นิยาม
กลไกสร้างการมีส่วนร่วมในด้านเสริมสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการลงทุน เป็นความร่วมมือของภาคตลาดทุน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และประชาชนทั่วไป โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) 10 บริษัท ซึ่งมีมูลค่ากองทุนภายใต้การบริหารกว่าร้อยละ 90 ของตลาดทุนรวมได้ร่วมจัดตั้งกองทุนรวมหุ้น 10 กองทุนที่แยกการบริหารอย่างอิสระ เน้นลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ได้รับการประเมินจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ในระดับดีมากและดีเลิศ (CG Rating Score 4-5) และเป็นบริษัทที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai CAC)
วิสัยทัศน์
"กลไกความร่วมมือของทุกภาคส่วนสังคมผ่านการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนทางธุรกิจและผลลัพธ์ทางสังคมด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านคอร์รัปชัน"
พันธกิจ
"กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีการดูแลกำกับกิจการที่ดี พิจารณาจากการประเมิน CG Rating Score ในระดับที่ดีมากหรือดีเลิศ และได้รับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต จากนั้นจะนำรายได้ร้อยละ 40 ของค่าธรรมเนียมจัดการกองทุนที่ได้รับ ไปสนับสนุนการทำงานส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านคอร์รัปชันในสังคมไทย"
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้ลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบัน
ในฐานะผู้สนับสนุนบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมผ่านกลไกค่าบริหารจัดการกองทุนฯ
บลจ. 10 องค์กร
ในฐานะผู้บริหารกองทุนฯ ที่เชื่อมโยงเงินและความมีส่วนร่วมของผู้ลงทุนเข้ากับโครงการเพื่อสังคม
องค์กรตัวกลางด้านสังคม
ในฐานะผู้สรรหา คัดเลือก พัฒนา ประสานงาน ติดตามความก้าวหน้าและผลลัพธ์ของโครงการเพื่อสังคมที่เข้ารับการสนับสนุนจากกองทุนฯ
โครงการและองค์กรที่ทำงานส่งเสริมธรรมาภิบาล ต่อต้านคอร์รัปชันในสังคมไทย
ในฐานะผู้รับการสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินโครงการจากกองทุน
ผลผลิต - ผลลัพธ์ กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย ปี 2565
โครงการความร่วมมือ
4 โครงการ
พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม
7 คน
ภาคี
4 องค์กร
ผู้บริจาค
10 องค์กร
อาสาสมัคร
256 คน
ผู้รับประโยชน์
34,998 คน
ยอดบริจาค
10.97 ล้านบาท
ปี 2561 - 2565กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทยได้สนับสนุนโครงการที่มีแนวคิดในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและต่อต้านการคอร์รัปชันไปแล้วทั้งสิ้น 17 โครงการ เป็นจำนวนเงิน 55,137,780.00 บาท โดยในปี 2565 กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทยให้การสนับสนุน 4 โครงการ (ลำดับที่1-ลำดับที่4) เป็นจำนวนเงิน 10,972,820.00 บาท มีรายละเอียดและความก้าวหน้าตามความต่อเนื่องของงาน ทั้ง 17 โครงการ ดังนี้
1. โครงการ CAC SME Certification
– สร้างเครือข่าย Supply chain ที่มีแนวปฏิบัติ/ระบบควบคุมภายในในการไม่ให้ ไม่รับสินบน
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- บริษัท SME ที่เข้าร่วมโครงการและประกาศเจตนารมณ์จำนวน 175 บริษัท
- บริษัท SME ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มีนโยบาย ระบบควบคุม และข้อปฏิบัติที่ดีที่ช่วยป้องกันการติดสินบน รวมถึงมีการประเมินความเสี่ยงต่อการดูแลระบบภายในอื่นๆ และผ่านการรับรองจำนวน 31 บริษัท
2. โครงการพัฒนาเกมเพื่อการเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชันในห้องเรียน
– ขยายผลเกม Corrupt เกมการเรียนรู้เรื่องทุจริตคอร์รัปชันในสังคม สู่ห้องเรียน
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- ปัจจุบัน Corrupt the Game มีจำนวนผู้เล่น 105,663 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566; รวมจำนวนนักเรียน 506 คน จากการขยายผลโครงการร่วมกับ TrainKru ภายใต้การดูแลของ Learn Education เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน)
- โครงการอยู่ในระยะเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการศึกษา
3. โครงการเสริมสร้างศักยภาพให้ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Capacity Development)
- พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในของโครงการข้อตกลงคุณธรรม โครงการที่ส่งตัวแทนภาคประชาชนเข้าไปสังเกตการณ์การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (สิ้นสุดการดำเนินโครงการ แต่ยังติดตามการดำเนินงาน)
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- ระบบฐานข้อมูลเปิดใช้งานจำนวน 1 ระบบ
- มีผู้เข้าร่วมหลักสูตร Independent Observer Program (IOP) จำนวน 516 คน (เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2563 – 2565 โดยในปี 2565 มีผู้เข้าร่วมหลักสูตรการอบรมเพิ่ม จำนวน 37 คน)
- มีผู้สังเกตการณ์อิสระเข้าร่วมโครงการ 256 คน
- จำนวนครั้งที่ผู้สังเกตการณ์สืบค้นข้อมูลและรับส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการผ่านระบบฐานข้อมูล ประมาณ 6,218 ครั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566)
- จำนวนโครงการปี 2558 – ปี 2566 ทั้งหมด 156 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,972,331.81 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณทั้งสิ้น 74,425.25 ล้านบาท (ตามมติที่ประชุมอนุกรรมการ คปท. ครั้งที่ 5/2565)
4. โครงการปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน (ACT WATCHDOG)
- อบรมสร้างความเข้มแข็งให้กับพลเมืองในท้องถิ่นที่คอยเป็นหูเป็นตารักษาผลประโยชน์ชาติ
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
อยู่ระหว่างดำเนินการ
5. โครงการ Big Open Data เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน
- พัฒนาระบบฐานข้อมูลเปิดที่เป็นประโยชน์ต่อการต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน (สิ้นสุดการดำเนินโครงการ)
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- จากการเก็บรวบรวมข้อมูลปี 2565 มีผู้เข้าใช้งานระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม ACT Ai 29,252 Users โดยมีผู้ใช้งานสะสม จำนวน 71,541 Users จากการใช้งานเรียกเปิดเอกสาร (Pageview) 165,458 ครั้ง รวมสะสมตั้งแต่ทำระบบจำนวน 372,275 ครั้ง (ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้าง และปรับโครงสร้างพื้นฐาน ฐานข้อมูลระบบ ACT Ai ปัจจุบันมีข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างในระบบจำนวน 26,851,083 โครงการ และมีข้อมูลผู้ค้าที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างจำนวน 2,409, 746 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- รวบรวมชุดข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมความโปร่งใสอื่น ๆ ได้แก่ ชุดข้อมูลบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน, ชุดข้อมูลการบริจาคแก่พรรคการเมือง, ชุดข้อมูลรายนามผู้บริหารกระทรวงและข้าราชการระดับสูง, ชุดข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด, ชุดข้อมูลคำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
- เกิดระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน (ACT Ai Open Data Center) และสามารถต่อยอดระบบอื่น ๆ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ จับโกงงบ COVID-19, ACT Ai Corrupt 0, Build Better Lives by CoST, จับตาไม่ให้ใครโกง Corruption Watch และระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ต่อยอดไอเดียจากกิจกรรม ACTkathon2021 ได้แก่ ผ่างบเมือง และ ACT Ai Connection
- เกิดเครือข่ายดำเนินงาน 29 หน่วยงาน (รวมสื่อ 16 แห่ง) อาทิ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน), บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), กรุงเทพมหานคร, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), สถาบัน Change Fusion, Wevis เทคโนโลยีภาคประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, สำนักข่าวอิศรา, สำนักข่าวประชาไท, สำนักข่าว ThaiPBS, สำนักข่าวช่อง7, สำนักข่าวเนชั่น, สำนักข่าวออนไลน์ The MATTER ฯลฯ
- ขยายผลการใช้งาน การประชาสัมพันธ์และแนะนำเครื่องมือ ผ่านการบรรยายเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์กร/หน่วยงานที่มีภารกิจในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), กรมสอบสวนคดีพิเศษ, กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.), กรมการปกครอง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Private Sector Collective Action against Corruption : CAC) และหลักสูตรอบรมพิเศษเพื่อการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันของภาคเอกชนอื่น
6. โครงการบัตรคะแนนชุมชน (Community Scorecard) ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
- กลไกการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการใช้จ่ายงบประมาณท้องถิ่น จังหวัดชายแดนใต้ (สิ้นสุดการดำเนินโครงการ)
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- ประชาชนใน 10 พื้นที่เกิดกระบวนการในชุมชน โดยใช้เครื่องมือ Community Scorecard ที่ช่วยให้ประชาชนได้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็นเรื่องการให้บริการ และโครงการของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน/ภาคประชาชน อย่างสร้างสรรค์ จำนวน 100 คน
- ชุดข้อมูลจำเป็นเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 8 โครงการ
- อาหารกลางวันในโรงเรียนบ้านซีเยาะ
- ความพึงพอใจต่อการให้บริการของเทศบาลตําบลท่าสาป
- การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค ในตําบลห้วยกระทิง
- การตรวจสอบมาตรฐานการให้บริการอาหารกลางวัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตําบลยุโป
- การบริหารจัดการประปาหมู่บ้าน
- การส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กกําพร้าและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่
- ความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณด้านสาธารณูปโภคในโครงการบ้านมั่งคง ต.โกตาบาร
- ความพึงพอใจต่อการทํางานของคณะทํางานระดับพื้นที่ (สล.3)
- การให้บริการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถม บ้านน้ำใส
- ติดตามประเด็นการจัดการขยะในชุมชนของ อบต.ตาแกะ
7. โครงการหลักสูตรสุจริตไทย
- หลักสูตร e-learning เรียนรู้ด้านความสุจริต ทุจริตสำหรับบุคคลทั่วไป และหลากหลายอาชีพ
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- จัดทำหลักสูตรสุจริตไทยเป็น E-learning เปิดให้เรียนฟรีได้ที่เว็บไซต์สุจริตไทย: https://thaihonesty.org/ ประกอบด้วย 5 หลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรสำหรับประชาชนทั่วไป
2. หลักสูตรสำหรับนักเรียน/นักศึกษา
3. หลักสูตรสำหรับข้าราชการ
4. หลักสูตรสำหรับนักธุรกิจ
5. หลักสูตรสำหรับนักการเมือง
- จำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนรวม 6,552 คน และมีจำนวนผู้เรียนจบ 5,612 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565) ประกอบด้วย
– บุคคลทั่วไป 635 คน
– นักเรียนนักศึกษา 2,591 คน
– นักธุรกิจ 578 คน
– นักการเมือง 103 คน
– ข้าราชการ 1,705 คน - จัด Live พูดคุยประเด็นปัญหาหรือข่าวเกี่ยวกับความสุจริต ทุจริต การคอร์รัปชัน ผ่านเพจเฟซบุ๊กสุจริตไทยและ Wiriyah Eduzones โดยเชิญแขกที่มีชื่อเสียงหรือเกี่ยวข้องกับประเด็นนั้น ๆ มาพูดคุย จำนวน 15 ครั้ง ยอดการเข้าถึงกว่า 107,199 ครั้ง
8. โครงการการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาครู สู่การปลูกฝังคุณธรรมและธรรมาภิบาลในห้องเรียน ในรูปแบบออนไลน์
- หลักสูตร e-learning และ workshop การเรียนรู้เครื่องมือในการสอนเรื่องธรรมาภิบาล ความสุจริตให้กับคุณครู (สิ้นสุดการดำเนินโครงการ)
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- จำนวนผู้เข้าอบรม 429 คน (แบ่งเป็นการอบรมในรูปแบบผสมผสานจำนวน 308 คน และผู้เข้าร่วมอบรมรูปแบบออนไลน์ 121 คน)
- ครูที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและเข้าร่วมชุมชนครูที่สนใจหลักสูตรคุณธรรมและจริยธรรม 1,241 คน ในระบบ LINE Open Chat โดยเชื่อมโยงเครือข่าย HCEC ซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาบุคคลของสพฐ. ในแต่ละพื้นที่
9. โครงการโรงเรียนคุณธรรม
- ปลูกฝังกลไกการพัฒนา แก้ปัญหาคุณธรรมและจริยธรรมในโรงเรียน (สิ้นสุดการดำเนินโครงการ)
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- มีโรงเรียนคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และส่งเสริมพฤติกรรมต่อต้านการทุจริตร้อยละ 21 จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 201 แห่งทั่วประเทศ
- โรงเรียนที่เข้าโครงการร้อยละ 100 สามารถพัฒนาคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต และส่งเสริมพฤติกรรมต่อต้านการทุจริตตามกระบวนการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมมูลนิธิยุวพัฒน์
- มีโครงงานคุณธรรมหรือกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต และส่งเสริมพฤติกรรมต่อต้านการทุจริตที่เป็นแบบอย่างเพื่อใช้ในการเผยแพร่ 31 เรื่อง
- โครงการที่ต่อยอดโดยสอดแทรกคุณธรรม 569 โครงการ/กิจกรรม
- โครงการเกิดขึ้นใหม่ 553 โครงการ/กิจกรรม
- จํานวนสถานศึกษาคุณธรรมที่เป็นแบบอย่างด้านการพัฒนาคุณธรรมด้านความ ซื่อสัตย์สุจริต และส่งเสริมพฤติกรรมต่อต้านการทุจริต รวมถึงผลงานโดดเด่น จำนวน 42 โรงเรียน
10. โครงการระดมพลังทุกภาคส่วนสร้างนวัตกรรมต่อต้านคอร์รัปชันด้วยข้อมูลเปิด (ACTkathon)
- Hackathon สร้างการมีส่วนร่วมให้คนทั่วไปได้ออกแบบเครื่องมือต้านคอร์รัปชันให้กับสังคมโดยใช้เทคโนโลยี (สิ้นสุดการดำเนินโครงการ)
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- จากกิจกรรมที่มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 523 คน ได้ทีมเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 20 ทีม ในปี 2565 เกิดการต่อยอดแนวคิดที่น่าสนใจสู่การพัฒนา 4 เครื่องมือที่ได้รับคัดเลือก โดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
- พัฒนาเครื่องมือ ผ่างบเมือง จากแนวคิดการส่งเสริมความโปร่งใสในการบริหารจัดการและจัดสรรงบประมาณรายจ่ายระดับท้องถิ่นเชื่อมโยงกับข้อมูลผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ โดยจะขยายผลการใช้งานในปี 2566
- ต่อยอดแนวคิดการสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแสโครงการก่อสร้างผ่านเทคโนโลยีภาพถ่ายและพิกัด GPS ด้วยการเชื่อมเครื่องมือ Build Better Lives by CoST และ LINE Official Account จากโครงการ Corruption Watch โดยจะขยายผลการใช้งานในปี 2566
- พัฒนาเครืองมือ Voice of Change ช่องทางรับแจ้งเบาะแสการทุจริตสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ ด้วยการใช้เทคโนโลยี Traffy Fondue โดยในปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนาเครื่องมือ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
- สร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนและสนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องมือร่วมกับผู้เข้าแข่งทีมกินยกแก๊ง พัฒนาเครื่องมือ ACT Ai Connection แดชบอร์ดวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเครือข่าย (Corruption Analysis Dashboard) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายผ่านนามสกุลระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและสามารถตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชัน โดยจะขยายผลการใช้งานในปี 2566
- ในส่วนของแนวคิดการพัฒนาเครื่องมือแสดงความสัมพันธ์ในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างพื้นที่ป่า พื้นที่อุทยาน พื้นที่จัดสรร กับ ผู้ถือครองที่ดิน (Blocklander) ได้มีภาคี RECOFTC เครือข่ายป่าชุมชนได้พัฒนาเครื่องมือที่มีรายละเอียดใกล้เคียงกันเรียบร้อยแล้ว
11. Data Communication Lab
พัฒนาศักยภาพ นักข่าว/สื่อให้สามารถใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการสื่อสารเพื่อสร้างความโปร่งใส ตรวจหาความผิดปกติหากมีคอร์รัปชัน (สิ้นสุดการดำเนินโครงการ)
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- ผู้เข้าร่วมโครงการให้มีความเข้าใจและความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล วิเคราะห์ผล เรียงร้อยเรื่องราวเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565 และจัดกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ทุกเสาร์อีก 4 สัปดาห์
- ผู้เข้าร่วม 50 คน หรือ 25 ทีม
- เกิดผลงานขึ้น 22 ทีม (สละสิทธิ์ 3 ทีม)
- ผลงานผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการเพื่อพัฒนาแนวคิดร่วมกับ Punch Up และ Hand Social Enterprise 2 ทีม ได้แก่
- ปัจจุบัน มีคนเข้าชมทั้ง 2 Microsite จำนวน 691 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566)
- จัดงานเวทีเสวนาในประเด็นที่สอดคล้องกับงบประมาณท้องถิ่น และ ทุนสร้างหนังไทย ภายใต้ชื่อ “เงิน รัฐ ท้องถิ่น หนังไทย” เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2565 โดยมีผู้เข้าร่วม 35 คน
12. กรณีศึกษา บทบาทของธนาคารในการป้องปรามคอร์รัปชันของลูกค้าธุรกิจ
- ศึกษากรณีศึกษาแนวปฏิบัติในการต่อต้านคอร์รัปชันภาคธนาคาร
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
อยู่ระหว่างดำเนินการ
- ปรับแก้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ
- จัดเวทีเสวนาสาธารณะร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) วันที่ 18 มกราคม 2566
- จัดทำ E-book นำเสนอโครงการศึกษาต่อสาธารณชนผ่านช่องทางออนไลน์
13. Read to Kids
- นิทานที่ออกแบบผ่านมุมมองเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในการสร้างค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงให้กับเด็ก
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- จัดส่งชุดหนังสือนิทาน “คนเก่งไม่โกง…คนโกงไม่เก่ง” ไปยังโรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม 154 แห่ง
- กิจกรรมแนะนำข้อมูลโครงการและชุดหนังสือแก่นิเทศอาสา เพื่อให้คำปรึกษาการใช้ชุดหนังสือแก่โรงเรียนเครือข่าย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 84 คน
- ครั้งที่ 1 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 โรงแรม ณ ทรีธารา ต.บางยี่รงค์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม
- ครั้งที่ 2 วันที่ 16 ธันวาคม 2565 (ออนไลน์)
- ติดตามการใช้หนังสือ และเก็บข้อมูลช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์ทางสังคมเบื้องต้น
14. โครงการยกระดับคุณภาพ ป่าชุมชนเพื่อระบบนิเวศที่สมบูรณ์ การสร้างความมั่นคงของชีวิตและการบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล
- พัฒนาศักยภาพของชุมชนและการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติบนแนวความคิดธรรมาภิบาลป่าไม้สู่ความยั่งยืน
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- การจัดประชุมเวทีระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ระหว่างเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง หน่วยงานรัฐ ตัวแทนคณะกรรมการป่าชุมชน และหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อเข้าใจกลไกและร่วมพัฒนาแผนร่วมกันระหว่างภาคประชาสังคมและภาครัฐ ช่วยอุดช่องโหว่ด้านข้อมูลที่ภาครัฐขาด ทำให้การพัฒนาแผนจัดการป่าชุมชนในจังหวัดนำร่องนั้น ๆ มีกลไกการดูแลป่าชุมชนอย่างมีส่วนร่วมใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ สกลนคร ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระแก้ว สุราษฏร์ธานี ตราด และสุรินทร์
- ประชุมหารือกับกรมป่าไม้ วันที่ 4 ตุลาคม 2565 เพื่อแนะนำโครงการ และเสนอข้อคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามพ.ร.บ. ป่าชุมชนพ.ศ. 2562 รวมถึงขอความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานในระดับจังหวัด
- ประชุมหารือกับ Thaicom นำภาพถ่ายทางดาวเทียมตรวจวัดคาร์บอน เพื่อประเมินคาร์บอนเครดิตสำหรับการซื้อขายที่ชุมชนจะสามารถสร้างรายได้จากป่าชุมชน
- กำลังดำเนินการจัดเวทีพูดคุยการจัดการ ป่าไม้ชุมชนระดับจังหวัด เพิ่มเติม 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และกาญจนบุรี
- จัดทำโรงเรียนป่าชุมชนจำนวน 5 แห่ง ในพื้นที่ 5 จังหวัดนำร่อง
15. โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในระดับท้องถิ่น อ.จะนะ จ.สงขลา
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น จัดเก็บข้อมูลทรัพยากรและสร้างข้อมูลกลางในรูปแบบ open data เพื่อบริการชุมชน ตลอดจนส่งเสริมการสื่อสารข้อมูลอย่างสร้างสรรค์
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- จัดเวทีสร้างการมีส่วนร่วม “ถ้านิคมอุตสาหกรรมหนักมา คนสงขลาจะตั้งรับอย่างไร” ในวันที่ 23 ตุลาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา เปิดโอกาสให้คนนอกพื้นที่ได้แสดงความเห็นและมุมมองต่อการผลักดันนิคมอุตสาหกรรมจะนะ รวมถึงจัดทำแผนที่ผลกระทบเมื่อมีอุตสาหกรรมจะนะภายใต้แนวคิดฐานทรัพยากรเดียวกัน
- รวบรวม คัดเลือก และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจะนะจัดทำเป็น Open Data ในแพลตฟอร์ม Notion
- จัดทำเพจ Around the Room Studio ประชาสัมพันธ์ชุดข้อมูลและกิจกรรมของโครงการ
- จัดเวทีชุมชนออกแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมแบบลงมือทำ และนำเสนอตัวอย่างข้อมูลวันที่ 7-10 มกราคม 2566
- จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมแบบลงมือทำครั้งที่ 1 : กิจกรรม “Chana Gyotaku & Cooking” วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 ณ TCDC COMMONs ศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร
16. ACT Ai Connection
- เครื่องมือวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเครือข่าย (Corruption Analysis Dashboard) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายผ่านนามสกุลระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
- ปรับแก้ชื่อเครื่องมือจาก “กินยกแก๊ง” เป็น “ACT Ai Connection”
- ดำเนินการคัดเลือก รวบรวม และวิเคราะห์ให้เป็นดิจิทัลเพื่อเตรียมพร้อมการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ (Machine-readable) เชื่อมโยงและวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายผ่านนามสกุล
- ดำเนินการออกแบบและพัฒนาโครงสร้างระบบ รวมถึงการนำเสนอข้อมูลผ่าน Dashboard โดยใช้โปรแกรม Microsoft Power BI และปรับรูปแบบการนำเสนอ (UX/UI) ให้เหมาะสมกับการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล และผู้เชี่ยวชาญด้านการนำเสนอข้อมูล (Data Visualization)
- วางแผนในการแนะนำการใช้งานเครื่องมือกับหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ได้แก่
- สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการขับเคลื่อนประเด็นความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชัน
- ประสานความร่วมมือและดำเนินการประชุมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) และธนาคารกรุงไทย
17. การจัดการกับงบประมาณโฆษณาประชาสัมพันธ์จากภาครัฐและเอกชนขององค์กรสื่อ: สู่การสร้างธรรมเนียมปฏิบัติที่มีจริยธรรมและโปร่งใส
- ศึกษารูปแบบการใช้งบประมาณโฆษณาประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชนในองค์กรสื่อที่นำเสนอเนื้อหาบนออนไลน์ โดยจัดทำแนวปฏิบัติและโอกาสในการหารายได้อย่างยั่งยืน
ความก้าวหน้าโครงการและผลกระทบทางสังคม
อยู่ระหว่างดำเนินการ