อีกหนึ่ง “พลังความร่วมมือ”ของทุกภาคส่วน ที่มีเจตนารมณ์เดียวกันคือ ร่วมกันสร้างสังคมที่ดี นั่นก็คือ “การลงทุนทางสังคม”หรือ“Social Investment” ที่วันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของ“เม็ดเงิน”เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่อง “ผลกระทบทางสังคม” (Social Impact) ซึ่งถือเป็น  เทรนด์ระดับโลกที่มีผลตอบแทนและวัดผลได้จริง

“กองทุนรวมคนไทยใจดี”หรือ BKIND  น่าจะเป็นชื่อแรกๆเสมอ เมื่อเรานึกถึงกองทุน ESGC กองแรกของประเทศไทยที่แสดงจุดยืนว่า “เป็นการลงทุน…ที่ให้ทำดีตั้งแต่บาทแรกของเงินลงทุน”

เพราะเป้าหมายคือระดมเงินจาก “นักลงทุน”ไปลงทุนในกิจการที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม 4 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social)บรรษัทภิบาล (Good Governance) และต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption) เมื่อทั้ง 4 องค์ประกอบเข้ากันแล้วเชื่อว่าจะนำมาซึ่งการลงทุนที่มีความยั่งยืนในระยะยาว (Sustainable Investing)

หนุน 16 โครงการเพื่อสังคม

“กองทุนรวมคนไทยใจดี”หรือ BKIND  เป็นกองทุนแรกที่มอบรายได้จากค่าบริหารจัดการกองทุนร้อยละ40  สนับสนุนโครงการสาธารณประโยชน์ต่างๆ ที่มุ่งสร้างอนาคตใหม่ให้สังคมไทยในประเด็นสำคัญ เช่น การศึกษา ความเหลื่อมล้ำ การทุจริตคอร์รัปชันและสิ่งแวดล้อม

แต่วันนี้เราไม่ได้ชวน“คุณ”มาดูผลตอบแทนทางการเงิน แต่เราจะพูดถึง “ผลกระทบต่อสังคม”ที่เกิดขึ้นหลังจากกองทุนนำเงินของนักลงทุนผ่านค่าบริหารจัดการไปมีส่วนร่วมสร้างสังคมไทยให้ดีขึ้น

นักลงทุนที่มีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคม ตลอดปี 2559-2560 บอกเลยว่าน่าจะเป็นช่วงเวลาที่น่าดีใจไม่น้อย เพราะกองทุนรวมคนไทยใจดีได้สนับสนุนเงินกว่า 15.38 ล้านบาท ให้ 16 โครงการที่แก้ปัญหาสังคม ทำให้เกิดความอยู่ดีมีสุขระดับบุคคลคิดเป็นจำนวน 8.5 ล้านคน ประกอบด้วย เยาวชนและนักเรียน 2,730 คน ครู 244 คน ผู้ปกครองเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ 244 คน ผู้สูงอายุรายได้น้อย 44 คน ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 416 คน ผู้พิการทางการมองเห็น 240 คน เกษตรกร 158 คน อาสาสมัครเพื่อสังคมจากภาคธุรกิจ 418 คน ผู้นำการเปลี่ยนแปลงชายแดนใต้ 70 คน

สำหรับระดับองค์กรประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรขับเคลื่อนเกษตรยั่งยืน 4 กลุ่ม องค์กรสาธารณประโยชน์และกิจการเพื่อสังคม 10 องค์กร โรงเรียน 139 โรงเรียน ฐานข้อมูลอาชีพ 118 หัวข้อ สื่อการเรียนเพื่อนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็น 250 ชิ้น ข่าวประเด็นทุจริตคอร์รัปชัน 1,254 ข่าวสันติภาพชายแดนใต้ 487 ชิ้น คืนพื้นที่ป่า 130 ไร่ พื้นที่ส่งเสริมการอ่านเพื่อเด็ก 3 พื้นที่ พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเยาวชนชายแดนใต้ 8 พื้นที่

มาดูกันว่ามีประเด็นสังคมใดบ้างที่กองทุนรวมคนไทยใจดีให้การสนับสนุนและเกิดผลลัพธ์อย่างไร

ประเด็นการทุจริตคอร์รัปชัน

การหยุดยั้ง“คอร์รัปชัน”จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ แรงขับนี้ทำให้เราได้เห็นการสนับสนุน โครงการผลิตข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ดำเนินการโดย สถาบันอิศรา ทำให้ประชาชนกว่า 8.2 ล้านคน เข้าถึงข้อมูล และตระหนักถึงปัญหา นำไปสู่การมีส่วนร่วม

%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad

โครงการผลิตข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน

ประเด็นเด็กและเยาวชน

เพราะเด็กคืออนาคตของชาติและการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิต จึงเกิดกลไกสนับสนุนเด็กปฐมวัยในพื้นที่ห่างไกล 231 คน ได้ฟังการอ่านหนังสือจากเด็กที่โตกว่าเฉลี่ย 500 เล่ม จาก โครงการนำหนังสือสู่มือน้องดำเนินการโดยสมาคมไทสร้างสรรค์  รวมทั้งกลไกการถ่ายทอดความรู้และปลูกฝังเรื่องการรังแกกันของเด็ก ในจังหวัดเชียงใหม่และกระบี่ จำนวน 713 คน จาก โครงการกล้าทำดี ดำเนินการโดยมูลนิธิรักษ์ไทย พร้อมทั้งเกิดฐานข้อมูลอาชีพ 118 อาชีพ ที่เยาวชนสามารถนำช่วยตัดสินใจเลือกสายการเรียนและอาชีพ จาก โครงการฐานข้อมูลอาชีพออนไลน์ ดำเนินการโดยกิจการเพื่อสังคม a-chieve

%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%94%e0%b8%b5

โครงการนำหนังสือสู่มือน้อง

 

%e0%b8%90%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b9%8c-%e0%b9%80

โครงการฐานข้อมูลอาชีพออนไลน์

ประเด็นการศึกษา

ไม่เพียงเท่านั้น 7 โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ยังพัฒนาแนวคิดและวิธีการจัดการเรียนการสอนเป็นโรงเรียนจิตศึกษาให้ความรู้และพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับวิชาการ จาก โครงการขยายผลโรงเรียนจิตศึกษาปีที่ 2” ดำเนินการโดย มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา นอกจากนี้ยังมี โครงการพัฒนาหลักสูตร สุจริตไทยดำเนินการโดย บริษัทสุจริตไทย จำกัด และ โครงการเลิร์น เอ็ดดูเคชั่นดำเนินการโดย บริษัทเลิร์นเอ็ดดูเคชั่น  สื่อวิทย์คณิตรูปแบบใหม่เพื่อโรงเรียนบ้านเกาะรัง จังหวัดลพบุรี ปีการศึกษา 2559 ที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

โครงการขยายผลโรงเรียนจิตศึกษาปีที่ 2

โครงการขยายผลโรงเรียนจิตศึกษาปีที่ 2

ประเด็นผู้สูงอายุ

ภายในปี 2568 คาดกันว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ประเด็นที่น่าห่วงคือ ผู้สูงอายุที่สุขภาพไม่ดีมีจำนวนมากขึ้น หากไม่มีจัดระบบดูแลภาระค่าใช้จ่ายจะเพิ่มสูงขึ้น

โครงการคนลำสนธิไม่ทอดทิ้ง ระยะที่ 2” จังหวัดลพบุรี ดำเนินงานโดย น.พ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ  คือหนึ่งในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนกลไกการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในพื้นที่ห่างไกลระดับอำเภอ 416 คน ทำให้เกิด “อาสาสมัครนักบริบาล”

โครงการคนลำสนธิไม่ทอดทิ้ง ระยะที่ 2

โครงการคนลำสนธิไม่ทอดทิ้ง ระยะที่ 2

นอกจากนั้นยังมีกลไกการให้บริการเครื่องใช้ราคาถูกสำหรับผู้สูงอายุรายได้น้อยจำนวน 44 คน เพื่อผู้สูงวัยได้มี “คุณภาพชีวิต” ที่ดี จาก โครงการ ForOldy” ดำเนินการโดย โครงการเพื่อผู้สูงอายุ มูลนิธิช่วยคนไร้พรมแดนประเทศไทย

 

โครงการ ForOldy

โครงการ ForOldy

ประเด็นเด็กพิเศษ

เพราะเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสจึงเกิดพื้นที่การเรียนร่วมของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(Learning Disabilities) ให้เรียนในระบบโรงเรียนได้ จาก โครงการสร้างเครือข่ายสนับสนุนโรงเรียนจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) จังหวัดลพบุรีดำเนินการ โดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี  ซึ่งใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อำนวยการ  122 คน ครู 244 คน ผู้ปกครองเด็กพิเศษ 244 คน  ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

โครงการสร้างเครือข่ายสนับสนุนโรงเรียนจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) จังหวัดลพบุรี

โครงการสร้างเครือข่ายสนับสนุนโรงเรียนจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) จังหวัดลพบุรี

ประเด็นผู้พิการ

ความมืดมิดแห่งสายตาไม่ได้เป็นอุปสรรคแห่งการศึกษาอีกต่อไป

“The Guidelight” ดำเนินงาน โดยมูลนิธิการศึกษาเพื่อโลกสีเขียว เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดระบบในการผลิตเครื่องมือสื่อการเรียนเพื่อสนับสนุนนักศึกษาที่บกพร่องทางการมองเห็นจำนวน 240 คน สื่อการเรียนการสอน 250 ชิ้น และมีนักศึกษาอาสาช่วยติว 800 คน เพื่อขยายทางเลือกให้พวกเขามีโอกาสเรียนหนังสือด้วยสื่อการเรียนที่เหมาะสมและเข้าถึงง่าย

The Guidelight

The Guidelight

ประเด็นสิ่งแวดล้อม

ปัญหาการปลูกไร่ข้าวโพด ส่งผลให้พื้นที่ป่าลดลงครอบคลุมพื้นที่จังหวัดน่าน ข้อมูลปี 2556 พบว่าพื้นที่ป่าสงวนถูกนำไปปลูกพืชไร่สูงถึง 1.5 ล้านไร่ หลายฝ่ายพยายามหาสาเหตุและทางออก และแนวทางที่ดำเนินการอยู่ซึ่งได้ผลจริงขณะนี้ คือ โครงการนาแลกป่า ปีที่สองดำเนินงานโดยเครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน สามารถคืนพื้นที่แล้ว 130 ไร่ในจังหวัดน่าน

โครงการนาแลกป่า ปีที่สอง

โครงการนาแลกป่า ปีที่สอง

ประเด็นการเกษตร

คนชนบทต้องเผชิญปัญหารุมเร้า ทั้งความยากจน การใช้สารเคมีในการเกษตรและสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยในชนบทมีความมั่นใจและสามารถทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร จึงเกิดกลไกสนับสนุนการผลิตธัญพืชและไข่อินทรีย์จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมประกันราคาและรับซื้อ ทำให้เกษตรกร 25 ครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้น จาก โครงการกองทุนนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์แก้จน ดำเนินการโดย บริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด

โครงการกองทุนนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์แก้จน

โครงการกองทุนนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์แก้จน

ประเด็นสามจังหวัดชายแดนใต้

ถ้าพูดถึงสันติภาพชายแดนใต้ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายพยายามเคลื่อนไหวมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา และเพื่อร่วมสร้าง “พื้นที่กลาง การสื่อสารสันติภาพชายแดนใต้”  จึงเกิดกลไกพัฒนาสื่อพลเมืองสร้างสันติภาพชายแดนใต้ ดำเนินการโดยโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ภายใต้ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อบรมเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นนักข่าวพลเมืองและสร้างกิจกรรมสื่อสารและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสันติภาพให้คนในและนอกพื้นที่ สามารถสร้างนักข่าวพลเมืองและผลิตข่าวสาร 487 ชิ้นที่มีผู้เข้าชม 164,627 คนต่อปี โดยร้อยละ 50 เป็นผู้ติดตามในกรุงเทพมหานคร

กลไกพัฒนาสื่อพลเมืองสร้างสันติภาพชายแดนใต้

กลไกพัฒนาสื่อพลเมืองสร้างสันติภาพชายแดนใต้

ไม่เพียงเท่านั้นยังเกิดกระบวนการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเยาวชน 8 พื้นที่ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เป็นกลไกกติกาชุมชนที่ผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดและปฏิบัติด้วยกัน จาก โครงการ Peace Please ปีสอง ดำเนินงานโดยสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง)

โครงการ Peace Please ปีสอง

โครงการ Peace Please ปีสอง

ประเด็นกลไกสนับสนุนโครงการเพื่อสังคม

เพราะเชื่อว่าเพียงแค่หนึ่งมือของอาสาสมัครก็เท่ากับการให้ การแบ่งเวลาและทักษะทางอาชีพจากการทำงานประจำมาให้สังคมดีขึ้น นี่คือความเชื่อของ โครงการ Hand Up” โดย Hand Up Volunteer Network องค์กรที่พัฒนาอาสาสมัคร ได้รับการสนับสนุนทำให้เกิดการเชื่อมโยงอาสาสมัครจากภาคธุรกิจมาสนับสนุนองค์กรภาคสังคมและกิจการเพื่อสังคม มีองค์กรได้รับประโยชน์แล้ว 10 องค์กร ผ่าน 3 โครงการ มีอาสาสมัครรวม 418 คนใน 1 ปี

โครงการ Hand Up

โครงการ Hand Up

ผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้นเหล่านี้เกิดจากพลังของนักลงทุนที่เห็นความสำคัญของการสร้างสังคมให้ดีขึ้น ดังนั้นจึงต้องการส่งต่อไปยังผู้ถือหน่วยให้ได้ภูมิใจกับการมีส่วนร่วม มากไปกว่านั้นเพื่อให้นักลงทุนรายอื่นมองเห็นโอกาสของกลไกการลงทุนที่เป็นสะพานเชื่อมให้ได้ทำความดี ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่กองทุนรวมคนไทยใจดีhttp://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/PersonalBanking/BuildYourWealth/MutualFunds/BBLAM/EquityFund/Pages/BKIND.aspx

ถ้าคุณต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมในบทบาท “ผู้สนับสนุน” ไม่ว่าจะต้องการสนับสนุนเงินทุนให้กลุ่มคนที่ทำเรื่องดีๆเพื่อสังคม สามารถทำได้ผ่าน “เทใจดอทคอม” www.taejai.com

ถ้าคุณต้องการช่วยเป็นอาสาสมัคร  ติดตามกิจกรรมดีๆและร่วมเป็นอาสาสมัครกับ “เครือข่ายจิตอาสาที่เว็บไซต์ www.volunteerspirit.org

และถ้าคุณสนใจข่าวสารเกี่ยวกับพลเมืองที่มีส่วนร่วมกับพละกำลังที่คนเหล่านี้ช่วยเหลือสังคมและมองหาโอกาสที่จะทำงานร่วมกับพวกเขาเหล่านี้ ติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.khonthaifoundation.org/th/landing หรือเฟซบุ๊ค www.facebook.com/KhonThaiFoundation