นิยาม
กลไกร้อยพลังความร่วมมือที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมในประเด็นต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษาและเยาวชน การพัฒนาเด็กปฐมวัย การส่งเสริมธรรมาภิบาลและการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน การจ้างงานผู้พิการ การดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมไปถึงการดูแลสุขภาวะของคนไทย ด้วยการทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อทรัพยากรหรือทุนประเภทต่าง ๆ ได้แก่ทุนมนุษย์ ภาคีเครือข่าย ทุนทรัพย์ และอื่น ๆ ไปสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกให้เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบและเกิดผลลัพธ์ทางสังคมมากขึ้น
วิสัยทัศน์
"ร่วมสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข"
พันธกิจ
"เป็นกลไกสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมพลังภาคี องค์กรภาคส่วนต่าง ๆ และพลเมือง ให้เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบและเกิดการขยายผลลัพธ์ทางสังคม"
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ภาคีเครือข่าย (องค์กรตัวกลาง องค์กรภาคสังคม)
- องค์กรและบุคคลทั่วไปที่ให้การสนับสนุน
- ผู้รับประโยชน์
- อาสาสมัคร
- พนักงานมูลนิธิฯ
ผลผลิต – ผลลัพธ์ ร้อยพลังสร้างสังคมดี ปี 2565
โครงการความร่วมมือ
17 โครงการ
ผู้บริจาค
3,608 คน
13 องค์กร
พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม
4,122 คน
114 องค์กร
ยอดบริจาค
4,347,194 บาท
อาสาสมัคร
514 คน
ผู้รับประโยชน์
47,875 คน
291 องค์กร
รายละเอียดการดำเนินงาน
ประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมทั้งในด้านการศึกษาและเยาวชน การพัฒนาเด็กปฐมวัย การจ้างงานผู้พิการ คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ สุขภาวะของคนไทย รวมไปถึงการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ล้วนแต่เป็นปัญหาสังคมที่มีขนาดใหญ่และต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหา
เพื่อสนับสนุนการขยายผลการทำงานขององค์กรขับเคลื่อนพัฒนาสังคม โครงการร้อยพลังสร้างสังคมดี (ชื่อเดิม “ร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ”) จึงทำหน้าที่เป็นกลไกในการเชื่อมต่อกับทรัพยากรที่จำเป็น และเพิ่มโอกาสในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรและพลเมืองมาสู่การลงมือช่วยเหลือสังคมในรูปแบบที่ตนเองถนัด โดยกิจกรรมที่ดำเนินการโดยโครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศส่วนใหญ่ในปี 2565 เป็นการระดมทรัพยากรและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อมาสนับสนุนโครงการร้อยพลังการศึกษา ซึ่งเป็นโครงการที่มีผู้รับประโยชน์ ได้แก่ โรงเรียนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศรวม 106 แห่ง ใน 39 จังหวัด มีผู้อำนวยการ บุคลากรฝ่ายบริหาร คุณครู และนักเรียนในโครงการรวมมากกว่า 37,000 คน
ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเหล่านี้อย่างเป็นระบบและทำให้เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน ในปี 2565 โครงการร้อยพลังสร้างสังคมดีได้สร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคีตัวกลาง “Catalyst” หรือ องค์กรตัวกลางผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาคีเชิงประเด็นและข้ามประเด็นเพื่อให้เกิดการขยายผลลัพธ์ทางสังคม 4 ด้าน ประกอบด้วย
1) Catalyst การศึกษา ได้แก่ บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
2) Catalyst สาธารณสุข ได้แก่ สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม
3) Catalyst ธรรมาภิบาล ได้แก่ บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
4) Catalyst การลงทุนเพื่อสังคม ได้แก่ บริษัท เช้นจ์ เวนเจอร์ จำกัด
องค์กรภาคีตัวกลางเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาคีผู้ปฏิบัติงานเชิงประเด็น และภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งภาควิชาการ ภาคสื่อ ภาครัฐ และภาคประชาชน รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานระหว่างประเด็น เพื่อขับเคลื่อนขยายผลลัพธ์ทางสังคม
ตลอดปี 2565 มีกิจกรรมที่ขับเคลื่อนงานโดย Catalyst ทั้ง 4 กลุ่ม รายละเอียดดังนี้
กิจกรรมด้านการศึกษา เยาวชน และเด็กปฐมวัย
การประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่องการจัดการศึกษาท้องถิ่นยุคโควิด – 19 (COVID-19)
ภาคีเครือข่าย: มูลนิธิเพื่อคนไทย, บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม, บริษัท ไลฟ์เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
19-23 กุมภาพันธ์ 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาท้องถิ่นให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ผลลัพธ์
- ผู้บริหารสถานศึกษาได้มีโอกาสร่วมระดมความคิด ให้ข้อเสนอแนะ และเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้กับวิทยากร ที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
การขยายผล
- ร้อยพลังการศึกษาได้รับโอกาสเข้าร่วมเป็นวิทยากรในเวทีการประชุมสัมมนาทางวิชาการ “การจัดการศึกษาท้องถิ่นยุคโควิด – 19 การจัดการเรียนรู้อย่างไร ให้โดนใจผู้เรียนและประสบความสำเร็จ” โดยความร่วมมือกับภาคีองค์กรตัวกลาง Catalyst เพื่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวคิดการจัดการเรียนรู้เพื่อเด็กที่หลากหลายผ่านความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของกลุ่มโรงเรียนสังกัด อปท. ทั่วประเทศ ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาท้องถิ่นให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษานำไปใช้ในการบริหารจัดการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีวิทยากรที่เข้าร่วม ได้แก่ รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา/คุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย/คุณพัดชา มหาทุมะรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ/คุณสุภอรรถ โบสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด/คุณอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเชิงบวกและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไลฟ์เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด/คุณธานินทร์ ทิมทอง ผู้ร่วมก่อตั้งและ Chief Social impact officer บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
การระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการร้อยพลังการศึกษา ผ่านกิจกรรม “TEN Birthday x Limited Education”
ภาคีเครือข่าย: กลุ่มแฟนคลับศิลปิน เตนล์ ชิตพล ลี้ชัยพรกุล
27 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในกลุ่มพลเมืองที่ต้องการทำความดีเพื่อสังคม
- เพื่อระดมทุนสนับสนุนโครงการร้อยพลังการศึกษา เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสความเท่าเทียมทางการศึกษาให้กับเด็กไทย
ผลลัพธ์
- สร้างพลังความร่วมมือกับพลเมืองรวม 786 คน ร่วมบริจาคเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
- ระดมเงินบริจาคได้ทั้งสิ้น 575,967 บาท
- เกิด active citizen จากศิลปินอาสาสมัครจำนวน 3 คน และกลุ่มผู้ก่อตั้งแคมเปญนี้
การขยายผล
- ความร่วมมือของกลุ่มแฟนคลับ เตนล์ ชิตพล ลี้ชัยพรกุล ภายใต้ชื่อ “10vely” ร่วมมือกับร้อยพลังการศึกษา จัดกิจกรรมระดมทุนออนไลน์ “TEN Birthday x Limited Education 2022” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ด้วยการเปิดรับบริจาคโดยมีของที่ระลึกเป็นชุดภาพระบายสีตามตัวเลข “เพ้นมีนักเก้ต” ได้รับความร่วมมือจากศิลปินอาสาสมัครชื่อดังในการออกแบบรูปภาพวาด ได้แก่ คุณ Wisut คุณ NewYear คุณ Juli Baker และร่วมประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ให้กลุ่มแฟนคลับเตนล์ ศิลปิน และพลเมืองทั่วไปที่สนใจได้ร่วมสนับสนุนทุนเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กไทย
บริษัท พรีเมียร์ แคปปิตอล (2000) จำกัด บริจาคคอมพิวเตอร์มือสอง เพื่อเป็นอุปกรณ์ช่วยสอนออนไลน์
สำหรับครูและนักเรียนในโครงการร้อยพลังการศึกษา
ภาคีเครือข่าย: บริษัท พรีเมียร์ แคปปิตอล (2000) จำกัด
16 มีนาคม 2565 – 31 ธันวาคม 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนดิจิทัลภาษาอังกฤษระบบ E-Learning หลักสูตร Winner English
- เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีของผู้เรียนและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนให้ดีขึ้น
ผลลัพธ์
- เด็กนักเรียนมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และระบบการสอนที่หลากหลาย ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษดีขึ้น
- โรงเรียนในโครงการร้อยพลังการศึกษาได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 12 ชุด เพื่อนำไปใช้ในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ระบบ E-Learning
การขยายผล
- บริษัท พรีเมียร์ แคปปิตอล (2000) จำกัดได้สนับสนุนคอมพิวเตอร์มือสองสภาพดีพร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ชุด ให้โครงการได้นำไปใช้ต่อในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการติดตั้งโปรแกรม Winner English หลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์อย่างครบวงจรทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน และไวยากรณ์ นับเป็นเครื่องมือช่วยคุณครูที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ โดยจะส่งมอบให้กับ โรงเรียนพยุหะพิทยาคม จ.นครสวรรค์ และโรงเรียนทองผาภูมิวิทยา จ.กาญจนบุรี
การสัมภาษณ์รายการห้องรับแขกวิทยุ FM96.5MHz Thinking Radio
ภาคีเครือข่าย: วิทยุ อสมท. FM96.5MHz
20 มีนาคม 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ความร่วมมือระหว่างองค์กรเอกชนและพลเมืองทั่วไปในการมีส่วนร่วมช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ผลลัพธ์
- พลเมืองทั่วไปเกิดการรับรู้ถึงแนวทางความร่วมมือเพื่อช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ทุกคนในสังคมสามารถมีส่วนร่วมได้
การขยายผล
ร้อยพลังการศึกษาได้รับเชิญเข้าร่วมการให้สัมภาษณ์ในรายการ “ห้องรับแขก” ทางวิทยุ อสมท. FM96.5MHz Thinking Radio ในหัวข้อ “การหาทุนช่วยการศึกษาเด็กด้อยโอกาสทำอย่างไรให้ยั่งยืน” โดยแขกรับเชิญประกอบไปด้วย
- คุณพัดชา มหาทุมะรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ มูลนิธิเพื่อคนไทย
- คุณชนารดี ฉัตรกุล ณ อยุธยา (ป่าน) ศิลปิน นักวาดภาพ ที่ร่วมสร้างสรรค์ผลงานในแคมเปญ Limited Education เจ้าของนามปากกา Juli Baker and Summer, ตัวแทน Influencer ช่วยสนับสนุนประชาสัมพันธ์กิจกรรม
- คุณสัญชัย อภิศักดิ์ศิริกุล กรรมการ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การเงินและสนับสนุนธุรกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย, ตัวแทนภาคีผู้สนับสนุนทรัพยากร สร้างหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะทางการเงินให้กับเด็กไทย
- คุณจุฑามาศ ป้องสี Senior Brand Manager บริษัท ผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ ทะเลภู จำกัด, ตัวแทนภาคีผู้สนับสนุนการระดมทุนเงินผ่านผลิตภัณฑ์ Limited Education
โครงการ “ความร่วมมือการระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย (ICAP) มูลนิธิยุวพัฒน์”
ภาคีเครือข่าย: สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) หรือ Thai VI
15 มีนาคม 2564 – 20 มีนาคม 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อระดมทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย (ICAP) มูลนิธิยุวพัฒน์
- เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ให้ได้ทำความรู้จักและสร้างโอกาสในการสนับสนุนโครงการฯ
ผลลัพธ์
- ยอดเงินบริจาคตั้งแต่ 21 มีนาคม – 20 มีนาคม 2565 สามารถระดมเงินบริจาคหลังหักค่าใช้จ่าย ให้กับโครงการฯ ได้ทั้งสิ้น 151,479.29 บาท
- สมาคมฯ ได้จัดทำคลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์โครงการฯ เพื่อสร้างการรับรู้แก่สมาชิก และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกให้มาร่วมบริจาคได้ 196 คน
การขยายผล
- สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ร่วมกับ Limited Education เชิญชวนร่วมบริจาคผ่านเว็บไซต์ร้อยพลังการศึกษา www.tcfe.or.th เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายไปสนับสนุนโครงการพัฒนาเด็กปฐมวัย Integrated Child Center Active Learning Project (ICAP) มูลนิธิยุวพัฒน์ ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ให้มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบ active learning เพื่อให้เด็กอายุ 2-6 ปีทุกคนได้รับโอกาสในการพัฒนาตามศักยภาพของตัวเอง เพื่อเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของประเทศ โดยการบริจาคทุกๆ 500 บาท ผู้บริจาคจะได้รับเสื้อยืด “ไทยวีอาย” จากลายมือของน้องๆ Limited Education เป็นที่ระลึก 1 ตัว
การระดมทุนผ่านงานสัมมนาการ “SOS : SECRECT OF SUCCESS อัจฉริยะ คนบ้า ความโชคดี และความลับของความสำเร็จ”
ภาคีเครือข่าย: สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) หรือ Thai VI
18 มิถุนายน 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อระดมทุนสนับสนุนโครงการร้อยพลังการศึกษา
- เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ให้ได้ทำความรู้จักและสร้างโอกาสในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กไทย
ผลลัพธ์
- สามารถสร้างการรับรู้เรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและแนวทางความร่วมมือในอนาคตเพื่อให้นักลงทุนเห็นแนวทางความร่วมมือในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการศึกษาไทย
- ได้รับความร่วมมือจากนักลงทุนกว่า 200 คนและสามารถระดมเงินบริจาคได้ทั้งสิ้น 215,232.09 บาท ให้กับโครงการร้อยพลังการศึกษา
การขยายผล
- การจัดกิจกรรมงานสัมมนาการกุศลออนไลน์ “SOS : SECRECT OF SUCCESS อัจฉริยะ คนบ้า ความโชคดี และความลับของความสำเร็จ” โดย รายได้จากการจัดจำหน่ายบัตรทั้งหมดสมทบทุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กไทย ในโครงการร้อยพลังการศึกษา นับได้ว่าเป็นความร่วมมือที่สนับสนุนให้นักลงทุนกว่า 200 คนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสความเท่าเทียมทางการศึกษา ผ่านการสนับสนุนบัตรเข้าร่วมงานผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย)
ความร่วมมือ โครงการ “ห้องสมุดยุคใหม่ เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้”
ภาคีเครือข่าย: บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย), มูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม (ประเทศไทย), บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
21 มิถุนายน 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เด็กด้อยโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม
- เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้ทันสมัยเป็นแหล่งที่นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
ผลลัพธ์
ดำเนินโครงการต่อเนื่องกับ โรงเรียนและสถานรับเลี้ยงเด็ก 11 แห่ง ได้แก่
- รร.บ้านคลองโต๊ะนุ้ย
- รร.วัดคอลาด
- รร.วัดสีล้ง
- รร.วัดเหนือ
- รร.วัดไผ่ล้อม
- รร.วัดสบกเขียว
- มูลนิธิอนุเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
- มูลนิธิสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด
- สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ
- มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
- สถานแรกรับเด็กชาย บ้านภูมิเวท มูลนิธิสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด
การขยายผล
- โครงการร้อยพลังการศึกษาร่วมกับบริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) และ มูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม (ประเทศไทย) จัดทำโครงการ “ห้องสมุดยุคใหม่ เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้” เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาสและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองให้สามารถเติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต โดยปรับปรุงห้องสมุดที่ขาดแคลนงบประมาณในการซ่อมบำรุง พร้อมกับนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เด็กไทยได้เข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างอิสระ รวมถึงการนำหนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมเข้ามาติดตั้งในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นสื่อการเรียนรู้แบบอินเตอร์แอคทีฟ, อี-บุ๊ค, คอมพิวเตอร์ และระบบการยืม-คืนหนังสือที่ทันสมัย เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนเกิดความสนใจในการเข้าไปค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเอง ผ่านการเรียนรู้รูปแบบใหม่ในโลกดิจิทัลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาในยุคปัจจุบัน โดยตั้งเป้าหมายให้เข้าถึงเด็กได้ 8,000 คน ในเวลา 3 ปี
การสร้างความร่วมมือเพื่อโครงการร้อยพลังการศึกษา ในการพัฒนาความรู้ด้านการเงินให้แก่นักเรียน ผ่านหลักสูตร “UOB Money 101 Teen Edition” ปีการศึกษา 2565
ภาคีเครือข่าย: ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย, บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด, Money Class
1 สิงหาคม 2565 – 30 เมษายน 2566
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงเรื่องการเงิน และสามารถวางแผนการเงินได้
- ครูและนักเรียนสามารถนำความรู้ด้านการเงินมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้ เพื่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคต
ผลลัพธ์
- โรงเรียนเครือข่ายร้อยพลังการศึกษาและโรงเรียนคุณธรรม เข้าร่วมโครงการ 21 โรงเรียน โดยมีนักเรียนได้รับประโยชน์กว่า 1,438 คน
- ครูจำนวน 21 คน สามารถนำหลักสูตรไปปรับใช้ในรูปแบบการเรียนออนไลน์ได้
การขยายผล
โครงการร้อยพลังการศึกษา ร่วมมือกับ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ต่อยอดการนำหลักสูตรพัฒนาความรู้ด้านการเงิน “UOB Money 101 Teen Edition” เข้าไปสอนในโรงเรียนเป็นปีที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีเป้าหมายผลักดันให้นักเรียนจำนวน 1,200 คนได้เรียนรู้ผ่านหลักสูตร เพื่อช่วยพัฒนา “ทักษะการเงิน” ให้กับนักเรียนให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักเกี่ยวกับการเงิน โดยปูพื้นฐานตั้งแต่การได้เงินมา การหาเงินเพิ่ม การแบ่งใช้จ่าย การเก็บออม และการลงทุน เพราะการเรียนรู้เกี่ยวกับการเงินตั้งแต่เด็กจะช่วยให้มีพื้นฐานนิสัยการเงินที่ดี สามารถบริหารจัดการเงินด้วยตนเองได้ ส่งผลให้มีอนาคตทางการเงินที่มั่นคงยิ่งขึ้น โดยปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565
- กิจกรรมแนะนำหลักสูตร “UOB Money 101 Teen Edition” เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565
- กิจกรรมปฐมนิเทศ “UOB Money 101 Teen Edition” เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2565
- กิจกรรม Money Teach Money Train Online ปั้นครูการเงิน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565
- และดำเนินการติดตามผลการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565
การบริจาคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้โรงเรียนเครือข่ายร้อยพลังการศึกษา โดยความร่วมมือกับ บริษัท เสียวหมี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
ภาคีเครือข่าย: บริษัท เสียวหมี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
26 สิงหาคม 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสนับสนุนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่งเสริมให้เด็กไทยสามารถเรียนรู้และเกิดความคิดสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล
- เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ของเด็กไทยผ่านการใช้เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ผลลัพธ์
- สามารถสร้างโอกาสทางการศึกษาให้คุณครูและนักเรียนได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการเรียนรู้ได้มากขึ้น
- ได้ส่งมอบอุปกรณ์ Xiaomi LCD Writing Tablet จำนวน 80 เครื่อง ให้ 2 โรงเรียนในเครือข่าย คือ โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม และโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทร์
- ได้ส่งมอบอุปกรณ์ Xiaomi LCD Writing Tablet จำนวน 220 เครื่อง ให้โรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม
การขยายผล
- บริษัท เสียวหมี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับโครงการร้อยพลังการศึกษา จัดกิจกรรม Xiaomi Back to School ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กไทย พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมก้าวแรกของเด็กไทยในยุคดิจิทัลให้สามารถเรียนรู้และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น ด้วยการมอบอุปกรณ์ Xiaomi LCD Writing Tablet ขนาด 13.5 นิ้ว พร้อมปากกา Mi High-capacity Gel Pen และกระเป๋าเป้ จำนวน 300 ชุด ให้แก่โรงเรียนในเครือข่ายร้อยพลังการศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาสในการใช้เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเด็กนักเรียนและคุณครู โดยตั้งเป้าหมายส่งมอบให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 8 โรงเรียน และได้จัดพิธีรับมอบอุปกรณ์ให้กับตัวแทนโรงเรียน ไปเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ณ โรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
โครงการ Circular x Limited Education “ปี้ถุงอีหน้อยถุง-Buy a sock, Give a sock” มอบถุงเท้าให้โรงเรียนแม่วินสามัคคี จ.เชียงใหม่
ภาคีเครือข่าย: บริษัท เซอร์คูลาร์ อินดัสทรี้ จำกัด
10 ธันวาคม 2564 – 9 สิงหาคม 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสร้างการรับเรื่องปัญหาภัยหนาวในพื้นที่ห่างไกลที่ทุกคนมีส่วนร่วมช่วยเหลือได้
- เพื่อระดมทุนสนับสนุนนำไปแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำให้กับเด็กขาดโอกาสบนดอยสูง ในเขตภาคเหนือ
ผลลัพธ์
- นักเรียนในโรงเรียนแม่วินสามัคคี จ.เชียงใหม่ มีถุงเท้าใส่ในฤดูหนาวเพื่อป้องกันความเหน็บหนาว จำนวน 500 คู่ ได้ทำการส่งมอบถุงเท้า เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565
- ได้สร้างการมีส่วนร่วมกับ active citizen ที่เป็น Influencers ร่วมประชาสัมพันธ์การบริจาคและสร้างการรับรู้ให้กับพลเมืองทั่วไป
การขยายผล
- แคมเปญ “ปี้ถุงอีหน้อยถุง – Buy a sock, Give a sock” เป็นโครงการความร่วมมือระดมทุนพิเศษที่ Circular และ Limited Education ร่วมกันสร้างสรรค์ถุงเท้าลายพิเศษภายใต้คอลเลคชั่น “โชว์เหนือ” ผ่านแรงบันดาลใจจากศิลปะและวิถีชีวิตของน้องๆ ในภาคเหนือ โดยออกแบบถุงเท้า 4 แบบ 4 ลาย 4 สไตล์ ให้เลือกตามความชอบ ได้แก่ 1)ลายสกรีน ชายเหมียง ชายเรียง โชคชัยสี่ 2)ลายสกรีน หนาวนี้ “กอด” ใคร 3)ลายสกรีน โผะเอาแคเหราะมาฝะ 4)ลายปี้ถุงอีหน่อยถุง โดยถุงเท้าทุกคู่ผลิตจากเส้นใยรีไซเคิล 100% ที่ไม่ผ่านการฟอกย้อม ดำเนินงานโดย SC Grand องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการผลิตสิ่งทอจากวัสดุเหลือใช้ จัดจำหน่ายในราคาคู่ละ 250 บาท และได้เชิญชวนคนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมแบ่งปันคนละอุ่น ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2564 – 9 สิงหาคม 2565 เพื่อช่วยน้องบนดอยหนาว โดยทุกการสั่งซื้อถุงเท้า 1 คู่ ทาง Circular จะร่วมสนับสนุนถุงเท้าในแบบเดียวกันให้กับน้อง ๆ ขาดโอกาสในพื้นที่ห่างไกลของพื้นที่ภาคเหนืออีก 1 คู่ โดยมีเป้าหมายการบริจาคถุงเท้าที่ 500 คู่ ให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายโครงการร้อยพลังการศึกษา 1 โรงเรียน
โครงการ “ขออุปกรณ์ให้น้องเรียน” เพื่อระดมทุนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับโครงการร้อยพลังการศึกษา
ภาคีเครือข่าย: ร้านปันกัน โดย มูลนิธิยุวพัฒน์, บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
15 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยการสนับสนุนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ในปัจจุบันและอนาคต
ผลลัพธ์
- สร้างความร่วมมือระดมทุนให้โครงการฯ ได้รวม 21,139 บาท จากผู้บริจาคจำนวน 25 ท่าน ผ่านเว็บไซต์ร้อยพลังการศึกษา
- ระดมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้จำนวน 32 เครื่อง เพื่อส่งต่อให้กับโรงเรียนในเครือข่ายร้อยพลังการศึกษาที่มีนักเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์
การขยายผล
- ร้อยพลังการศึกษา ร่วมกับ ร้านปันกัน โดยมูลนิธิยุวพัฒน์ และเลิร์นเอ็ดดูเคชั่น เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนและช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังส่งผลกระทบต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างรุนแรง จึงจัดทำโครงการ “ขออุปกรณ์ให้น้องเรียน” ชวนร่วมบริจาคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยังใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์ และโน๊ตบุ๊ค โดยมีเป้าหมายการระดมอุปกรณ์จำนวน 10,000 เครื่อง ให้กับเด็กขาดโอกาสในโรงเรียนเครือข่ายร้อยพลังการศึกษา เพื่อนำไปใช้เรียนออนไลน์กว่า 100 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยผู้มีส่วนร่วมสามารถเลือกบริจาคได้ 2 รูปแบบ คือ บริจาคอุปกรณ์ได้ที่ร้านปันกันทุกสาขา หรือบริจาคเงินเพื่อนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ให้กับเด็กนักเรียน โดยรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2565นอกจากนี้ โครงการยังได้รับความร่วมมือจาก TikTok Thailand ให้การสนับสนุนทุนเพื่อประชาสัมพันธ์แคมเปญระหว่างวันที่ 25-31 ธันวาคม 2565
โครงการสร้างความร่วมมือและระดมทุน “2022 UOB Global Heartbeat Run & Walk” เพื่อสนับสนุนโครงการร้อยพลังการศึกษาและโครงการ FOOD FOR GOOD
ภาคีเครือข่าย: ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย
15 สิงหาคม – 16 ตุลาคม 2565
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อช่วยเหลือเด็กขาดโอกาสให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และได้รับโภชนาการที่สมวัย ลดความเหลื่อมล้ำและร่วมแก้ปัญหาการศึกษาไทยอย่างยั่งยืน
- เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการแก้ปัญหาสังคมในกลุ่มพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าของธนาคารยูโอบี
ผลลัพธ์
- สร้างความร่วมมือให้เกิดการระดมทุนเข้าโครงการ UOB Heartbeat ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม – 16 ตุลาคม 2565 ได้ทั้งสิ้น 3,000,000 บาท
- สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในกลุ่มพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าของธนาคารยูโอบี ผ่านการเข้าร่วมงาน “UOB Heartbeat รวมพลคนชอบให้” วันที่ 23 กันยายน 2565 และออกบูธงานวิ่งวันที่ 16 ตุลาคม 2565
การขยายผล
- ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับโครงการร้อยพลังการศึกษา และโครงการ FOOD FOR GOOD จัดการระดมทุนและสร้างความร่วมมือผ่านกิจกรรม “2022 UOB Global Heartbeat Run & Walk” งานเดินวิ่งเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร พนักงานและครอบครัว รวมถึงลูกค้าของธนาคารยูโอบี พร้อมใจกันใส่เสื้อ UOB Heartbeat และสวมรองเท้าวิ่งคู่โปรดมาร่วมเดินวิ่ง โดยรายได้ทั้งหมด 80% จะนำไปสนับสนุนห้องเรียนดิจิทัลวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลน เพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และอีก 20% จะนำไปช่วยเหลือน้องๆ ในวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ให้ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบสมบูรณ์
โครงการเพื่อนักเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาผ่านโครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ชายขอบ
ภาคีเครือข่าย: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
6 กันยายน 2565 - 2568
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสร้างความร่วมมือและต่อยอดโครงการศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ (USO Net) และห้องบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ (USO Wrap) ให้เกิดการใช้งานโดยประสิทธิภาพสูงสุดกับนักเรียน
- เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เด็กเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียมผ่านระบบการเรียนการสอนรูปแบบดิจิทัล
ผลลัพธ์
- เกิดความร่วมมือเพื่อให้นักเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (HCEC) เป็นแกนนำในการผลักดันโครงการฯ ผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และอำนวยความสะดวกให้กับครูในโครงการฯ
การขยายผล
- การแถลงข่าวความร่วมมือ “โครงการเพื่อนักเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาผ่านโครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ชายขอบ” ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และโครงการร้อยพลังการศึกษา ซึ่งลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยต่อยอดโครงการศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ (USO Net) และห้องบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ (USO Wrap) ให้เกิดการใช้งาน และเติมเต็มคุณภาพการศึกษาด้วยระบบการเรียนการสอนรูปแบบดิจิทัล วิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ ภายใต้โครงการร้อยพลังการศึกษา ให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนประมาณ 5,000 คน ใน139 โรงเรียน
กิจกรรมด้านสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุ
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในชุมชนโดยอาศัยโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองเป็นฐานดำเนินการ
ภาคีเครือข่าย: สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข)ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 *สำหรับ สพบ. ในฐานะ Catalyst ด้านสาธารณสุข
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อส่งเสริมให้โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองยกระดับเป็น “ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป” ที่สามารถจัดระบบบริการสุขภาพด้านการรักษา การฟื้นฟูร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพ และการจดทะเบียนผู้พิการเพื่อให้เกิดคุณภาพและง่ายต่อการเข้าถึงบริการ
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยการสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำ
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยให้เกิดผู้ช่วยเหลือคนพิการในระดับชุมชน
ผลลัพธ์
- คนพิการได้ทำงานในโรงพยาบาล จำนวน 266 คน
- เกิดการจ้างงานผู้ช่วยเหลือคนพิการ จำนวน 250 คน
- มีศูนย์บริการคนพิการในโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองจำนวน 100 แห่ง
การขยายผล
- สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข) ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมส่งเสริมให้โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองยกระดับเป็น “ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป” และผลักดันให้เกิดการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการ โดยสนับสนุนให้มีการจ้างงานคนพิการที่มีศักยภาพตามมาตรา 33 และ 35 เพื่อทำงานในโรงพยาบาลตามหน้าที่ความรับผิดชอบและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานผู้ช่วยเหลือในระดับชุมชนสำหรับคนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง
การสนับสนุนโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นและการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ภาคีเครือข่าย: สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข)ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โรงพยาบาลชุมชน, กระทรวงสาธารณสุข
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565
*สำหรับ สพบ. ในฐานะ Catalyst ด้านสาธารณสุข
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อส่งเสริมให้ท้องถิ่นสามารถจ้างงานอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ครอบคลุมทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อให้อาสาสมัครบริบาลสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลลัพธ์
- เกิดการพัฒนารูปแบบและกลไกระบบสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการเพื่อการป้องกันภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้สูงอายุ
- เกิดการจ้างงานอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างต่อเนื่อง (ประมาณการณ์ตัวเลขการจ้างงาน 5,000-6,000 คน)
การขยายผล
- สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข) ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนในการสนับสนุนและผลักดันโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นและการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีการจ้างงานอาสาสมัครบริบาลอย่างต่อเนื่อง และร่วมพัฒนารูปแบบและกลไกระบบสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการเพื่อการป้องกันภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้สูงอายุ “ทีมสุขภาพ ๓ หมอปฐมภูมิดูแลใส่ใจ ผู้สูงวัยแข็งแรง” กับกระทรวงสาธารณสุข โดยมีเป้าหมายผลักดันให้มีการจ้างงานอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น จำนวน 6,000 คนในปี 2565 และเพิ่มเป็น 30,000 คนในปี 2570
โครงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิสู่วิถีใหม่ และการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
ภาคีเครือข่าย: สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข)ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 *สำหรับ สพบ. ในฐานะ Catalyst ด้านสาธารณสุข
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อจัดรูปแบบบริการปฐมภูมิโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมุ่งสู่การจัดการสุขภาพตนเองและสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ โดยใช้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นกรณีศึกษาในเครือข่ายระดับโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง
- เพื่อเตรียมการขยายผลการจัดรูปแบบบริการปฐมภูมิโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางให้ครอบคลุมทั้งประเทศ
ผลลัพธ์
- โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองเข้าร่วมปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิ จำนวน 35 แห่ง และขยายผลสู่ 325 หน่วยบริการปฐมภูมิทั่วประเทศ โดยร่วมกับ สปสช.
- มีต้นแบบรูปแบบการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 4 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย
การขยายผล
สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข) ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมส่งเสริมให้โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองสามารถจัดบริการรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมีเป้าหมายจัดรูปแบบบริการปฐมภูมิโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง 30 แห่ง และสร้างต้นแบบการจัดบริการป้องกันโรคเบาหวานอีก 4 แห่ง ในปี 2565 ซึ่งเป้าหมายของโปรแกรมจัดบริการ คือ
- เพิ่มการเคลื่อนไหว 150 นาที/สัปดาห์
- ลดน้ำหนัก 4-7% ของน้ำหนักตัว
- รับประทานอาหารให้เหมาะสม
โดยสถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวมเตรียมขยายผลโครงการให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ผ่านการสังเคราะห์กระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล (Model Implementation) ภายใต้บริบทที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่
กิจกรรมด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
การขยายผลการใช้งานเครื่องมือ ACT Ai
ภาคีเครือข่าย: บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 *สำหรับ แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม ในฐานะ Catalyst ด้านธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมให้เกิดการใช้งานเครื่องมือ ACT Ai ในการตรวจสอบความโปร่งใสโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
การขยายผล
- บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมสนับสนุนองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ในการแนะนำการใช้งานเครื่องมือ ACT Ai ให้กับกลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมายในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น กลุ่มนักข่าว กลุ่มเจ้าหน้าที่ กลุ่มประชาชน ชมรมSTRONG และเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
การสื่อสารเพื่อสร้างความรับรู้และขยายผลการดำเนินงานโครงการข้อตกลงคุณธรรม (IP) และโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)
ภาคีเครือข่าย: บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 *สำหรับ แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม ในฐานะ Catalyst ด้านธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบโครงการต่าง ๆ ผ่านช่องทางที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย เพื่อนำไปสู่การขยายผลของโครงการข้อตกลงคุณธรรม (IP) และโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)
ผลลัพธ์
- มีความร่วมมือจัดทำแผนการสื่อสารเพื่อสร้างความรับรู้และขยายผลการดำเนินงานโครงการข้อตกลงคุณธรรม (IP) และโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)
การขยายผล
- บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ในการจัดทำแผนการสื่อสารเพื่อสร้างความรับรู้และขยายผลการดำเนินงานโครงการข้อตกลงคุณธรรม (IP) และโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)
การสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมบริษัทในการยึดหลักธรรมาภิบาล และการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงินและการลงทุน
ภาคีเครือข่าย: บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 *สำหรับ แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม ในฐานะ Catalyst ด้านธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อส่งเสริมให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์มีการดำเนินงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
- เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้พื้นฐานทางการเงินและการลงทุน
การขยายผล
บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการส่งเสริมให้บริษัทดำเนินงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล และส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้พื้นฐานทางการเงินและการลงทุน โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
- จัดทำการประเมินผลการเปิดเผยข้อมูลรายงาน One report
- จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรในด้านการส่งเสริมคุณธรรม ความโปร่งใส และการต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติในการส่งเสริมธรรมาภิบาลแก่บุคลากร ก.ล.ต.
- พัฒนาแพลตฟอร์ม Crypto Academy เพื่อให้ความรู้ด้านสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับประชาชนทั่วไป และสร้างความร่วมมือกับ Influencer ในการประชาสัมพันธ์แพลตฟอร์ม
- จัดทำคลิปวิดีโอ “เก่งออม เก่งลงทุน กับ กัปตัน ก.ล.ต.” ให้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน เพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ”
- จัดทำคลิปวิดีโอ 3 ตอน เพื่อให้ความรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ประชาชนทั่วไป
- สร้างความร่วมมือกับแพลตฟอร์มการศึกษา insKru เพื่อช่วยเผยแพร่คลิปวิดีโอองค์ความรู้ทางการเงินแก่กลุ่มครูให้นำไปสอนนักเรียน
การสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความรู้พื้นฐานด้านการเงินในสถานศึกษาและกลุ่มคนเปราะบาง
ภาคีเครือข่าย: บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), ธนาคารแห่งประเทศไทย, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันอุดมศึกษา, Grab
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 *สำหรับ แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม ในฐานะ Catalyst ด้านธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อส่งเสริมนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มคนเปราะบางให้มีความรู้พื้นฐานด้านการเงิน โดยเฉพาะเรื่องการออม
การขยายผล
บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยและภาคีเครือข่าย ในการให้ความรู้พื้นฐานด้านการเงินโดยเฉพาะเรื่องการออม กับสถานศึกษาและกลุ่มคนเปราะบาง โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้
- ร่วมกับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการพัฒนาหลักสูตรและแบบเรียนนำร่องให้ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน
- ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในการบรรจุวิชาความรู้พื้นฐานทางการเงินด้านการออมให้เป็นวิชาเลือก
- ร่วมกับ Grab ในการจัดทำคู่มืออบรมเรื่องการออมและการบริหารเงินให้กับกลุ่มไรเดอร์
การส่งเสริมธรรมาภิบาลในระบบรัฐสภา
ภาคีเครือข่าย: บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), สถาบันพระปกเกล้า, กลุ่ม WeVis, ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 *สำหรับ แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม ในฐานะ Catalyst ด้านธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อร่วมออกแบบการทำงานให้ระบบรัฐสภามีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลลัพธ์
- มีการเก็บข้อมูลและร่วมออกแบบเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการสภา
การขยายผล
บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า ส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการทำงานของระบบรัฐสภา โดยจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้
- การศึกษาการดำเนินงานแบบ Open Parliament ในรัฐสภาต่างประเทศ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อร่วมกันออกแบบแนวทางการทำงานให้เกิด Open Parliament ของรัฐสภาไทย โดยร่วมกับกลุ่ม WeVis และศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- การจัดการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของรัฐสภา โดยใช้ตัวชี้วัดจาก International Parliament Union (IPU) ในรูปแบบของแบบสอบถาม เพื่อสะท้อนการทำงานของรัฐสภา และเก็บข้อมูลจากการประเมินต่าง ๆ เพื่อเสนอต่อรัฐสภาพิจารณาร่วมกันออกแบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- การสร้างความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการรัฐสภาในการเปิดเผยข้อมูลการทำงาน และการสื่อสารข้อมูลถึงประชาชนอย่างโปร่งใส
รายละเอียดเพิ่มเติม collaborationforgoodsociety.org