดเอกสาร (Pageview) 8,616 ครั้ง
    • ฐานข้อมูลเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน มีผู้ใช้งานจำนวน 1,798 Users จากการใช้งานเรียกเปิดเอกสาร (Pageview) 8,852 ครั้ง
    • เกิดเครือข่ายดำเนินงาน 36 หน่วยงาน เช่น องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน), บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI), กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.), โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพมหานคร, Open Contracting Partnership (OCP), UNODC, NDI, ศูนย์ KRAC Corruption, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), สถาบัน Change Fusion, มูลนิธิเพื่อ “คนไทย”, Wevis เทคโนโลยีภาคประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, สำนักข่าวอิศรา, สำนักข่าวประชาไท, สำนักข่าว ThaiPBS, สำนักข่าวช่อง7, สำนักข่าวเนชั่น, สำนักข่าวออนไลน์ The MATTER, ฐานเศรษฐกิจ, THE STANDARD, FM.96.5 วิทยุ อสมท., The Momentum, The Reporter, สำนักข่าวออนไลน์ สงขลาโฟกัส (Songkhla Focus), สำนักข่าวนครเชียงรายนิวส์, Lanner, The Esan Record, สำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์ Tellscore  ฯลฯ
    • ขยายผลการใช้งาน การประชาสัมพันธ์และแนะนำเครื่องมือ ผ่านการบรรยายเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์กร/หน่วยงานที่มีภารกิจในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สถาบันพระปกเกล้า, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), กรมสอบสวนคดีพิเศษ, กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.), กรมการปกครอง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Private Sector Collective Action against Corruption : CAC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร และหลักสูตรอบรมพิเศษเพื่อการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันของภาคเอกชนอื่น

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการต่อต้านการทุจริตในการเลือกตั้งท้องถิ่น (พลิกชีวิตมหาศาล)

- นิทานที่ออกแบบผ่านมุมมองเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในการสร้างค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงให้กับเด็ก

ผลกระทบทางสังคม

  • อยู่ระหว่างติดตามผลการดำเนินงาน

รายละเอียดเพิ่มเติม www.cgfundthailand.com