นิยาม

กองทุนสื่อเพื่อความยุติธรรมในสังคม เป็นกลไกยกระดับมาตรฐานจริยธรรมสื่อ ผ่านการตกลงใช้มาตรฐานร่วมกัน ได้แก่ หลักความจริงและความถูกต้อง ความเป็นอิสระ ไม่มีผลประโยชน์ขัดกับความเป็นธรรมและความตรงไปตรงมา โดยกองทุนนี้มีคณะทำงาน Catalyst ชุด "การลงทุนเพื่อสังคม" ซึ่งหมายถึง บริษัท เช้นจ์ เวนเจอร์ จำกัด เป็นแกนในการขับเคลื่อน กองทุนนี้มีเป้าประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานและศักยภาพของสื่อมวลชนให้เกิดความโปร่งใส มีธรรมาภิบาลที่ดี แสวงหาความจริง สร้างผลเชิงบวกต่อสังคมได้จริง เปิดโอกาสให้เกิดนักข่าวรุ่นใหม่และสื่อใหม่ๆ พัฒนาความสามารถ ในการขยายผลจากข่าวให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้จริงเป็นวงกว้างต่อยอดไปสู่กระบวนการทางสังคมได้ (Social Movement) พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืนขององค์กร

วิสัยทัศน์

"การลงทุนเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศสื่อที่ยั่งยืน"

พันธกิจ

กองทุนสื่อเพื่อความยุติธรรมในสังคมสนับสนุนและลงทุนในการสร้างระบบนิเวศสื่อเพื่อการแสวงหาความจริง ความถูกต้อง และสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยมุ่งให้เกิดสื่อคุณภาพในประเทศไทยที่มีความแข็งแรง สามารถนำเสนอความจริง ติดตามตรวจสอบประเด็นทางสังคมที่สำคัญ และเป็นที่พึ่งของประชาชนได้

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นักข่าวและองค์กรสื่อ
โดยสนับสนุนในลักษณะโครงการพัฒนาเนื้อหา (Issues Reporting) และพัฒนาศักยภาพ (Capacity Development)

องค์กรตัวกลางด้านสังคม
ในฐานะผู้สรรหา คัดเลือก พัฒนา ประสานงาน ติดตามความก้าวหน้าและผลลัพธ์ของโครงการที่เข้ารับการสนับสนุนจากกองทุนฯ

โครงการและองค์กรที่ทำงานด้านการยกระดับมาตรฐานจริยธรรมสื่อ
ในฐานะผู้รับการสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินโครงการจากกองทุน

ประชาชนผู้รับประโยชน์ปลายทาง
มีส่วนร่วมในการให้และรับข้อมูลข่าวสารเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความโปร่งใสในสังคม

ผลผลิต - ผลลัพธ์กองทุนสื่อเพื่อความยุติธรรมในสังคม ปี 2565

ในปี 2565 การดำเนินงานของกองทุนสื่อเพื่อความยุติธรรมในสังคมมีการขยายความร่วมมือกับภาคีต่างๆทำให้เกิดการยกระดับมาตรฐานและศักยภาพของสื่อมวลชนให้เกิดความโปร่งใส มีธรรมาภิบาลที่ดี แสวงหาความจริง สร้างผลเชิงบวกต่อสังคม โดยมีโครงการระดับประเทศที่ได้รับการสนับสนุนและขับเคลื่อนร่วมกันต่อเนื่อง นับแต่ปี 2562-2565 จำนวน 4 โครงการ อย่างไรก็ตาม สำหรับปี 2565 กองทุนสื่อเพื่อความยุติธรรมในสังคมมุ่งเน้นขยายงานโครงการเดิมต่อเนื่อง จึงยังไม่มีโครงการใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. โครงการ Big Open Data เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน

- โครงการพัฒนาฐานข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการสร้างความโปร่งใสในสังคมและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจการทำงานของรัฐ

ภาพรวมความก้าวหน้า :

  • จากการเก็บรวบรวมข้อมูลปี 2565 มีผู้เข้าใช้งานระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ACT Ai 29,252 Users โดยมีผู้ใช้งานสะสมตั้งแต่ทำระบบจำนวน 71,541 Users จากการใช้งานเรียกเปิดเอกสาร (Pageview) 165,458 ครั้ง รวมสะสมตั้งแต่ทำระบบจำนวน 372,275 ครั้ง (ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2565)
  • พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้าง และปรับโครงสร้างพื้นฐาน ฐานข้อมูลระบบ ACT Ai ปัจจุบันมีข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างในระบบจำนวน 26,851,083 โครงการ และมีข้อมูลผู้ค้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 2,409, 746 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565) และรวบรวมชุดข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมความโปร่งใสอื่น ๆ ได้แก่ ชุดข้อมูลบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน ชุดข้อมูลการบริจาคแก่พรรคการเมือง ชุดข้อมูลรายนามผู้บริหารกระทรวงและข้าราชการระดับสูง ชุดข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ชุดข้อมูลคำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
  • เกิดระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (ACT Ai Open Data Center) และสามารถต่อยอดระบบอื่น ๆ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ จับโกงงบ COVID-19, ACT Ai Corrupt 0, Build Better Lives by CoST, จับตาไม่ให้ใครโกง Corruption Watch และระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ต่อยอดไอเดียจากกิจกรรม ACTkathon2021 ได้แก่ ผ่างบเมือง และ ACT Ai Connection
  • เกิดเครือข่ายดำเนินงาน 29 หน่วยงาน (รวมสื่อ 16 แห่ง) อาทิ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน), บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), กรุงเทพมหานคร, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), สถาบัน Change Fusion, Wevis เทคโนโลยีภาคประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, สำนักข่าวอิศรา, สำนักข่าวประชาไท, สำนักข่าว ThaiPBS, สำนักข่าวช่อง7, สำนักข่าวเนชั่น, สำนักข่าวออนไลน์ The MATTER ฯลฯ 
  • ขยายผลการใช้งาน การประชาสัมพันธ์และแนะนำเครื่องมือ ผ่านการบรรยายเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์กร/หน่วยงานที่มีภารกิจในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), กรมสอบสวนคดีพิเศษ, กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.), กรมการปกครอง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Private Sector Collective Action against Corruption : CAC) และหลักสูตรอบรมพิเศษเพื่อการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันของภาคเอกชนอื่น

2. โครงการ Crowdsourcing Platform

- โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มสร้างการมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลเบาะแสหรือเหตุสงสัยการทุจริตคอร์รัปชันหรือความไม่ชอบมาพากลในสังคมอื่นๆ โดยทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคีสื่อในการแก้ปัญหา และยังให้ความรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันอีกด้วย โดยขณะนี้แพลตฟอร์มดังกล่าวจะประกอบไปด้วย

1) เพจต้องแฉ (Must share)

- เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มภาคีหลากหลายองค์กร สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของภาคประชาชน ด้วยกระบวนการ Crowdsourcing โดยการร่วมกันส่งข้อสงสัยและข้อมูลให้เครือข่ายภาคประชาชนร่วมตรวจสอบ สำนักข่าวต่าง ๆ ร่วมกันเผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดการติดตาม และผลักดันให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหา

ภาพรวมความก้าวหน้า :

  • จำนวนผู้ถูกใจ (Like) 54,771 Likes 
  • เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 4,347 Likes
  • จำนวนผู้ติดตาม (Follower) 77,689 Followers เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 6,000 Followers
  • เปิดเผยและสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมในประเด็นทุจริตคอร์รัปชันจำนวน 326 เรื่อง
  • จัดทำ Infographic, clip video, สื่อต่าง ๆ ให้ข้อมูลเพื่อสร้างความตระหนักรู้ทุจริตคอร์รัปชันจำนวน 3 เรื่อง 
  • เกิดการขยายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย ภาครัฐ กลุ่มท้องถิ่นและสื่อต่าง ๆ หน่วยงานภาครัฐ 37 หน่วยงาน สำนักข่าว 22 สำนักฯกลุ่มท้องถิ่น 128 กลุ่มเพจเฟซบุ๊ก 32 เพจ  และมีอาสาสมัคร 336 คน 

มีจำนวนประเด็นที่สร้างผลการเปลี่ยนแปลง ภาคีเครือข่ายและอาสาสมัครผู้ส่งเบาะแสในเพจต้องแฉ 42 ประเด็น เช่นหอชุมเมืองสมุทรปราการสร้าง 10 ปีไม่เปิดใช้งานจ.สมุทรปราการ, การจัดซื้อเสาไฟกินรีจ.สมุทรปราการ, โครงการจัดทำซุ้มสะพานลอยเฉลิมพระเกียรติพร้อมติดตั้งระบบไฟฟ้าจ.สมุทรปราการ, ศูนย์จัดกิจกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP ของชุมชนทิ้งร้างจังหวัดนครพนม, จุดจอดพักรถบรรทุกสร้างไม่ถูกใช้งานจังหวัดยโสธร, เป็นต้น

2) Line Chat Bot จับตาไม่ให้ใครโกง (Corruption Watch)

- เครื่องมือสนับสนุนภาคประชาชนในการร่วมกันจับตา ส่งเบาะแสเหตุสงสัยทุจริตคอรร์รัปชันในแต่ละพื้นที่ ได้อย่าง “ปลอดภัย” เช่น การจัดซื้อจัดจ้างช่วงโควิด-19, การทุจริตในสถานศึกษา, เจ้าหน้าที่รัฐร่ำรวยผิดปกติ เป็นต้น และสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ สื่อมวลชนและภาคประชาชน ในการร่วมกันรักษาผลประโยชน์สาธารณะ แก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันและสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในสังคม (อยู่ระหว่างการพัฒนา)

ภาพรวมความก้าวหน้า

  • จัดทำ Line Chat Bot สำหรับผู้ต้องการรายงานเหตุสงสัยทุจริตคอร์รัปชัน ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
  • จัดทำข้อมูลสำหรับผู้ดูแล เพื่อใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
  • จัดทำเว็บไซต์สำหรับสาธารณะและสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการร่วมกันรักษาผลประโยชน์สาธารณะ 
  • มีจำนวนเหตุสงสัยทุจริตคอร์รัปชัน ที่ได้รับแจ้งผ่านระบบ ในปี 65 จำนวน 75 เรื่อง 
  • เกิดการขยายความร่วมมือกับสื่อออนไลน์ เพจต้องแฉ โดยถูกนำประเด็นไปเผยแพร่ต่อจำนวน 5 เรื่อง และประสานร่วมมือส่งต่อประเด็นกับสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 8 เรื่อง

3. โครงการ Newsworthy

- โครงการ Newsworthy ตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาข่าวลวงเชิงรุก โดยปรับจากการตรวจสอบข่าวลวงรายชิ้นเป็นการเลือกกลุ่มเนื้อหาข่าวลวงที่มีความสำคัญต่อสังคม โดยเฉพาะประเด็นที่มีผลต่อนโยบายสาธารณะหรือการต่อต้านความเข้าใจผิด อคติ นำมาตรวจสอบและพัฒนาวิธีการสื่อสารเพื่อกำหนดประเด็น และกำหนดวาระทางสังคมที่สามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงได้

ภาพรวมความก้าวหน้า : 

1. ความร่วมมือกับองค์กรด้านสื่อเพื่อทำโครงการตรวจสอบข่าวสาร  ได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สื่อชุมชนและสื่อท้องถิ่น Google News Initiative TikTok  Facebook  Internews AFP เป็นต้น  รวม  84 องค์กร  มีผู้เข้าร่วมการทำงานมากกว่า   3,000 คน

2. พัฒนาการจัดทำศูนย์ตรวจสอบข่าวระดับภูมิภาค 7 แห่ง ได้แก่  อุบลราชธานี  เชียงใหม่ พะเยา  สงขลา ภูเก็ต อุบลราชธานี ชลบุรี และตราด ทำให้เกิดการตรวจสอบข่าวและข้อมูลที่เกิดขึ้นในระดับภูมิภาคจำนวนทั้งสิ้น  245 ชิ้นงาน 

3 การตรวจสอบข่าวลือข่าวลวงของกองบรรณาธิการโคแฟค (fact-checkers) ช่วงมกราคม- ธันวาคม  2565 จำนวน 5,994  ข้อมูลที่ www.cofact.org เผยแพร่ผ่านเพจ Cofact โคแฟค มีผู้ติดตาม 5,300  คน  และ Line @CofactThailand  มีสมาชิกทั้งสิ้น 10,643 คน 

4. กองบรรณาธิการ และศูนย์ข้อมูลในแต่ละแห่ง รวมทั้งบุคคลทั่วไปได้เพิ่มข้อมูลลงในเว็บไซด์เป็นระยะเพื่อให้เกิดเคลื่อนไหว รวมทั้งสิ้น 372 โพสต์ การจัดกิจกรรมเพื่อชิงรางวัลตอบคำถามแจกเสื้อ Cofact เพื่อสร้างการมีส่วนรวมจำนวน 5 ครั้ง ประชาสัมพันธ์งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข่าวลวงข่าวปลอม เช่น การเสวนาของเครือข่าย การสำรวจ ข่าวต่างๆ ทั้งหมด 34 ครั้งและมีข้อมูลใหม่ที่ทันสมัยอยู่เสมอ จัดทำภาพอินโฟกราฟิกข่าวจริง-ลวง ,คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ ข่าวลวง  และภาพประกอบบทความ  รวมทั้งสิ้น 97 ชิ้นงาน   

5. มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพในการตรวจสอบข้อมูลและวิธีการใช้แพลตฟอร์มโคแฟคสำหรับกลุ่มต่างๆ  ได้แก่  นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ องค์กรวิชาชีพสื่อ เครือข่ายผู้บริโภค  อาสาสมัครด้านสุขภาพ กลุ่มผู้สูงอายุ พระสงฆ์   เพื่อขยายภาคีให้ได้มากขึ้น ครอบคลุม และ มีคุณภาพตามหลักวารสารศาสตร์ โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-checkers) ทั้งในเชิงประเด็น และ อาสาสมัครทั่วไป 

6. จัดเวทีเสวนานักคิดดิจิทัลในประเด็นสิทธิในข้อมูลข่าวสารและนโยบายสาธารณะ 3 ครั้ง 

7. การจัดสัมมนาระดับสากลแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับภาคีต่างประเทศและพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงสากลเนื่องในวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 

8. ผลิตรายการ Cofact Live Talk จำนวน 5 ครั้ง

9. ผลิตรายการ Cofact โดยร่วมกับภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ  จัดรายการ Zoom สื่อ ทาง Chularadio plus F.M. 101.5 MHz. จำนวน 12 ครั้ง

การขยายความร่วมมือ : 

1. การขยายความร่วมมือกับภาคีไปยังกลุ่มเป้าหมายเฉพาะจำนวน  5,112 คน  เพื่อให้มีการตรวจสอบข่าวในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มผู้หญิงในประเด็นด้านสุขภาพ  กลุ่มผู้สูงอายุ  อสม.  เป็นต้น

2. การจัดทำหลักสูตร E-learning  สำหรับการตรวจสอบข่าวด้วยตนเองทาง www.cofact.org 

3. การขยายผลการตรวจสอบข่าวไปยังสื่อชุมชน ท้องถิ่น  

4. โครงการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Governance for Sustainable Development Project)

- จากโครงการเวทีระดมความร่วมมือแผนปฏิบัติการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Governance for Sustainable Development Forum) ที่จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2564 เพื่อเชื่อมโยงภาคียุทธศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะองค์กรและกลุ่มเครือข่ายที่ขับเคลื่อนเรื่องธรรมาภิบาล เพื่อกำหนดทิศทางการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์ประกอบในการจัดเวทีดังกล่าว ได้แก่
1) การสร้างความมีส่วนร่วมในเรื่องธรรมาภิบาลให้กับสังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2) การสร้างความร่วมมือของโครงการที่มีในสังคมให้มีจุดเชื่อมและเกิดพลังในการร่วมมือกัน
3) เชื่อมโยงให้ประชาชนและเครือข่ายธุรกิจหรือประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
ธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม

ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้เกิดเป็นโครงการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2565 ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกลไกธรรมาภิบาลในแต่ละภาคส่วน โดยดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายด้านธรรมาภิบาลทั้งภายในภาคส่วนต่าง ๆ และข้ามภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย ฯ ให้เกิดเป็นกลไกส่งเสริมธรรมาภิบาลที่เป็นรูปธรรม
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในวงกว้างในกลไกส่งเสริมธรรมาภิบาลที่เกิดขึ้น

การดำเนินงานโครงการมีคณะทำงาน HAND Social Enterprise ทำหน้าที่ “Catalyst” สนับสนุนการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างองค์กรไปจนถึงระดับภาคส่วนให้กับภาคีในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นฝ่ายสนับสนุนภาคีเครือข่ายในการทำให้ความร่วมมือที่เกิดขึ้น สู่การลงมือปฏิบัติจริงเห็นผลเป็นรูปธรรมจนเกิดกลไกในการส่งเสริมธรรมาภิบาลในแต่ละภาคส่วนเป็นระบบนิเวศ กลายเป็นพลังทางสังคมที่มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบได้ต่อไป

ภาพรวมความก้าวหน้า : 

การดำเนินงานโครงการในปี 2565 เกิดการสร้างกลไกธรรมาภิบาลในแต่ละภาคส่วนที่มีองค์กรและภาคีเครือข่ายประสานพลังร่วมกันขับเคลื่อนธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. ภาคการเงินและการธนาคาร โดยธนาคารแห่งประเทศไทย 

– ธนาคารแห่งประเทศไทยและภาคีเครือข่ายได้กำหนดแผนการขับเคลื่อนงานด้านการให้ความรู้ทางการเงิน Financial Literacy ด้านการออมแก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ 

– ธนาคารแห่งประเทศไทยสร้างความร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และภาคีกว่า 20 หน่วยงาน ร่วมกันส่งเสริมความรู้ทางการเงิน โดยในปี 2565 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ผลักดันให้การส่งเสริมความรู้ทางการเงินอย่างเป็นวาระแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการให้ความรู้ทางการเงินสู่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ

– ธนาคารแห่งประเทศไทยสร้างความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการพัฒนาหลักสูตรหรือเครื่องมือออนไลน์ด้านการให้ความรู้ทางการเงิน Financial Literacy ด้านการออมให้แก่ผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้และขยายผลต่อยอดในโรงเรียนต่าง ๆ 

– ธนาคารแห่งประเทศไทยสร้างความร่วมมือกับกระทรวงการคลัง, กองทุนการออมแห่งชาติ, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร, บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, สำนักงานประกันสังคม ในการส่งเสริมความรู้ทางการเงินผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เว็บไซต์ “รู้เรื่องเงิน”

– คณะทำงาน ฯ ประสานงานเพื่อให้เกิดการสร้างความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและแพลตฟอร์มด้านการศึกษา Inskru เพื่อสนุนสนันให้เกิดความร่วมมือในการขยายผลการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงิน Financial Literacy ด้านการออมแก่คุณครู เพื่อให้คุณครูนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่เด็กและเยาวชนต่อไป

2. ภาคตลาดทุน โดยสำนักงาน ...

– สำนักงาน ก.ล.ต. และภาคีเครือข่ายได้กำหนดแผนการขับเคลื่อนงานดังนี้ 

1) การให้ความรู้พื้นฐานทางการเงิน Financial Literacy ด้านการลงทุนรวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลแก่เด็กและเยาวชน 

2) การสนับสนุนบริษัทจดทะเบียน ฯ ให้มีการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาล และการเปิดเผยข้อมูล อันเป็นรากฐานของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

– สำนักงาน ก.ล.ต. สร้างความร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) โดยมีการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อผลักดันให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการออมเงินและการลงทุน

– สำนักงาน ก.ล.ต. จัดทำหลักสูตรมาตรฐานการให้ความรู้ทางการเงิน เริ่มตั้งแต่ความรู้ทางการเงินพื้นฐานไปจนถึงการแนะนำเครื่องมือการลงทุนรวมถึง Digital Literacy โดยเผยแพร่บนเว็บไซต์ Smart-to-invest เฟซบุ๊ก Start-to-invest และแอพพลิเคชั่น Start-to-invest 

– คณะทำงาน ฯ ประสานงานให้เกิดการสร้างความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. และแพลตฟอร์มด้านการศึกษา Inskru เพื่อสนุนสนันให้เกิดความร่วมมือในการขยายผลการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงิน Financial Literacy ด้านการลงทุน รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลแก่เด็กและเยาวชน

– สำนักงาน ก.ล.ต. กำกับดูแลให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 700 บริษัท นำส่ง 56-1 One Report เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 และสำนักงาน ก.ล.ต. มีแผนจะดำเนินการเปิดเผยข้อมูลรายงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 

3. การจัดซื้อจัดจ้างและ Open data โดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

– องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่ายได้กำหนดแผนการขับเคลื่อนงานด้านการสื่อสารโครงการข้อตกลงคุณธรรม (IP) และโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)

– องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) สร้างความร่วมมือกับ UNDP และสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดงานเสวนาออนไลน์เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในหัวข้อ “ประสบการณ์สากลยกเครื่องจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในวันอังคารที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 – 16.00 น. โดยมีการเผยแพร่ผ่านช่องทาง Facebook Live องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

– คณะทำงาน ฯ ดำเนินการประสานความร่วมมือในการพัฒนาแผนการสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการข้อตกลงคุณธรรม (IP) และโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชนในการช่วยติดตาม ตรวจสอบโครงการก่อสร้างภาครัฐ

– คณะทำงาน ฯ ประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และสำนักงาน DGAเพื่อดำเนินการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนประเด็น Open Data ร่วมกัน

– คณะทำงาน ฯ ประสานงานเพื่อให้เกิดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเครื่องมือเข้าถึงข้อมูลและแจ้งเบาะแสในการต่อต้านการทุจริตโดยเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อแนะนำการใช้เครื่องมือ ACT Ai ให้กับประชาชนที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มงานยุทธศาสตร์ชุมชนเข้มแข็ง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565

– คณะทำงาน ฯ ประสานงานให้เกิดความร่วมมือโครงการฝึกอบรม “หลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์ในโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม” เมื่อวันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 15.00 – 17.00 น. โดยทีม ACT Ai ร่วมบรรยายในประเด็นการใช้งานเครื่องมือ ACT Ai เพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน

4. การยกระดับธรรมาภิบาลของรัฐสภา โดยสถาบันพระปกเกล้า 

– สถาบันพระปกเกล้าและภาคีเครือข่ายได้กำหนดแผนการขับเคลื่อนงานด้านการยกระดับธรรมาภิบาลรัฐสภาในรูปแบบ Open Parliament เพื่อให้รัฐสภาเกิดการทำงานที่โปร่งใส ซื่อตรง และเกิดการทำงานอย่างมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

– สถาบันพระปกเหล้าจัดทำแบบประเมินประสิทธิภาพการทำงานของรัฐสภา โดยใช้ตัวชี้วัดจาก International Parliament Union (IPU) ในรูปแบบของแบบสอบถามเพื่อสะท้อนการทำงานของรัฐสภา และเก็บข้อมูลจากการประเมินต่าง ๆ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่วมกันออกแบบการทำงาน ให้รัฐสภามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

– คณะทำงาน ฯ ประสานงานเพื่อสร้างความร่วมมือในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคประชาสังคม ได้แก่ สำนักงบประมาณของรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า Rocket Media Lab และ Punch Up ในการสื่อสารผลการวิเคราะห์งบประมาณ 2566 ให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจเรื่องงบประมาณมากยิ่งขึ้น

– คณะทำงาน ฯ ประสานงานเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันพระปกเกล้า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาสมาชิกวุฒิสภา สำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อคนไทย และ Punch Up เพื่อหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อยกระดับธรรมาภิบาลของระบบรัฐสภา

– สถาบันพระปกเหล้าและภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดทำรายงานการศึกษาการเปิดเผยข้อมูลของรัฐสภาบนเว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อพัฒนาแนวทางการเปิดเผยข้อมูลของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ

5. ธรรมาภิบาลป่าไม้ โดย RECOFTC และภาคีเครือข่าย

– RECOFTC และภาคีเครือข่ายได้กำหนดแผนการขับเคลื่อนงานดังนี้

1) ความร่วมมือกับภาคธุรกิจเพื่อสนับสนุนภูมิทัศน์ป่าไม้ ด้านการพัฒนาธุรกิจและช่องทางการเชื่อมตลาดทุน 

2) การพัฒนาเครื่องมือวัดผลและระบบการติดตามผลอย่างเป็นรูปธรรม

– RECOFTC สร้างความร่วมมือกับ เทใจ. คอม เพื่อนำโครงการต้นไม้ของเรา (T4A) เข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มระดมทุนเพื่อสังคม และนำโครงการต้นไม้ของเราประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดน่านและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานน่าน

– RECOFTC ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (THAI CG Fund) ในการดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพป่าชุมชนเพื่อระบบนิเวศที่สมบูรณ์การสร้างความมั่นคงของชีวิตและการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล 

– RECOFTC สร้างความร่วมมือกับ ENVIRONMAN โดยเข้าร่วมงานเปิดตัวโครงการต้นไม้ของเรา Tree4All ที่จังหวัดน่าน และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในช่องทางมิเดีย

– RECOFTC ได้รับการพิจารณาสนับสนุน KOL/ Influencer เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์โครงการจากการเข้าร่วมกิจกรรม HELP YOU, HELP ME Influencer for Change by Tellscore

– RECOFTC จัดประชุมสมัชชาป่าไม้ภาคพลเมืองครั้งที่ 3 ประจำปี 2565 เครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง หรือ Citizen Forest Network (CFNET) เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ภายใต้การบริหารงานเพื่อคนกับป่า

– คณะทำงาน ฯ ประสานงานความร่วมมือในการขยายประเด็นการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลป่าไม้ เป็นธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กรที่มีผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโครงการ

6. ธรรมาภิบาลสื่อบุคคล โดย Tellscore 

– Tellscore และภาคีเครือข่ายได้กำหนดแผนการขับเคลื่อนงานด้านการสร้างความร่วมมือกลุ่มสื่อออนไลน์ Influencer Youtuber ในการร่างข้อกำหนด มาตรฐาน กฎระเบียบ ข้อบังคับให้มีมาตรฐานสื่อออนไลน์ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ เกิดเป็นมาตรฐานธรรมาภิบาลในสื่อด้วยกันเอง

– Tellscore จัดทำโครงการ HELP YOU, HELP ME Influencer for Change by Tellscore เพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน KOL/ Influencerจากทาง Tellscore 

– Tellscore สร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายเพื่อจัดงานการประชุมหารือภายในเครือข่ายสื่อบุคคล People Media Practice ในหัวข้อ “แนวทางปฏิบัติด้านสื่อบุคคล” เมื่อวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2565 โดยมีภาคี 8 องค์กร ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลประเด็นประโยชน์ และปัญหาอันเกิดจากสื่อบุคคลและการสร้างมาตรฐานของสื่อบุคคล

– Tellscore สร้างความร่วมมือกับ DTAC และผศ. ดร.ธานี ชัยวัฒน์ เพื่อขยายผลการดำเนินงานร่วมกัน โดยการผลิตสื่อในรูปแบบการจัดทำคลิปวิดีโอสัมภาษณ์ และบทความในหัวข้อ Cyberbullying และจัดเตรียมดำเนินการเผยแพร่สู่ช่องทางการสื่อสาร 9 Conversations

– Tellscore ร่วมเป็นองค์กรก่อตั้งสมาคม Marketing Tech Thailand (Martech) โดยจะช่วยนสนับสนุนและผลักดันเรื่องธรรมาภิบาล (Good Governance) สู่สังคม

– Tellscore ได้ผลักดันและสอดแทรกความรู้ทางด้านธรรมาภิบาล (Good Governance) และจริยธรรมสื่อ (Ethics) ในสาขา “Influencer Branding” ให้กับทางนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพและมีแนวทางที่จะได้ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ในการออกแบบหลักสูตรร่วมกันในปีหน้า

– คณะทำงาน ฯ สร้างความร่วมมือกับสำนักข่าว ThaiPBS เพื่อสนับสนุนการทำงานของธรรมาภิบาลสื่อบุคคล ในการประชาสัมพันธ์ กิจกรรม/แผนการสื่อสารที่ต้องการเผยแพร่สู่สาธารณะ