วิกฤติโควิด-19 ทั่วโลกต่างยกย่องความร่วมไม้ร่วมมือของ “คนไทย” อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดดัชนีโควิด-19 ระดับโลก (Global COVID-19 Index)* ซึ่งจัดทำโดยองค์กรระดับต้น ๆ ของมาเลเซียและองค์การอนามัยโลก ณ กรกฏาคม 2563 ระบุว่า ไทยขึ้นอันดับ 1 จาก 184 ประเทศที่ดีที่สุดในการฟื้นตัวจากโควิด-19
การจะชวนคนจำนวนมากมาช่วยกันทำเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆ ได้อย่างพร้อมเพรียง เกิดพลังการเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องอาศัย “การสื่อสาร” เป็นเครื่องมือ
“โควิด-19” ทำให้เห็น “พลัง” ของคนไทยที่ช่วยกันส่งเสียง ส่งสาร บอกต่อเรื่องราว ข่าวคราวสำคัญๆ เพื่อปกป้องตัวเองและคนรอบข้างไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและที่เหนือไปกว่านั้น เพื่อระดมความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแก่คนกลุ่มที่มีความต้องการ ผ่านโครงการต่างๆ ดังกรณีตัวอย่างบางส่วนของความร่วมไม้ร่วมมือระดับประเทศที่ได้เกิดขึ้นจาก 3 โครงการ/กิจกรรมรณรงค์สื่อสารที่มีองค์กรภาคีภาคส่วนต่างๆ กว่า100 องค์กร และประชาชนคนไทยทุกกลุ่มวัยช่วยกันขับเคลื่อน ได้แก่
- #ไม่ติดไม่แพร่ไม่แชร์มั่ว ระดมการมีส่วนร่วมคนไทยทุกคนที่จะ (1) ไม่ติด(2)ไม่แพร่ (3) ไม่แชร์ข่าวลวง
- แคมเปญเทใจสู้โควิด ระดมเงินบริจาคเป็นทุนช่วยหมอ -ทุนวิจัย-ช่วยกลุ่มเปราะบาง
- InfoAid.org ระดมเวชภัณฑ์ทางการแพทย์-ช่วยหมอ-กลุ่มเปราะบาง
ขอขอบคุณ “กระบอกเสียง” อันทรงพลังของ “ทุกคน”
หมายเหตุ* https://youtu.be/hlDcw4Y0Th8
ในช่วงแรกของสถานการณ์การแพร่ระบาด เกิดกระแสการเผยแพร่ #ไม่ติดไม่แพร่ไม่แชร์มั่ว อย่างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยประชาชน ผู้นำทางความคิด บุคคลผู้มีชื่อเสียง ร่วมเปลี่ยน facebook profile และ Cover page
หันไปทาง “สื่อมวลชน” พบว่ามีบางสำนักข่าว นำภาพลายเส้น“Flattern the Curve” ที่มีคนหลากหลายอาชีพช่วยกันดึงกราฟที่บอกจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยให้ลดลง ไปขยายผลเผยแพร่ บ้างก็เพื่อใช้ระดมทุน บ้างก็ใช้เป็นภาพหลักสื่อสารแนะนำเวบไซต์ในช่วงแรกๆ อย่าง InfoAid
บ้างก็นำ#ไม่ติดไม่แพร่ไม่แชร์มั่ว ไปสื่อสารในกิจกรรมอาสาสมัครสู้ภัยโควิด รวมถึงสื่อพลเมืองอาสาสมัครกลุ่มต่างๆ ก็นำไปสื่อสาร บอกต่อ
ทั้งหมดนี้ เสมือนเป็นสัญญาณที่บอกเป็นนัยว่า นี่คือ “เป้าหมายร่วม” ที่พวกเราคนไทยทุกคนจะต้อง
(1)ไม่เป็นผู้ติดเชื้อ
(2)ไม่เป็นผู้แพร่เชื้อ
(3)ไม่เป็นผู้แชร์ข่าวลวง
ในวิกฤติโควิด-19 ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จในการระดมและส่งมอบความช่วยเหลือ ภายใต้เวลาอันจำกัดที่มีผลต่อชีวิตของ “คนกลุ่มเสี่ยง” ทุกๆ เสี้ยววินาที ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ บุคคลากรทางการแพทย์ที่เปรียบเสมือน “ปราการด่านหน้า” รักษาผู้ติดเชื้อ / ผู้ป่วย รวมทั้งกลุ่มคนเปราะบาง คนยากไร้ คนด้อยโอกาส ฯลฯ ที่มีข้อจำกัดในด้านคุณภาพชีวิต
นี่คือที่มาของเวบไซต์ “InfoAid” หรือ https://infoaid.org ซึ่งเป็นพื้นที่กลางของ “ข้อมูล” ที่บอกความต้องการจาก “โรงพยาบาล” และเครือข่ายที่ทำงานช่วยเหลือ “กลุ่มเปราะบาง” เพื่อให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจช่วยจัดหา “เวชภัณฑ์ที่จำเป็น” และส่งมอบได้อย่างมั่นใจ แม่นยำ และตรงจุด เพราะข้อมูลที่แสดงผลผ่านเวบไซต์นี้มาจากโรงพยาบาล และภาคีที่ทำงานภาคสนามโดยตรง
ในสถานการณ์วิกฤติ InfoAid เน้นให้ประชาชนให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายหรือช่วยโรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อสะดวกในการจัดส่งของด้วยตัวเอง โดยที่ทีมงานและอาสาสมัครอินโฟเอดจะคอยประสานงานให้ผู้ให้และผู้รับได้ปฏิบัติภารกิจนี้เสร็จสมบูรณ์ ในสถานการณ์ปัจจุบัน InfoAid มุ่งเน้นการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางด้วยการสานพลังภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆเข้ามาพัฒนาโอกาสให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
InfoAid เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของ 11 องค์กรต่างๆ ดังนี้
ภาคีริเริ่มและจัดทำ (1) Design for Disasters มูลนิธิความคิดสร้างสรรค์เพื่อรับมือภัยพิบัติ (2) เทใจ (3) Change Fusion (4)Open Dream (5)FabCafe
ภาคีเครือข่าย (1)THAI SAFE NETWORK (2)สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (3)Centre of Excellence in Mathematics (4)คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (5)ไทยพร้อม
ภาคีสนับสนุน สสส. และทีมอาสาสมัครจากหลากหลายมหาวิทยาลัยที่หลากหลาย
“เทใจ.คอม” ได้ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มกลางระดับประเทศในการช่วยเหลือโครงการเพื่อสังคมให้ได้รับเงินสนับสนุนจากประชาชน
เฉพาะ “แคมเปญเทใจสู้โควิด” มีโครงการระดมทุนผ่านเทใจทั้งสิ้น 33 โครงการ โดยการดำเนินงานของ 91 องค์กรภาคี เพื่อไปช่วยกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ 3 กลุ่ม ได้แก่
(1) กลุ่มเปราะบาง จำนวน 15 โครงการ ดำเนินงานโดยภาคี 39 องค์กร
(2) กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 15 โครงการ ดำเนินงานโดยภาคี 43 องค์กร
(3) กลุ่มงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จำนวน 3 โครงการ ดำเนินงานโดยภาคี 9 องค์กร
ทุนที่ระดมได้เทใจจะส่งมอบให้ “ภาคี” ที่ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ หรือทำงานภาคสนามเป็นผู้สานต่อการดำเนินงานและส่งต่อโอกาสจาก “ผู้บริจาค” จำนวน 18,658 คน ให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือต่อไป
“เทใจ” นับเป็นแพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์ที่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมมานานกว่า 6 ปี เข้าถึงผู้รับประโยชน์ที่หลากหลาย ผลลัพธ์ในปี 2562 สามารถระดมทุนไปช่วยเหลือโครงการที่แก้ปัญหาสังคม 76 โครงการ คิดเป็นเงินกว่า 24 ล้านบาท จากผู้บริจาค 6,023 คน
สำหรับแคมเปญเทใจสู้โควิด ณ สิงหาคม 2563 ยังมีหลายโครงการอยู่ระหว่างระดมทุนต่อเนื่อง สามารถร่วมบริจาคได้ที่ www.taejai.com
หมายเหตุ : กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ คนยากไร้ทั่วประเทศ เด็กด้อยโอกาส เด็กชายขอบ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ รวมทั้งในสามจังหวัดชายแดนใต้ ฯลฯ
ในการสื่อสารเชิญชวนคนไทยมาช่วยกันสู้วิกฤติโควิด-19 เมื่อพูดถึง “สื่อ” พบว่าไม่ได้มีเพียง “สื่อสำนักข่าว” เท่านั้นแต่ยังมี “สื่อบุคคล” เข้ามามีส่วนร่วมด้วยอย่างเอาจริงเอาจัง นั่นคือ “บริษัท เทลสกอร์ จำกัด”
“Tellscore” มาพร้อมกับ “ไมโครอินฟลูเอนเซอร์” ที่มีจิตอาสาจำนวน 4,841 คน รวมผู้ติดตาม กว่า 16 ล้านคน ช่วยสื่อสารระดมทุน “แคมเปญเทใจสู้โควิด” อย่างต่อเนื่อง 10 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการหน้ากากผ้าสำหรับเด็กขาดโอกาสที่ชายขอบ (2)โครงการเทใจให้ผู้สูงวัย ผ่านโควิดไปด้วยกัน (3)โครงการ คลองเตยดีจัง ปันกันอิ่ม (4)โครงการ COVID THAILAND AID ช่วยเหลือคนกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบต่อโควิด19 (5)โครงการ Food for Heroes (6) โครงการกองทุนเทใจสู้โควิด19 (7) โครงการ Negative Pressure Chamber ตู้ความดันลบชนิดครอบเตียงผู้ป่วย (8) โครงการ กองทุนเพื่อวิจัยและสร้างชุดตรวจและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อสู้กับโควิด19 (9) โครงการเทใจให้เด็กชายแดนใต้ (10) โครงการ 50 บาท ช่วยการศึกษาสู้ภัย Covid
นอกจากนี้เทลสกอร์ยังได้ช่วยองค์กรต่างๆ สื่อสารและสร้างสรรค์เนื้อหาโควิด-19 รวมกว่า 5,500 ชิ้น โดยมีไมโครอินฟลูเอ็นเซอร์จิตอาสากว่า 2,200 คน รวมผู้ติดตามมากกว่า 30 ล้านคน
“Tellscore” และ “อินฟลูเอนเซอร์อาสา” แสดงให้เห็นแล้วว่า พวกเขาไม่ได้เป็นเพียงแค่แพลตฟอร์มสื่อสารเพื่อเชื่อมโยง “แบรนด์-ผู้บริโภค” เท่านั้น แต่ในยามที่สังคมต้องการตัวช่วย “ Tellscore” ได้ทำหน้าที่สื่อสารเชื่อมโยง “ผู้บริจาค-ผู้รับประโยชน์” นับเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญยิ่ง
ดังได้เกริ่นในตอนต้นว่า การจะชวนคนมาทำเรื่องใหญ่ๆ สำคัญๆ และได้พลังมากพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องอาศัย “การสื่อสาร”
จากกรณีตัวอย่างของ 3 โครงการ/กิจกรรมสื่อสารรณรงค์ที่ได้กล่าวมา ได้รับความร่วมไม้ร่วมมือเป็นอย่างดี จาก “สื่อ” หลากหลายกลุ่ม ประกอบด้วย
48 สื่อสำนักข่าว ซึ่งล้วนเเล้วเเต่เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือทางสังคมด้วยกันทั้งสิ้น
เช่นเดียวกับ 43 สื่อบุคคลที่มีชื่อเสียง-ผู้นำทางสังคม
พร้อมๆ กับ 4,841 สื่อบุคคลไมโครอินฟลูเอนเซอร์โดย tellscore
กับ 18 สื่อองค์กรภาคีภาคสังคม
และสื่อพลเมืองซึ่งหมายถึง “ประชาชน” จำนวนมาก
รวมทั้ง “คุณ” รวมถึง “พวกเรา”
โควิด-19 สะท้อนความจริงที่ว่า .. คนไทยเท่านั้น .. ที่ทำให้สังคมไทยยั่งยืน ด้วยน้ำใสใจจริงที่พร้อมจะแบ่งปันและเกื้อกูล
ในทุกๆ วิกฤติ..
อนาคตของประเทศไทย..ขึ้นอยู่กับคนไทยทุกคน ที่เป็นฟันเฟืองในการช่วยกันฝ่าฟันดังกรณีวิกฤติโควิด-19 และเหตุการณ์อื่นๆ ต่อเนื่องตลอดมา
ยังมีปัญหาสังคมอีกมากที่พวกเราสามารถช่วยกันแก้ไขผ่านกลไกความร่วมมือที่หลากหลาย อาทิ
www.taejai.com : กลไกระดมทุนออนไลน์ร่วมบริจาคเงินเพื่อแก้ปัญหาสังคม
www.infoaid.org :พื้นที่กลาง “ข้อมูล” ช่วยกลุ่มเปราะบางและความต้องการเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น
www.socialgiver.com : พื้นที่ออนไลน์ที่เชื่อว่าแค่ “ช็อป” ก็ได้ “ช่วย”สังคม
www.pankansociety.com :ร้านค้าหรือชุมชนแห่งการแบ่งปันที่ระดมเงินเพื่อช่วยนักเรียนทุนยุวพัฒน์และแก้ปัญหาสังคมด้านต่างๆ
Facebook/Food4Good Thailand : ร่วมสนับสนุนมื้ออาหารโภชนาการที่ดีให้กับนักเรียนในโรงเรียนห่างไกล
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพื่อร่วมมือแก้ปัญหาสังคมในประเด็นต่างๆ กับโครงการต่างๆ ได้ที่ เพจร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ www.facebook.com/
เวบไซต์มูลนิธิเพื่อคนไทย www.khonthaifoundation.org