นิยาม

กลไกร้อยพลังความร่วมมือที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมในประเด็นต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษาและเยาวชน การพัฒนาเด็กปฐมวัย 
การส่งเสริมธรรมาภิบาลและการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การจ้างงานผู้พิการ การดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมไปถึงการดูแลสุขภาวะของคนไทย ด้วยการทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อทรัพยากรหรือทุนประเภทต่าง ๆ ได้แก่ทุนมนุษย์ ภาคีเครือข่าย ทุนทรัพย์ และอื่น ๆ ไปสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวกให้เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบและเกิดผลลัพธ์ทางสังคมมากขึ้น

วิสัยทัศน์

"ร่วมสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข"

พันธกิจ

"เป็นกลไกสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมพลังภาคี องค์กรภาคส่วนต่าง ๆ และพลเมือง ให้เกิดการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบและเกิดการขยายผลลัพธ์ทางสังคม"

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • ภาคีเครือข่าย (องค์กรตัวกลาง องค์กรภาคสังคม)
  • องค์กรและบุคคลทั่วไปที่ให้การสนับสนุน
  • ผู้รับประโยชน์
  • อาสาสมัคร
  • พนักงานมูลนิธิฯ

ผลผลิต – ผลลัพธ์ ร้อยพลังสร้างสังคมดี ปี 2566

โครงการความร่วมมือ
33 โครงการ

ผู้บริจาค
2,569 คน
39 องค์กร

พลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม
3,768 คน
136 องค์กร

ยอดบริจาค
8,291,314 บาท

อาสาสมัคร
1,199 คน

ผู้รับประโยชน์
39,799 คน
115 องค์กร

รายละเอียดการดำเนินงาน

ประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมทั้งในด้านการศึกษาและเยาวชน การพัฒนาเด็กปฐมวัย การจ้างงานผู้พิการ คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ สุขภาวะของคนไทย รวมไปถึงการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ล้วนแต่เป็นปัญหาสังคมที่มีขนาดใหญ่และต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหา

เพื่อสนับสนุนการขยายผลการทำงานขององค์กรขับเคลื่อนพัฒนาสังคม โครงการร้อยพลังสร้างสังคมดี (ชื่อเดิม “ร้อยพลังเปลี่ยนประเทศ”) จึงทำหน้าที่เป็นกลไกในการเชื่อมต่อกับทรัพยากรที่จำเป็น และเพิ่มโอกาสในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรและพลเมืองมาสู่การลงมือช่วยเหลือสังคมในรูปแบบที่ตนเองถนัด โดยกิจกรรมที่ดำเนินการโดยโครงการร้อยพลังสร้างสังคมดีส่วนใหญ่ในปี 2566 เป็นการระดมทรัพยากรและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อมาสนับสนุนโครงการร้อยพลังการศึกษา ซึ่งเป็นโครงการที่มีผู้รับประโยชน์ ได้แก่ โรงเรียนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศรวม 112 แห่ง ใน 43 จังหวัด มีผู้อำนวยการ บุคลากรฝ่ายบริหาร คุณครู และนักเรียนในโครงการรวมมากกว่า 45,000 คน

ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำเหล่านี้อย่างเป็นระบบและทำให้เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน ในปี 2566 โครงการร้อยพลังสร้างสังคมดีได้สร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคีตัวกลาง “Catalyst” หรือ องค์กรตัวกลางผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาคีเชิงประเด็นและข้ามประเด็นเพื่อให้เกิดการขยายผลลัพธ์ทางสังคม 4 ด้าน ประกอบด้วย
1) Catalyst การศึกษา ได้แก่ บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด และโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์
2) Catalyst สาธารณสุข ได้แก่ สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม
3) Catalyst ธรรมาภิบาล ได้แก่ บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
4) Catalyst การลงทุนเพื่อสังคม ได้แก่ บริษัท เช้นจ์ เวนเจอร์ จำกัด

องค์กรภาคีตัวกลางเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างภาคีผู้ปฏิบัติงานเชิงประเด็น และภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งภาควิชาการ ภาคสื่อ ภาครัฐ และภาคประชาชน รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานระหว่างประเด็น เพื่อขับเคลื่อนการขยายผลลัพธ์ทางสังคม

ตลอดปี 2566 มีกิจกรรมที่ขับเคลื่อนงานโดยโครงการร้อยพลังสร้างสังคมดีและ Catalyst รายละเอียดดังนี้

กิจกรรมด้านการศึกษาและเยาวชน

การประชุมร่วมกับคณะนักบวชเยซูอิต เพื่อเรียนรู้กระบวนการระดมทรัพยากรผ่านการสร้างการมีส่วนร่วม
ภาคีเครือข่าย: โครงการร้อยพลังการศึกษา, โครงการร้านปันกัน โดย มูลนิธิยุวพัฒน์, คณะนักบวชเยซูอิต

30 มีนาคม 2566 เวลา 09.00-13.00 น.

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างกระบวนการระดมทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วมให้กับคณะนักบวชเยซูอิต
  • เพื่อตอกย้ำถึงพลังความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการระดมทรัพยากรที่มีคุณภาพและรูปแบบการสร้างความร่วมมืออย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์

  • คณะทำงานและคณะนักบวชเยซูอิต ได้รับความรู้ด้านการพัฒนากระบวนการระดมทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปใช้ได้จริง

การขยายผล

โครงการร้อยพลังการศึกษา จัดการประชุมร่วมกับคณะนักบวชเยซูอิต เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และกระบวนการสร้างการระดมทรัพยากรผ่านการสร้างการมีส่วนร่วม โดยมีภาคีที่มีประสบการณ์มาร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับแพลตฟอร์มที่สามารถระดมทรัพยากรได้จริง 

  • ปันกัน ผู้สร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน ที่ชวนทุกคนในสังคมมาร่วมแบ่งปันและเป็นผู้ให้ ผ่านสิ่งของเครื่องใช้มือสองสภาพดีเปลี่ยนเป็นทุนการศึกษาให้เด็กขาดโอกาส
  • เทใจ แพลตฟอร์มออนไลน์ที่สร้างระบบนิเวศให้บุคคลทั่วไปสามารถร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นไปด้วยกันได้ 
  • กองทุนรวมเพื่อสังคม มี 2 กองทุน คือ เน้นการลงทุนที่สร้างการมีส่วนร่วมอย่างโปร่งใส มี 2 กองทุน คือ กองทุนรวมคนไทยใจดี และ กองทุนธรรมาภิบาลไทย 
  • สถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม ร่วมพัฒนาและสร้างคนดีเพื่อสังคมในรูปแบบการสรรหาอาสาสมัครที่มีคุณภาพและพร้อมขับเคลื่อนงานการพัฒนาคนและคณะนักบวชเยซูอิตได้เข้าเยี่ยมชมร้านปันกัน สาขาพาราไดซ์ พาร์ค เพื่อศึกษากระบวนการและขั้นในการทำงาน

การสร้างความร่วมมือเพื่อโครงการร้อยพลังการศึกษา ร่วมมือกับ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย พัฒนาความรู้ด้านการเงิน พิธีมอบเกียรติบัตร “UOB Money 101 Teen Edition วัยรุ่นเก่งการเงิน” ปีการศึกษา 2565
ภาคีเครือข่าย: ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย, บริษัท เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น จำกัด, โครงการร้อยพลังการศึกษา

24 มีนาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อร่วมแสดงความยินดีกับคุณครูและนักเรียนที่ร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2566 เป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของห้องเรียนการเงิน
  • เปิดเวทีให้คุณครูและนักเรียนได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ตลอดระยะเวลาที่ร่วมโครงการ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานในรุ่นถัดไป
  • เพื่อตอกย้ำความร่วมมือในการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนในสังคมไทย ผ่านการให้ทักษะความรู้ทางการเงิน

ผลลัพธ์

  • มีโรงเรียนเครือข่ายร้อยพลังการศึกษาและโรงเรียนคุณธรรม เรียนจบหลักสูตร UOB Money 101 Teen Edition จำนวน 21 โรงเรียน และพร้อมดำเนินการต่อในรุ่นที่ 3
  • มีนักเรียนเรียนจบหลักสูตร จำนวน 1,223 คน โดยเรียนครบทั้ง 6 คาบ และผ่านการสอบ Pre-Test/Post-Test

การขยายผล

โครงการร้อยพลังการศึกษา ร่วมมือกับ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จัดพิธีมอบเกียรติบัตรให้คุณครูและนักเรียนในโครงการ “UOB Money 101 Teen Edition วัยรุ่นเก่งการเงิน ปีการศึกษา 2565 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 อาคารยูโอบี พลาซา กรุงเทพ โดยมีตัวแทนจากภาคีเครือข่ายเข้าร่วมงาน ได้แก่ ธนาคารยูโอบี Money Class และ Learn Education มีตัวแทนคุณครูเข้าร่วม 12 คน และนักเรียน 18 คน จาก 12 โรงเรียนที่ตอบรับและสะดวกเข้าร่วมงาน กิจกรรมภายในงานแบ่งเป็น 2 ช่วง ดังนี้

  • ช่วงมอบเกียรติบัตรให้ครูและนักเรียน พร้อมสรุปภาพรวมโครงการฯ รุ่น 2
  • ช่วงกระบวนการกลุ่มย่อย เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และถอดบทเรียนหลังจบโครงการ

โครงการความร่วมมือและระดมทรัพยากร บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด สนับสนุนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้โรงเรียนเครือข่ายร้อยพลังการศึกษา จำนวน 162 เครื่อง
ภาคีเครือข่าย: บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด, โครงการร้อยพลังการศึกษา

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม ผ่านการเรียนการสอนด้วยระบบเทคโนโลยี
  • เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้มีอุปกรณ์เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์

  • โรงเรียนขาดโอกาสในโครงการร้อยพลังการศึกษาได้มีคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ทดแทนเครื่องที่พังและใช้งานไม่ได้แล้ว จำนวน 5 โรงเรียน
  • นักเรียนได้เข้าถึงระบบการเรียนการสอนในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้

การขยายผล

บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้สนับสนุนคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้พร้อมชุดอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ให้โรงเรียนขาดโอกาสในเครือข่ายโครงการร้อยพลังการศึกษา จำนวน 162 เครื่อง ได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับการเรียนรู้รูปแบบดิจิทัล ทั้งรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 5 โรงเรียน ดังนี้

  • โรงเรียนพยุหะพิทยาคม จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 เครื่อง
  • โรงเรียนศรีโคตรบูรณ์ จังหวัดนครพนม จำนวน 32 เครื่อง
  • โรงเรียนบ้านปรือคัน จังหวัดศรีษะเกษ จำนวน 30 เครื่อง
  • โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา “กรป.กลางอุปถัมภ์” จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 30 เครื่อง
  • โรงเรียนรัษฎา จังหวัดตรัง จำนวน 40 เครื่อง

นับได้ว่าเป็นความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน

โครงการสร้างความร่วมมือและระดมทุน “BDF Project ห้องสมุดสู่ร้อยพลังการศึกษา “ห้องสมุดยุคใหม่ เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้” ปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566
ภาคีเครือข่าย: บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด, มูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม (ประเทศไทย), โครงการร้อยพลังการศึกษา

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กขาดโอกาสได้เข้าถึงระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ
  • เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดยุคใหม่ที่ทันสมัยสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตัวเองผ่านระบบดิจิทัล

ผลลัพธ์

  • มีโรงเรียน มูลนิธิและสถานสงเคราะห์ ได้รับการพัฒนาห้องสมุดให้ทันสมัยมีระบบการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล จำนวน 14 แห่ง
  • ช่วยให้เด็กขาดโอกาสได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ทั้ง ทุนการศึกษา ห้องเรียนดิจิทัล และทักษะชีวิต

การขยายผล

ร้อยพลังการศึกษาร่วมกับ บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) และ มูลนิธิอโชก้า ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม (ประเทศไทย) ดำเนินโครงการ “ห้องสมุดยุคใหม่ เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ด้วยเงินสนับสนุนการพัฒนาประมาณ 5 ล้านบาท/ปี ในการปรับปรุง ซ่อมแซมห้องสมุดเดิมให้มีความทันสมัยมากขึ้น รวมถึงมีสื่อการเรียนรู้แบบอินเตอร์แอคทีฟ นอกจากนี้ยังได้จัดซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พร้อมติดตั้งโปรแกรมดิจิทัลวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ที่มีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน โดยปี 2566 มีเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียนและมูลนิธิ จำนวน 14 แห่ง ดังนี้

1. โรงเรียนสมานคุณวิทยาทาน
2. โรงเรียนวัดมงคลโคธาวาส
3. โรงเรียนจันจว้าวิทยาคม
4. โรงเรียนภัทรญาณวิทยา
5. โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 7
6. โรงเรียนวัดไผ่ล้อม
7. โรงเรียนวัดสบกเขียว
8. โรงเรียนวัดคอลาด
9. โรงเรียนวัดสีล้ง
10. โรงเรียนบ้านคลองโต๊ะนุ้ย
11. มูลนิธิอนุเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
12. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด
13. สถานแรกรับเด็กชายปากเกร็ด(บ้านภูมิเวท)
14. สถานสงเคราะห์บ้านเด็กชายมหาเมฆ

งาน Hack Thailand 2575 : พลิกโฉมประเทศไทยสู่ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง
ภาคีเครือข่าย: สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย

18-20 เมษายน 2566 ณ คอนเวนชั่นฮอลล์ ไทยพีบีเอส

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อระดมความคิดเห็นและสร้างนโยบายจากประชาชนส่งต่อรัฐบาลใหม่ในการขับเคลื่อนประเทศ
  • เพื่อเป็นเปิดพื้นที่กลางในการรับฟังปัญหาสังคมจากประชาชนและภาคส่วนต่างๆ

ผลลัพธ์

  • ได้นโยบายที่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงจากประชาชนและทุกภาคส่วน
  • ได้นโยบายด้านการศึกษา : ติดปีกครูไทย ตั้งสภาติดปีกครูไทย ปรับระบบ เปลี่ยนโรงเรียน

การขยายผล

สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup) ร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 10 องค์กร เปิดเวที “Hack Thailand 2575 : 48 ชั่วโมง พลิกโฉมประเทศไทย สู่ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง” ระหว่างวันที่ 18-20 เมษายน 2566 ณ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เปิดพื้นที่ระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างพรรคการเมืองและตัวแทนประชาชนจากหลากหลายกลุ่ม จนได้ 12 นโยบายแก้ปัญหาใน 6 ประเด็นสำคัญ คือ การศึกษา, สาธารณสุข, สิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจและสังคม, รัฐและความมั่นคง โดยงานครั้งนี้ โครงการร้อยพลังการศึกษาได้มีโอกาสเข้าร่วมในฐานะตัวแทนภาคีภาคสังคมผู้ดำเนินงานด้านการศึกษา เพื่อร่วมให้ความคิดเห็นในหัวข้อ “การศึกษา : ติดปีกครูไทย” สร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีอื่นๆ รวม 10 ท่าน ในการออกแบบนโยบายภาคประชาชน ก่อนนำเสนอต่อพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรับฟัง 8 พรรค 

กิจกรรมร่วมออกบูธงานครบ 6 รอบ อลิอันซ์ อยุธยา 72 ปี มีแต่ให้ Give for Good
ภาคีเครือข่าย: บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

19 เมษายน 2566 ณ ลานกิจกรรม อาคารเพลินจิตทาวเวอร์

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างการรับรู้ปัญหาการศึกษาและมีส่วนร่วมลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
  • เพื่อสร้างความร่วมมือระดมเงินบริจาคให้โครงการร้อยพลังการศึกษา โครงการร้านปันกัน และมูลนิธิยุวพัฒน์

ผลลัพธ์

  • สามารถระดมเงินบริจาคจากการจำหน่ายของที่ระลึกจากร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ และร้านปันกัน รวม 30,300 บาท
  • สามารถสร้างการรับรู้และสื่อสารปัญหาการศึกษาให้คนทั่วไปได้รับรู้มากขึ้น

การขยายผล

บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จัดงานครบรอบ 72 ปี เพื่อแสดงถึงความมั่นคงของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ธีม “อลิอันซ์ อยุธยา 72 ปี มีแต่ให้ Give for Good” ชวนผู้บริหาร พนักงาน ตัวแทน และลูกค้าร่วมทำความดีเพื่อสังคม กับ 6 กิจกรรมการให้ (ให้ใจ ให้เลือด ให้การสนับสนุน ให้ของ ให้อิ่ม และให้โอกาส) เพื่อ 7 หน่วยงาน ส่งต่อน้ำใจเพื่อสังคม จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 ณ ลานกิจกรรม อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ โดยงานครั้งนี้โครงการร้อยพลังการศึกษาได้ร่วมเป็นหนึ่งในองค์กรร่วมกิจกรรมแห่งการให้ เชิญชวนทุกคนร่วมเป็นผู้ให้ในแบบของคุณพร้อมรับของที่ระลึกจากโครงการ นอกจากนี้ยังมีร้านปันกันและมูลนิธิยุวพัฒน์ร่วมออกบูธด้วย เพื่อเชิญชวนร่วมบริจาคเงินผ่านการสนับสนุนสินค้าจากร้านปันกัน และนำรายได้มอบเป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในมูลนิธิยุวพัฒน์ นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความร่วมมือกับบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ในการลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

การสัมภาษณ์รายการ “วันใหม่วาไรตี้ ช่วง คุยกันวันใหม่” โครงการทุนการศึกษา ส่งน้องเรียน สร้างเด็กดี มอบโอกาสทางการศึกษาให้สังคม
ภาคีเครือข่าย: สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

24 เมษายน 2566 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์โครงการทุนการศึกษา ส่งน้องเรียน สร้างเด็กดี มอบโอกาสทางการศึกษาให้สังคม และโครงการร้อยพลังการศึกษา
  • เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในสังคม ในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ผลลัพธ์

บุคคลทั่วไปเกิดการรับรู้ถึงแนวทางความร่วมมือเพื่อช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ทุกคนในสังคมสามารถมีส่วนร่วมได้

การขยายผล

ร้อยพลังการศึกษาได้รับเชิญเข้าร่วมให้สัมภาษณ์รายการ “วันใหม่วาไรตี้” ช่วง “คุยกันวันใหม่” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยมีคุณกนกวรรณ โชว์ศรี ผู้อำนวยการโครงการร้อยพลังสร้างสังคมดี เป็นตัวแทนให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโครงการทุนการศึกษา ส่งน้องเรียน สร้างเด็กดี มอบโอกาสทางการศึกษาให้สังคม และโครงการร้อยพลังการศึกษา ภายใต้มูลนิธิยุวพัฒน์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 เพื่อสื่อสารปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเชิญชวนทุกคนในสังคมเข้ามาร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการทำงานร่วมกับมูลนิธิยุวพัฒน์ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงินหรือทรัพยากรต่างๆ หรือมีส่วนร่วมในงานพัฒนาเยาวชนให้เติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ซึ่งทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมได้

โดยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส คือหนึ่งในภาคีสื่อสาธารณะที่เข้ามามีบทบาทในการร่วมสื่อสารปัญหาสังคมและแนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ มีเป้าหมายเพื่อเชิญชวนภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคสังคม เข้ามามีส่วนร่วมกับมูลนิธิยุวพัฒน์

งานโครงการ Digital Transformation Exponential รุ่นที่ 4 นำเสนอธุรกิจภายใต้ธีม “Digital Transformation and Sustainability for a Better Society”

28 เมษายน 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อเป็นพื้นที่ในการสร้างความร่วมมือระดมสมองแก้ปัญหาและพัฒนาระบบดิจิทัลช่วยดูแลนักเรียนทุน มูลนิธิยุวพัฒน์
  • เพื่อสร้างการรับรู้ปัญหาการศึกษาและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ผลลัพธ์

  • สามารถสร้างความร่วมมือจากผู้บริหารกว่า 40 คน จาก 2 ทีม ร่วมพัฒนาแนวคิดระบบดิจิทัลช่วยดูแลนักเรียนทุน
  • สามารถสร้างการรับรู้ปัญหาการศึกษาให้กับกลุ่ม DTX ได้เข้าใจมากขึ้น และมาร่วมมือแก้ไขไปกับโครงการในโอกาสต่อไป

การขยายผล

โครงการ Digital Transformation Exponential รุ่นที่ 4 หรือ DTX4 จัดงาน Pitching Day ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ชาว DTX ทุกคน ได้นำเสนอธุรกิจภายใต้ธีม “Digital Transformation and Sustainability for a Better Society” โดยโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ ได้รับเชิญให้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้แจกโจทย์กิจกรรม Pitching เพื่อให้ผู้บริหารในหลักสูตรเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมสมองแก้ไขปัญหาจากโจทย์ในการพัฒนาระบบดูแลประคับประคองนักเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดอัตราการออกจากระบบกลางคัน โดยมีผู้บริหารกว่า 40 คน จาก 2 ทีม เข้าร่วมการระดมสมองและพัฒนาแนวคิดระบบดิจิทัลช่วยดูแลนักเรียนทุน และนำเสนอต่อโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2566 นอกจากนี้ภายในงาน ยังมีองค์กรภาคสังคมร่วมเป็นกรรมการผู้ตัดสิน ไม่ว่าจะเป็น มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ มูลนิธิปิดทองหลังพระ มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ สำนักงานพัทยา เป็นต้น

การประชุม “สานพลังเครือข่ายโครงการส่องทางทุน กสศ. X แหล่งทุนการศึกษา” โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
ภาคีเครือข่าย: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

2 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมแลงคาสเตอร์ กรุงเทพฯ

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนการทำงาน แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ด้านการสนับสนุนทุนการศึกษา
  • เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ผลลัพธ์

  • สามารถสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและภาคสังคมได้อย่างยั่งยืน
  • สามารถสร้างเครือข่ายแหล่งทุนการศึกษาที่มีทุนสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาของเด็กนักเรียนได้มากขึ้น

การขยายผล

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดการประชุม “สานพลังเครือข่ายโครงการส่องทางทุน กสศ. X แหล่งทุนการศึกษา” เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนการทำงาน แบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชนและเครือข่ายภาคสังคมที่มีทุนในการสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาในประเทศไทย โดยโครงการร้อยพลังการศึกษาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมครั้งนี้ด้วย โดยคุณกนกวรรณ โชว์ศรี ผู้อำนวยการโครงการร้อยพลังสร้างสังคมดี เป็นตัวแทนโครงการในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และประสบการณ์ร่วมกับทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด All for Education

การสร้างความร่วมมือระหว่างธนาคารยูโอบี ประเทศไทย โครงการ UOB My Digital Space
สร้างโอกาสทางการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนดิจิทัล ให้โรงเรียนเครือข่ายร้อยพลังการศึกษา
ภาคีเครือข่าย: ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

มิถุนายน 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาในพื้นที่ห่างไกลให้เข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  • เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัลรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

ผลลัพธ์

  • โรงเรียนได้รับคอมพิวเตอร์ 3 โรงเรียน จำนวน 35 เครื่อง รวมทั้งหมด 105 เครื่อง
  • มีนักเรียนจำนวนกว่า 2,000 คน เข้าถึงห้องเรียนดิจิทัลและมีนักเรียน 400 คน ได้เรียนผ่านสื่อดิจิทัลวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ

การขยายผล

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับร้อยพลังการศึกษา จัดกิจกรรมส่งมอบห้องเรียนดิจิทัล UOB My Digital Space ในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 เพื่อสนับสนุนนักเรียนที่ขาดโอกาสให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ดิจิทัล โดยเงินบริจาคจากกิจกรรมระดมทุน UOB Global Heartbeat Run/Walk 2022 มีโรงเรียนได้รับมอบคอมพิวเตอร์ พร้อมหลักสูตรดิจิทัลรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โปรแกรม Learn Education และภาษาอังกฤษ โปรแกรม Winner English ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ 

  • โรงเรียนอนุบาลเกาะจันทร์ จ.ชลบุรี เพิ่มวิชาคณิตศาสตร์
  • โรงเรียนถ้ำปินวิทยาคม จ.พะเยา เพิ่มวิชาคณิตศาสตร์
  • โรงเรียนเสด็จวนชยางกูลค์วิทยา จ.ลำปาง เพิ่มวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ ธนาคารยูโอบี ยังได้สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริหารและพนักงานมาร่วมเป็นอาสาสมัครจัดกิจกรรมให้ความรู้ทางการเงิน กิจกรรมแนะแนวอาชีพ และกิจกรรมตกแต่งและปรับปรุงสถานที่ให้กับโรงเรียนทั้ง 3 แห่งอีกด้วย

การสร้างความร่วมมือและระดมทุน โครงการ UOB Global Heartbeat Run/Walk 2023 โดย ธนาคารยูโอบี เพื่อโครงการร้อยพลังการศึกษา
ภาคีเครือข่าย: ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

6 มิถุนายน – 12 สิงหาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างความร่วมมือและกระตุ้นให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการแก้ปัญหาการศึกษา ระหว่างพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าธนาคารยูโอบี
  • เพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ 

ผลลัพธ์

  • สามารถระดมทุนได้ 4 ล้านบาท จากความร่วมมือของพนักงาน พันธมิตรธุรกิจและลูกค้าธนาคารยูโอบี กว่า 2,500 คน
  • มีโรงเรียนได้รับการสนับสนุนห้องคอมพิวเตอร์และหลักสูตรดิจิทัล 3 โรงเรียน

การขยายผล

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมกับร้อยพลังการศึกษา จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความร่วมมือระดมทุนในแคมเปญ “2023 UOB Global Heartbeat Run/Walk” เชิญชวนพนักงาน ลูกค้า และพันธมิตรธุรกิจ ร่วมบริจาคให้โครงการร้อยพลังการศึกษา พร้อมรับของที่ระลึกเป็นเสื้อและหมวก โดยธนาคารยูโอบีได้ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนร่วมบริจาคผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและรู้จักโครงการมากขึ้น ได้แก่

  • งาน UOB Mini Event วันที่ 10 – 13 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารอินเตอร์เช้นจ์อโศก สำนักงานเพชรเกษม และ ยูโอบีพลาซ่า
  • งานเดินวิ่ง UOB Global Heartbeat Run/Walk วันที่ 6 สิงหาคม 2566

สามารถระดมทุนได้ทั้งหมด 4,000,000 บาท และนำเงินบริจาคที่ได้รับไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านเครื่องมือการเรียนรู้และสื่อดิจิทัล ภายใต้โครงการ UOB My Digital Space ให้กับโรงเรียนเครือข่ายร้อยพลังการศึกษา 3 โรงเรียน ด้วยการสนับสนุนคอมพิวเตอร์ หลักสูตรดิจิทัลวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และครู ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์

กิจกรรมร่วมออกบูธงาน “วิถีแห่ง VI” Thai VI 20 Years Anniversary
ภาคีเครือข่าย: สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) หรือ Thai VI

20 สิงหาคม 2566 ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างการรับรู้ปัญหาการศึกษาและเชิญชวนร่วมแก้ปัญหาการศึกษาผ่านโครงการร้อยพลังการศึกษา
  • เพื่อเชิญชวนร่วมบริจาคเงินพร้อมรับของที่ระลึกจากโครงการร้อยพลังการศึกษา

ผลลัพธ์

  • สามารถระดมทุนจากการออกบูธและเชิญชวนร่วมบริจาครับของที่ระลึกได้ 15,654 บาท (โครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ และร้านปันกัน)
  • สามารถระดมทุนจากกิจกรรมประมูลของที่ระลึก/ของสะสมของวิทยากรได้ 3,748,000 บาท จากผู้ร่วมประมูล 18 ท่าน

การขยายผล

สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) หรือ Thai VI จัดงาน “วิถีแห่ง VI” Thai VI 20 Years Anniversary งานสัมมนาพิเศษภายใต้ธีม “20 Years Journey การเดินทางของนักลงทุน ที่ไม่เคยโดดเดี่ยว” ที่ชวนนักลงทุน VI มาร่วมเฉลิมฉลองการเดินทางแห่งคุณค่าตลอด 20 ปี และการรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ของพี่น้อง VI ในรอบ 20 ปี ในบรรยากาศที่แสนอบอุ่น ร่วมสังสรรค์ พูดคุยสไตล์ VI โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566 ในงานนี้โครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ และร้านปันกัน ได้รับเชิญให้ร่วมออกบูธเพื่อสื่อสารปัญหาการศึกษา สร้างการรับรู้และสร้างความร่วมมือให้นักลงทุนรู้จักโครงการมากขึ้น นอกจากนี้ ทาง Thai VI ยังจัดกิจกรรมประมูลของที่ระลึก/ของสะสมจากวิทยากร และนำรายได้จากการประมูลมอบให้โครงการ ICAP เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย และเชิญชวนผู้เข้าร่วมงานนำของใช้มือสองสภาพดีมาบริจาคให้ปันกัน และเชิญชวนร่วมบริจาคเงินให้โครงการร้อยพลังการศึกษา เพื่อเป็นทุนในการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

กิจกรรมร่วมออกบูธงาน SUSTrends 2024 โดย The Cloud (50 Global and Local Sustainability Trends in The Year Ahead
ภาคีเครือข่าย: The Cloud

31 สิงหาคม 2566 ณ พิพิธภัณฑ์สวนเบญจกิติ

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืน
  • เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรหรือบุคคลทั่วไปมาร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์

  • สามารถสร้างการรับรู้และสร้างโอกาสความร่วมมือกับองค์กรที่ให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน
  • มีองค์กรและบุคคลทั่วไปร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานเพื่อพัฒนาความยั่งยืนในด้านต่างๆ เช่น บริษัท คูโบต้า

การขยายผล

The Cloud องค์กรสื่อที่ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติจัดงานสัมมนา SUSTrends 2024 : 50 Global and Local Sustainability in The Year Ahead งานสัมมนาว่าด้วยเรื่อง 50 เทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังจะเปลี่ยนโลก โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 20 ท่าน ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วน มาร่วมส่งต่อองค์ความรู้และเทรนด์ต่างๆ ชวนทุกคนออกเดินทางหาสมดุลให้กับตัวเองและโลกใบนี้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ที่พิพิธภัณฑ์สวนเบญจกิติ โดยมีผู้ร่วมงานกว่า 800 คน และโครงการร้อยพลังการศึกษาได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและออกบูธเพื่อสร้างการรับรู้พร้อมนำเสนอรูปแบบความร่วมมือที่ทุกคนมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ ผ่านแคมเปญ Limited Education ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทำแคมเปญร่วมกัน การร่วมสนับสนุนสินค้าเพื่อการศึกษา หรือการร่วมบริจาคให้โครงการร้อยพลังการศึกษา 

งาน Thailand Influencer Award 2023 by Tellscore งานประกาศรางวัลอินฟลูเอนเซอร์แห่งปี
ภาคีเครือข่าย: บริษัท เทลสกอร์ จำกัด

6 กันยายน 2566 ณ True Icon Hall ชั้น 7 ศูนย์การค้า ICON SIAM

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสื่อสารถึงโครงการร้อยพลังการศึกษาให้เกิดการรับรู้ในกว้างมากขึ้น
  • เพื่อสร้างความร่วมมือกับ Influencer ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการ

ผลลัพธ์

  • สามารถสร้างความร่วมมือกับ Influencer ร่วมประชาสัมพันธ์กิจกรรมระดมทุนในโครงการร้อยพลังการศึกษา
  • สามารถแนะนำโครงการร้อยพลังการศึกษาให้คนทั่วไปรู้จักโครงการได้มากขึ้น

การขยายผล

บริษัท เทลสกอร์ จำกัด (Tellscore) ผู้นำด้าน Influencer Marketing และผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Tellscore ได้จัดงาน Thailand Influencer Award 2023 by Tellscore งานประกาศรางวัลสำหรับผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด หรือ Influencer และแบรนด์ชั้นนำทั่วประเทศที่สร้างสรรค์ผลงานยอดเยี่ยมและโดดเด่นในช่องทางดิจิทัล จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ภายใต้คอนเซปต์ “Glow & Grow” เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 นอกจากงานประกาศรางวัลภายในงานยังมีเวที Talk และบูธกิจกรรมแบรนด์ชั้นนำอีกมากมาย ในงานนี้โครงการร้อยพลังการศึกษาได้มีส่วนร่วมในการออกบูธแนะนำโครงการและสร้างความร่วมมือกับเหล่า Influencer ที่สนใจประเด็นการศึกษา ผ่านกิจกรรม Influencer Pitching เพื่อเพิ่มโอกาสในการร่วมงานประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการ และได้มีโอกาสแนะนำโครงการให้กับ พี่เหว่ง & พี่เติ๊ด พี่แจ็ค The Ghost Radio เขื่อนดนัย เป็นต้น

การสร้างความร่วมมือโครงการ Samsung Love & Care โดย บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด
เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและชุมชนที่ขาดโอกาส
ภาคีเครือข่าย: บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนในยุคดิจิทัลในโรงเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ได้มีอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน

ผลลัพธ์

มีโรงเรียนได้รับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และช่วยให้นักเรียนเข้าถึงระบบการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านนาคูพัฒนา กรป.กลางอุปถัมป์ โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมป์ โรงเรียนแกศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 

การขยายผล

บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ได้ดำเนินโครงการ Samsung Love & Care ในการมุ่งสร้างพลังคน ที่ไม่ใช่แค่โครงการบริจาคเงินหรือสินค้าเพียงครั้งเดียว แต่มุ่งใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและเทคโนโลยีของซัมซุงเพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาและพัฒนาชุมชนที่ด้อยโอกาส เพราะในปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว ซัมซุงจึงเล็งเห็นความสำคัญของคุณภาพชีวิตและการส่งเสริมการสร้างพลังเรียนรู้สู่อนาคตของเด็กไทย จึงได้มอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์ในเครือข่ายโครงการร้อยพลังการศึกษา จำนวน 120 เครื่อง ได้แก่

  • Galaxy S21 Ultra จำนวน 100 เครื่อง
  • Galaxy Tab Active Pro, Galaxy Tab A7 Lite LTE, Galaxy Tab S6 Lite LTE จำนวน 20 เครื่อง

พร้อมติดตั้งหลักสูตรภาษาอังกฤษออนไลน์ Winner English ที่ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนของคุณครู นับได้ว่าเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน

การสร้างความร่วมมือและระดมทุน โครงการ Designers’ Room & Talent Thai Promotion 2023 x Limited Education เพื่อโครงการร้อยพลังการศึกษา
ภาคีเครือข่าย: นักออกแบบไทย 60 แบรนด์, บริษัท ดิวีเอ็ม จำกัด

1 กันยายน – 15 ตุลาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • สร้างการรับรู้และสื่อสารปัญหาการศึกษาในรูปแบบใหม่ผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาการศึกษา
  • สร้างความร่วมมือระดมทุนร่วมกับนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญในโครงการผ่านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้คนทั่วไปมีส่วนร่วมบริจาคได้

ผลลัพธ์

  • สามารถระดมทุนได้ 333,740 บาท จากผู้ร่วมบริจาคจำนวน 197 คน 
  • มีผลิตภัณฑ์แบบใหม่ที่สื่อถึงปัญหาการศึกษา จำนวน 5 ชิ้นงาน  

การขยายผล

โครงการ Designers’ Room & Talen Thai Promotion 2023 โครงการสร้างความร่วมมือจากนักออกแบบไทยกว่า 60 แบรนด์ ในการระดมความคิดสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษากับโจทย์การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สื่อถึงปัญหา “เด็กที่หายไป” จากระบบการศึกษาในรายวิชาสามัญ ผ่านแคมเปญ Limited Education โดยแบ่งนักออกแบบเป็น 5 ทีม ในการเรียนรู้และออกแบบผลิตภัณฑ์รวมกัน ซึ่งมีผลงานดังนี้

  • ทีม 1 ลูกเก๋า “เก๋ทุกชิ้น เพิ่มยิ้มให้น้อง“ ชุดเครื่องประดับจากโจทย์วิชาคณิศาสตร์
  • ทีม 2 ผ้าห่ม ด.ดาว จากโจทย์วิชาวิทยาศาสตร์ บอกเล่าเรื่องราว ดวงดาวที่หายไป
  • ทีม 3 คอลเลคชั่นเสื้อผ้า ‘วัตถุฮาไว’ การออกแบบลายเสื้อผ้าจากโจทย์วิชาภาษาไทย
  • ทีม 4 GOOD for GOOD – กระเป๋า ฮาว อา ยู ทูเด๊? จากโจทย์วิชาภาษาอังกฤษ
  • ทีม 5 กระเป๋า-Tote Bag for Society จากโจทย์วิชาสังคม

โดยเปิดให้บริจาคพร้อมเลือกรับของที่ระลึกในรูปแบบ Pre-order ระหว่างวันที่ 1 ก.ย. – 31 ต.ค. 2567 และนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนในโครงการร้อยพลังการศึกษา

การสร้างความร่วมมือโครงการ UOB Money 101 Teen Edition : วัยรุ่นเก่งการเงิน รุ่น 3 ปีการศึกษา 2566 เสริมทักษะและความรู้เรื่องการเงิน โดยธนาคารยูโอบี ประเทศไทย
ภาคีเครือข่าย: ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังทัศนคติทางการเงินที่ดีแก่นักเรียน ให้สามารถวางแผนการเงินได้ด้วยตนเอง
  • เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้คุณค่าของเงินและสร้างวินัยในการบริหารเงินในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลต่อความมั่นคงของครอบครัวในระยะยาว

ผลลัพธ์

  • มีโรงเรียนเครือข่ายผ่านการคัดเลือกรุ่น 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 โรงเรียน และมีนักเรียนได้รับประโยชน์จำนวน 1,749 คน มีคุณครูที่ได้ใช้เครื่องมือ 27 ท่าน
  • คุณครูและนักเรียนสามารถนำความรู้ด้านการเงินไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

การขยายผล

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย สนับสนุนหลักสูตรการเงินออนไลน์ให้โรงเรียนเครือข่ายร้อยพลังการศึกษาต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 3 ปีการศึกษา 2566 ในโครงการ UOB Money 101 Teen Edition : วัยรุ่นเก่งการเงิน มีเป้าหมายในการเสริมสร้างทักษะทางการเงินที่ดีให้กับเด็กนักเรียนจำนวน 1,500 คน โดยมีโรงเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและเข้าร่วมโครงการ ดังนี้

  • ภาคเรียนที่ 1/2566 มีโรงเรียนจำนวน 9 โรงเรียน มีนักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรแล้ว 824 คน และมีคุณครูที่ใช้เครื่องมือ 12 ท่าน
  • ภาคเรียนที่ 2/2566 มีโรงเรียนจำนวน 15 โรงเรียน มีนักเรียนที่อยู่ระหว่างการจัดการเรียนการสอนจำนวน 925 คน และมีคุณครูใช้เครื่องมือ 15 ท่าน

ทั้งนี้ มีรูปแบบการเรียนการสอนเป็น One to Many และ One to One โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยที่ผ่านเกณฑ์และมีพัฒนาการการเรียนที่ดีขึ้นเมื่อเทียบคะแนนสอบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

การประชุมเพื่อหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ภาคีเครือข่าย: สพฐ.

วันที่ 12 ธันวาคม 2566 เวลา 13.30 – 18.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 อาคารพรีเมียร์ คอร์เปอเรท ปาร์ค

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน โครงการร้อยพลังการศึกษา
  • เพื่อเป็นพื้นที่หารือแนวทางความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 

ผลลัพธ์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน โครงการร้อยพลังการศึกษามากขึ้น และแสดงความสนใจร่วมมือกับโครงการร้อยพลังการศึกษาในโอกาสต่อไป

การขยายผล

โครงการร้อยพลังการศึกษา จัดการประชุมเพื่อหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน และเป็นพื้นที่หารือแนวทางความร่วมมือกับสพฐ. โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสพฐ. มูลนิธิยุวพัฒน์ และภาคีเครือข่ายร้อยพลังการศึกษาทั้งหมด 47 คน โดยมีคุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิยุวพัฒน์ ดร.พะโยม ชิณวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม และดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการสพฐ. กล่าวเปิดการประชุม จากนั้นตัวแทนแต่ละภาคีได้นำเสนอเป้าหมาย การดำเนินงาน และผลลัพธ์ของ 9 เครื่องมือร้อยพลังการศึกษา ได้แก่ ทุนการศึกษา โรงเรียนคุณธรรม Learn Education Winner English Teach For Thailand A-chieve ครูนางฟ้า Food For Good และ ICAP พร้อมทั้งเปิดโอกาสในการพูดคุยซักถาม และหารือแนวทางความร่วมมือกับสพฐ. ในอนาคต

การสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัท ออโรร่า ดีไซน์ จำกัด (มหาชน) โครงการ “Love & Share ปีที่ 3 | 1 คนให้ หลายคนรับ” โดย ออโรร่า ไดมอนด์ เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย (ICAP) และ โครงการทุนการศึกษา "ส่งน้องเรียนสร้างเด็กดี“

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย (ICAP) โดยมูลนิธิยุวพัฒน์
  • เพื่อสนับสนุนโครงการทุนการศึกษา สำหรับนักเรียนขาดโอกาสได้เรียนหนังสือต่อ

ผลลัพธ์

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลอุ้มผาง จ.ตาก ได้รับการสนับสนุน โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย (ICAP) ตามแนวทาง HighScope / RIECE Thailand บูรณาการการเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
  • นักเรียนขาดโอกาสในโครงการทุนการศึกษา ส่งน้องเรียนสร้างเด็กดี ได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อ

การขยายผล

บริษัท ออโรร่า ดีไซน์ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินโครงการ “Love & Share ปีที่ 3  | 1 คนให้ หลายคนรับ” ระหว่างวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน 2566 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าในการช่วยเหลือสังคมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น ด้วยการเชิญชวนสนับสนุนชุดเครื่องประดับเพชร โดยทุกๆ การสนับสนุน 1 ชิ้น จะได้รับ “สมุดโน้ต” เป็นของที่ระลึก 1 เล่ม ซึ่งเป็นผลงานศิลปกรรมเยาวชน มูลนิธิยุวพัฒน์

รายได้จากการจำหน่ายชุดเครื่องประดับเพชร ได้จัดสรรไปสนับสนุน 2 โครงการ ดังนี้

  • โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย (ICAP) จำนวนเงิน 200,000 บาท
  • โครงการทุนการศึกษา โดยสมทบทุนการศึกษาสำหรับเด็กขาดโอกาสให้ได้เรียนหนังสือต่อเนื่อง ในโครงการ “ส่งน้องเรียนสร้างเด็กดี” จำนวนเงิน 76,038 บาท

กิจกรรมด้านสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของคนพิการ ผู้สูงอายุ และเด็กปฐมวัย

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในชุมชนโดยอาศัยโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองเป็นฐานดำเนินการ
ภาคีเครือข่าย: สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข)ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข)ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง

เดือนมกราคม - ธันวาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อส่งเสริมให้โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองยกระดับเป็น “ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป” ที่สามารถจัดระบบบริการสุขภาพด้านการรักษา การฟื้นฟูร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพ และการจดทะเบียนผู้พิการเพื่อให้เกิดคุณภาพและง่ายต่อการเข้าถึงบริการ
  • เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยการสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำ 
  • เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยให้เกิดผู้ช่วยเหลือคนพิการในระดับชุมชน

ผลลัพธ์

  • คนพิการได้ทำงานในโรงพยาบาล 70 แห่ง จำนวน 300 คน จากการสนับสนุนของสถานประกอบการ 35 องค์กร
  • เกิดการจ้างงานผู้ช่วยเหลือคนพิการ จำนวน 250 คน ซึ่งทำให้มีคนพิการได้รับการช่วยเหลือ 1,250 คน
  • มีศูนย์บริการคนพิการในโรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองจำนวน 100 แห่ง

การขยายผล

  • สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข) ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมส่งเสริมให้โรงพยาบาลชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองยกระดับเป็น “ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป” และผลักดันให้เกิดการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการ โดยสนับสนุนให้มีการจ้างงานคนพิการที่มีศักยภาพตามมาตรา 33 และ 35 เพื่อทำงานในโรงพยาบาลตามหน้าที่ความรับผิดชอบและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานผู้ช่วยเหลือในระดับชุมชนสำหรับคนพิการที่มีภาวะพึ่งพิง

การสนับสนุนโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นและการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ภาคีเครือข่าย: สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข)ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โรงพยาบาลชุมชน, กระทรวงสาธารณสุข, สปสช., มูลนิธิรามาธิบดี

เดือนมกราคม - ธันวาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • เพื่อส่งเสริมให้ท้องถิ่นสามารถจ้างงานอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ครอบคลุมทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อให้อาสาสมัครบริบาลสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อชะลอการเกิดกลุ่มติดบ้านติดเตียง

ผลลัพธ์

  • เกิดการพัฒนารูปแบบและกลไกระบบสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการเพื่อการป้องกันภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้สูงอายุ 
  • ส่งเสริมความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ 200 คน 
  • มีผู้สูงอายุเข้าคัดกรอง 26,929 คน
  • มีผู้สูงอายุเข้าร่วมโปรแกรมชะลอการเกิดกลุ่มติดบ้านติดเตียง 2,000 คน

การขยายผล

สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข) ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนในการสนับสนุนและผลักดันโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นและการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีการจ้างงานอาสาสมัครบริบาลอย่างต่อเนื่อง และร่วมพัฒนารูปแบบและกลไกระบบสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการเพื่อการป้องกันภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้สูงอายุ กับกระทรวงสาธารณสุข สปสช. และมูลนิธิรามาธบดี โดยจัดโปรแกรมชะลอการเกิดกลุ่มติดบ้านติดเตียง ผ่าน Web Application และจัดทำโครงการแพทย์ทางไกล

โครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านการพัฒนาคน โดยใช้การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กเป็นฐาน
ภาคีเครือข่าย: สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข)ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, ICAP มูลนิธิยุวพัฒน์, พอช., ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เดือนมกราคม - ธันวาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อช่วยสนับสนุนให้โครงการ ICAP มูลนิธิยุวพัฒน์ ขยายผลการดำเนินงานในศูนย์เด็กเล็ก เพื่อให้เด็กปฐมวัยในชุมชนได้รับการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (Executive Function: EF) และวินัยเชิงบวกจากการปรับรูปแบบการเรียนการสอน

ผลลัพธ์

  • เด็กปฐมวัยในชุมชน 1,526 คน จาก 40 ศูนย์เด็กเล็ก ได้รับการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าและวินัยเชิงบวกจากการปรับรูปแบบการเรียนการสอน
  • ครู 111 คน ได้รับการฝึกกระบวนการตามแนวทางเรียนรู้ของ ICAP

การขยายผล

สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข) ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมส่งเสริมให้โครงการ ICAP มูลนิธิยุวพัฒน์ ขยายผลการดำเนินงานในศูนย์เด็กเล็ก 40 ศูนย์ในปี 2566 โดยได้รับงบประมาณจาก พอช. 

โครงการดูแลนักเรียนผ่านการบูรณาการด้านจิตวิทยาสังคม
ภาคีเครือข่าย : สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข)ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, สถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวพัฒน์, โรงเรียนนราสิกขาลัย จ. นราธิวาส, โรงเรียนบ้านตะเหลี่ยง จ.นราธิวาส, โรงเรียนศรีวินิตวิทยาคม จ.สิงห์บุรี, วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม จ.นครปฐม

เดือนมกราคม - ธันวาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างต้นแบบและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และนักเรียน ในการดูแลนักเรียนกลุ่มเปราะบางผ่านการบูรณาการด้านจิตวิทยาสังคม

ผลลัพธ์

  • คุณครูและผู้บริหารสถานศึกษาผ่านการอบรม รวม 37 คน
  • มีเด็กนักเรียนที่ได้รับการดูแล 4,322 คน

การขยายผล

สถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (Catalyst ด้านสาธารณสุข) ภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวพัฒน์ ในการขยายโครงการดูแลนักเรียนผ่านการบูรณาการด้านจิตวิทยาสังคม ไปยังโรงเรียนในเครือข่ายฯ จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนนราสิกขาลัย จ. นราธิวาส,  โรงเรียนบ้านตะเหลี่ยง จ.นราธิวาส,

โรงเรียนศรีวินิตวิทยาคม จ.สิงห์บุรี, วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม จ.นครปฐม โดยได้มีการจัดฝึกอบรมให้กับคุณครูและผู้บริหารสถานศึกษา รวม 37 คน ซึ่งได้ทดลองใช้ชุดเครื่องมือและโปรแกรม CARE ในการดูแลเด็กนักเรียน

กิจกรรมด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน

การสร้างความร่วมมือกับสำนักข่าว ThaiPBS เพื่อร่วมจัดงาน " Hack Thailand 2575: 48 ชั่วโมง พลิกโฉมประเทศไทย สู่ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง” และร่วมเป็นวิทยากรในประเด็นรัฐทันสมัย โปร่งใส ไร้คอร์รัปชัน
ภาคีเครือข่าย : สำนักข่าว ThaiPBS, บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล)

18-20 เมษายน 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในประเด็นรัฐทันสมัย โปร่งใส ไร้คอร์รัปชัน

ผลลัพธ์

การร่วมระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน กว่า 100 คน และพรรคการเมือง เพื่อร่วมสร้างนโยบายในฝันของประชาชน และร่วมกันแก้ปัญหาโจทย์ใหญ่ของประเทศ

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมสนับสนุนสำนักข่าว ThaiPBS ในการจัดงาน ” Hack Thailand 2575: 48 ชั่วโมง พลิกโฉมประเทศไทย สู่ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง” และร่วมเป็นวิทยากรในประเด็นรัฐทันสมัย โปร่งใส ไร้คอร์รัปชัน

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและบรรยายในหัวข้อ "เทคนิคการสืบค้นข้อมูลและเครื่องมือการต่อต้านการทุจริตโดยภาคประชาชน"
ภาคีเครือข่าย : บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), เครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)

25 เมษายน 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือกับเครือข่านแกนนำชุมชนในการใช้เครื่องมือ ACT Ai เพื่อการสืบค้นข้อมูล ดดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการต่อต้านการทุจริตโดยภาคประชาชน 

ผลลัพธ์

มีผู้เข้าร่วม 30 คน ซึ่งเป็นแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนจาก 10 จังหวัด 

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมกับเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและบรรยายในหัวข้อ “เทคนิคการสืบค้นข้อมูลและเครื่องมือการต่อต้านการทุจริตโดยภาคประชาชน” ในรูปแบบออนไลน์ 

ร่วมบรรยายเชิงปฏิบัติการประชาสัมพันธ์เครื่องมือสู้โกง ACT Ai จับโกงงบ อบจ. และการเปิดเผยข้อมูลเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการและงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566
ภาคีเครือข่าย : บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), สถาบันส่งเสริมประชาธิปไตย, องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

26 มิถุนายน 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการบริหารจัดการและงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผ่านการใช้เครื่องมือ ACT Ai

ผลลัพธ์

ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้าร่วม 7 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมประชาธิปไตย จัดการบรรยายเชิงปฏิบัติการประชาสัมพันธ์เครื่องมือสู้โกง ACT Ai จับโกงงบ อบจ. และการเปิดเผยข้อมูลเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการและงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ร่วมบรรยายเชิงปฏิบัติการเพื่อประชาสัมพันธ์เครื่องมือสู้โกง ACT Ai จับโกงงบ อบจ. และการเปิดเผยข้อมูลเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการและงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566
ภาคีเครือข่าย : บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), สถาบันส่งเสริมประชาธิปไตย, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี 
พัทลุง กระบี่ ตรัง และสตูล

18 กรกฎาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการบริหารจัดการและงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผ่านการใช้เครื่องมือ ACT Ai

ผลลัพธ์

ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้าร่วม 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง กระบี่ ตรัง และสตูล

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมประชาธิปไตย จัดการบรรยายเชิงปฏิบัติการประชาสัมพันธ์เครื่องมือสู้โกง ACT Ai จับโกงงบ อบจ. และการเปิดเผยข้อมูลเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการและงบประมาณแบบมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ร่วมการบรรยายพิเศษหัวข้อ "การมีส่วนร่วมและขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันของภาคประชาชน"
ภาคีเครือข่าย : บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (แห่งประเทศไทย), มหาวิทยาลัยศิลปากร

10 สิงหาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

ผลลัพธ์

นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร รายวิชา SU301 พลเมืองตื่นรู้ (ACTIVE CITIZEN) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเพิ่มมากขึ้น

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมกับ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (แห่งประเทศไทย) และมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมการบรรยายพิเศษหัวข้อ “การมีส่วนร่วมและขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันของภาคประชาชน” ในรายวิชา SU301 พลเมืองตื่นรู้ (ACTIVE CITIZEN) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

เข้าร่วมประชุมหารือและเป็นวิทยากรในโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของไทย (Thai Anti-Corruption Coalition Roundtable Meeting)
ภาคีเครือข่าย : บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), มูลนิธิศักยภาพชุมชน (People's Empowerment Foundation)

21 สิงหาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อส่งเสริมบทบาทขององค์กรเพื่อสังคมในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) เข้าร่วมประชุมหารือโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของไทย (Thai Anti-Corruption Coalition Roundtable Meeting) จัดโดยมูลนิธิศักยภาพชุมชน (People’s Empowerment Foundation) โดยคุณณัฐภัทร เนียวกุล ได้เป็นวิทยากรเข้าร่วมบรรยายหัวข้อ “การใช้ AI และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และบทบาทขององค์กรเพื่อสังคมในการต่อต้านคอร์รัปชัน” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรม Jasmine 59 Hotel

ร่วมบรรยายในหัวข้อ “ข้อมูลเปิดเพื่อสร้างระบบนิเวศน์ธรรมาภิบาล” ในงาน Sustrends 2024: 50 เทรนด์ความยั่งยืนที่
ภาคีเครือข่าย : บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), The Cloud

31 สิงหาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใสของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรและสังคม

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) เข้าร่วมงาน Sustrends 2024: 50 เทรนด์ความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนโลก ซึ่งจัดโดย The Cloud เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ณ พิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ ภายในงานมีการเชิญผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ร่วมบรรยายในหัวข้อ “ข้อมูลเปิดเพื่อสร้างระบบนิเวศน์ธรรมาภิบาล”

ร่วมเป็นวิทยากรในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (ออนไลน์) เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสาร Youth Talk "เมล็ดพันธุ์ใหม่ หัวใจซื่อสัตย์"
ภาคีเครือข่าย : บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), สถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวพัฒน์

16 กันยายน 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจ ต่อเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมถึงบุคลากรด้านการศึกษา

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมกับสถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวพัฒน์ เป็นวิทยากรในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (ออนไลน์) เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสาร Youth Talk “เมล็ดพันธุ์ใหม่ หัวใจซื่อสัตย์” เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 โดยมีคุณสุภอรรถ โบสุวรรณ เข้าร่วมให้ความรู้เรื่องการต่อต้านการทุจริตอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงข้อมูลเรื่องคอร์รัปชันในประเทศไทยที่มีดัชนีชี้วัดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของประเทศไทยอย่างน่าสนใจ ทำให้เยาวชนมองภาพการคอร์รัปชันเป็นเรื่องใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น

แคมเปญสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนทุนในการดำเนินงานผ่านแฟลตฟอร์มเทใจ
ภาคีเครือข่าย : บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล), เทใจ

เดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการสนับสนุนทุนให้กับการดำเนินงานของเพจต้องแฉ ซึงเป็นพื้นที่สื่อกลางแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน

ผลลัพธ์

ได้รับยอดบริจาคทั้งหมด 129,647 บาท

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) ร่วมมือกับเทใจดอทคอม ทำแคมเปญสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขอรับสนับสนุนทุนในการดำเนินงานผ่านแฟลตฟอร์มเทใจ เพื่อนำไปสนับสนุนกสนดำเนินงานของ “ต้องแฉ-พื้นที่สื่อกลางแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน”

การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการใช้งานเครื่องมือฟ้องโกงด้วยแชตบอต (Corruption Watch)
ภาคีเครือข่าย : บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล)

เดือนมกราคม - ธันวาคม 2566

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมพลังของภาคประชาชนในการเฝ้าระวังเหตุต้องสงสัยทุจริตคอร์รัปชัน

ผลลัพธ์

  • จำนวนการเข้าถึงเครื่องมือผ่านการเพิ่มเพื่อนใน LINE Official Account รวมทั้งหมดจำนวน 799 Users
  • จำนวนการแจ้งเบาะแสรวมทั้งสิ้น 142 เรื่อง โดยแบ่งเป็นเบาะแสจากปี 2565 รวม 86 เรื่อง และเบาะแสจากปี 2566 รวม 56 เรื่อง
  • การเผยแพร่และรายงานสถานะบนเว็บไซต์ cs.actai.co รวมทั้งหมด 110 เรื่อง
  • จำนวนเบาะแสที่ได้รับการขับเคลื่อน/แก้ไขปัญหาหลังเผยแพร่ผ่านเพจต้องแฉ ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 14 เรื่อง

การขยายผล

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด (Catalyst ด้านธรรมาภิบาล) สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยการใช้งานเครื่องมือฟ้องโกงด้วยแชตบอต (Corruption Watch) 

รายละเอียดเพิ่มเติม collaborationforgoodsociety.org